ตื่นตา ตื่นใจ กับ KM ศูนย์ 6 (ตอนที่ 7) ... ข้อเสนอส่งท้าย 1


รูปธรรมหนึ่งที่ผมชอบยุอยู่เสมอว่า ทำเป็นคู่มือ

 

ยังมีข้อเสนอการต่อยอด KM ศูนย์ฯ อีกบางอย่าง ที่เป็นข้อเสนอจาก อ.หมอสมศักดิ์นะคะ

สำหรับ CoP ที่คลินิกส่งเสริมสุขภาพ 

ที่คลินิกส่งเสริมฯ เมื่อกี้มีการคุยกันต่อเนื่องอยู่ ว่า ที่พวกเราไป ลปรร. กันนี้ ผมก็ยุไปว่า เขาทำคู่มือได้เหมือนกัน ... ผมเข้าใจว่า การจัดคลินิกส่งเสริมสุขภาพที่พวกเราทำกันอยู่ ผมเข้าใจว่าเป็นงานปกติของกรมฯ แต่ว่าก็ไม่มีใครรู้ หรือเข้าใจว่า แปลว่าอะไร นี่ไม่นับข้อเท็จจริงว่า พวกเราว่ามีลูกเล่นเยอะมาก ลูกเล่นอะไรนั้น ... ไม่เปิดเผย ขอให้ไปหาฟังเองนะครับ

ที่จะพูดก็คือว่า ... พวกเราก็จะเห็นประโยชน์ว่า มันมีความรู้มากมาย ซึ่งถ้าพวกเราสามารถที่จะมารวบรวม และเรียบเรียงให้ดีนี่ จะเป็นความรู้ที่เอาไปใช้ต่อได้

พวกเราจัดการความรู้ โดยการคุยกัน มานั่ง Note taking จริงๆ นี่ พวกเราอาจจะเข้าใจว่า หวกเรา take note แล้ว และไปขี้นเวปไว้ เป็น note note นี้คือ ขุมความรู้ ซึ่งก็จริง

แต่มีความรู้อีกชั้นหนึ่ง ที่เรานำไปสังเคราะห์ได้ ... รูปธรรมหนึ่งที่ผมชอบยุอยู่เสมอว่า ทำเป็นคู่มือ จะเรียกว่า คู่มือฉบับคนทำจริง หรือยังไงก็ว่าไป และตั้งชื่อให้เหมาะๆ เราก็จะสามารถตั้งชื่อได้หลายเล่มเลย

อย่างเมื่อกี้ก็ไปตั้งชื่อได้เลยนะ ว่า "ลูกเล่นของคุณสำเริง" ความรู้ที่คุณสำเริงขโมยมาได้ มีประโยชน์ ซึ่งความจริงแล้ว ในด้านหนึ่ง ถ้าพวกเราเขียน และให้ background ว่า ... คุณสำเริงเป็นใคร ที่เขาขโมยมาได้ และใช้ประโยชน์ได้บ่อยๆ และเกิดผลยังไง

  • ยกตัวอย่างที่คุณสำเริงได้คุยกับผู้รับบริการท่านหนึ่งไปว่า ... "วันหนึ่งผมไปวัดส่วนสูง คุณครู หรือใครคนหนึ่ง ซึ่งเป็นคนที่ผมวัดมาแล้วประมาณที่ 300 ปรากฏว่า แกก็ถามผมว่า นี่ผมก็มาทุกอาทิตย์ ทุกเดือน ทุกปีนี่ ผมก็โตแล้ว ความสูงของผมไม่เปลี่ยนหรอก ผมก็เลยบอกว่า วันก่อนผมได้ยินคุณหมอคนนี้ คนนี้ ว่าอย่างนี้ อย่างนี้"
  • ... เรื่องนี้เล่าก็จะมีประโยชน์มากเลย
  • ในความคิดของคุณสำเริงก็คงคิดว่า ผมก็ไม่ได้เป็นนักวิชาการอะไรหรอก แต่ว่าผมก็มีโอกาสให้บริการ ปชช. โดยใช้ความรู้ ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะว่า ผมเป็นนักขโมยความรู้ไง ผมก็หูผึ่งตลอดเวลาที่ใครจะพูดอะไร จะได้ฟัง
  • มันก็จะได้ทุกอย่าง คนอ่านก็เกิดแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ เกิดความกล้าที่จะเอาสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปใช้ เพราะมันเป็นตัวอย่างชัดเจน ว่า ไปใช้แล้วได้ประโยชน์ เสร็จแล้วเขาก็ยกมือไว้ผม แล้วก็บอกว่า ขอบคุณมากครับอาจารย์

และสิ่งนี้ก็เป็นของจริงทั้งนั้นที่เราทำ เราก็ไม่ได้ไปมั่วที่ไหนมา นี่คือตัวอย่าง

หนังสือแบบนี้ก็จะมีประโยชน์มาก ถ้ามีสัก 10 เรื่อง มาอยู่ในเล่มเดียวกัน เราก็จะเห็นว่า มันมีความรู้มากมายที่เราจะทำกันได้ นี่ก็เป็นตัวอย่างเล็กๆ ที่ผมอยากจะยุพวกเราว่า จริงๆ แล้ว สิ่งที่พวกเราจะมาจัดการความรู้ ในที่สุดพวกเราก็เป็นนักแต่งตำราได้ทั้งนั้น ... แน่นอนว่า ถ้าเป็นคุณสำเริงก็คงไม่เขียน เพราะว่าแค่เล่าก็ยังไม่เล่าเลยนะ ที่เล่ามานี้เพราะว่าFa ของกลุ่มเล่า

อันนี้เป็นตัวอย่างของการจัดระบบ Fa / Notetaker เพราะว่า ... มันเป็นที่รู้กันมานานแล้ว ว่าคนที่มีความรู้ หรือมีความรู้แฝง จำนวนไม่น้อย เราจะมาจัดการความรู้ยังไง

  1. แคะความรู้ไม่ออก ที่จัดกลุ่มอย่างนี้เพราะว่าช่วยกันแคะ เหมือนอย่างที่พวกเราพูดออกมาว่า พอมีแล้ว ก็ทำให้พวกเราได้รู้ตั้งเยอะตั้งแยะ พวกเราก็คงจะเห็นว่า ในกระบวนการแคะเป็นกลุ่ม แคะไปแคะมาก็มีการสรุป ก็เป็นระบบมากขึ้น
  2. เมื่อกี้ก็บอกกันว่า ทำให้มีทิศทาง เดิมต่างคนต่างคิด ต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างคิด ต่างคนต่างทำเนี่ยะ นอกจากจะไม่รู้เทคนิคซึ่งกันและกันแล้ว ก็ไม่รู้จะเอามาใช้ต่อกันยังไง พอรู้แล้ว ก็นำมาใช้ประโยชน์กันมากขึ้น และ
  3. ที่พวกเราบอกว่า นอกจากคนแคะคนคุยได้ประโยชน์ ก็อาจมีประโยชน์กับคนอื่นได้อีก ด้วยการบันทึก และการบันทึกก็เป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้เกิดการเผยแพร่ต่อไป

ที่ผมพูดเมื่อเช้าว่า เรื่องการพิมพ์ดีด ถ้าพูดให้ลึกๆ หรือเว่อร์ๆ ก็บอกว่า เพราะมนุษย์มีตัวอักษร และบันทึกได้ ความรู้จึงมีความก้าวหน้า และกระจายไปได้ ... คำพูดนี้เหมือนเว่อร์ แต่ถ้าเราเรียนประวัติศาสตร์ก็จะรู้ว่า ความรู้ของมนุษยชาติ มันเกิดการเผยแพร่ และเรียนรู้อย่างรวดเร็ว เพราะว่ามนุษย์คิดค้นกระดาษได้ กระดาษถือเป็นเทคโนโลยีสำคัญของประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ พอๆ กับไฟ วันนี้เราเจอไฟกันจนเบื่อ เหมือนไฟฟ้าก็มาแทนไฟ คอมพิวเตอร์ก็มาแทนกระดาษ ก็ทำให้เราสื่อสารกันได้ ก็มีค่าทั้งนั้น แต่ก็อาศัย basic skill ซึ่งสำคัญมากก็คือการเขียน skill ในการบันทึกก็เป็น skill สำคัญ ทุกองค์กรที่จะมีความรู้เผยแพร่ได้ ก็ต้องบันทึก คนที่เป็น note taker ก็จะมีบทบาทสำคัญมาก ซึ่งก็มีทุกองค์กร ผมก็ดูที่นี่แล้วก็เห็นว่า ที่นี่มี Fa และ Note taker เยอะแยะไปหมด ...

ผมขอต่อเรื่องศูนย์เด็กปฐมวัยสักนิดหนึ่ง

จากการคุยกับเจ้าที่ที่รับผิดชอบ ก็มีความพยายาม และมีการทำเรื่อง ลปรร. เยอะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มพี่เลี้ยงด้วย ก็เห็นโอกาสตั้งหลายอย่าง ว่าจะต้องทำเรื่อง ลปรร. อีกเยอะมาก

อันหนึ่งที่ผมเห็น และก็ประทับใจมาก คือ คุณป้ามาเล่านิทาน ให้เด็กๆ ฟัง เห็น 2 คน คนหนึ่งจะเล่าเก่งมาก คนหนึ่งเล่าไม่เก่ง แต่ว่าแกก็คงมีใจอยากจะมาช่วย

ก็เลยเกิดคำถามว่า ? ทำไมเราไม่เอคุณป้า คุณยายทั้งหลายมา ลปรร. กันล่ะ ว่าด้วยเรื่องการเล่านิทาน เพราะว่าเป็นงานหนึ่งที่เขาอยากช่วยกันทำ เพราะว่าก็เป็นงานที่เขาสมัครกันเข้ามา บางคนก็อาจจะยังไม่รู้ว่า จะเริ่มต้นตรงไหน ก็ทราบว่า พวกเราก็เกรงใจคุณป้า คุณยาย

ผมก็จะพูดประเด็นนี้ว่า ... อันนี้ขอลอก อ.วิจารณ์มาก็แล้วกัน เพราะว่า อ.วิจารณ์ก็จะเล่าเสมอๆ ว่า "เวลาที่เราออกไปทำงานกับชาวบ้าน เราก็จะพบว่า ชาวบ้านเขา ลปรร. กันสนุกสนานมากเลย เช่น การที่ออกไปทำบ่อย คือ เรื่องชาวนา เกษตรกรมีวิธีการ ลปรร. เรื่อง การปลูกพืชปลูกผัก เขาจะสนุกสนานมาก แลกกันไม่จบ ที่สำคัญคือ เวลาที่เขา ลปรร. เขาจะมีความสุขมาก เพราะว่าได้เล่าให้คนอื่นฟัง" เพราะฉะนั้น ถ้าเราเอาคุณป้าคุณยายมาช่วยเรา เพื่อช่วยเด็กๆ เรา มา ลปรร. กัน เขาก็คงมีความสุขมาก เขาก็คงไม่รู้สึกเป็นภาระหรอก จะดีใจมากกว่า ... แหม คุณหมอมาให้ชั้นเล่านะ ว่าอย่างนั้น อย่างนี้ ... คนอื่นเขาก็จะซักไซ้ไล่เรียงกันใหญ่ ผมก็อาจจะผิดนะ แต่ผมคิดว่า บรรดาคุณป้า คุณยายที่เขาอาสาสมัครมา เขาก็คงอยากมาร่วมงานกับเราอยู่แล้ว แต่เขายังอาจไม่กล้า เรื่องนี้ก็น่าจะทำได้ดี อันนี้ก็เป็นอันหนึ่งที่เป็นผลพลอยได้แน่นอนว่า เราที่เป็นเจ้าหน้าที่ก็คงเข้าไปนั่งด้วย ก็ได้คุย ได้ฟังด้วย

อันที่สอง ที่ผมเข้าเองก็คือว่า งานการดูแลเด็กนั้นมีหลายเรื่อง ไม่ใช่เล่านิทานเรื่องเดียว การเล่านิทานกับเด็กเล็ก เด็กโตก็ไม่เหมือนกันอีก พูดง่ายๆ คือ จะมีหัวข้อที่จะมาทำเป็นหัวปลา สำหรับ การ ลปรร. อีกเยอะมาก เรื่องนี้อาจจะพูดกันจน อ้าว ไม่มีเทคนิคอะไรกันอีกแล้ว ก็ขยับไปเรื่องต่อไป ไม่จำเป็นจะต้องอยู่ที่เรื่องเก่า และก็เช่นเดียวกัน ทำอย่างนี้สักพัก มันก็จะมีคู่มือการดูแลเด็ก เคล็ดลับเล่านิทานอย่างไรให้เด็กอยากฟัง ดูแลเด็ก Hyper ทำยังไงให้เด็กหาย Hyper ก็อาจจะมีพี่เลี้ยงที่คิดอะไรออกใหม่ๆ

ประเด็นที่ผมอยากเล่าก็คือ ก็ขอเล่าตามทฤษฎีนะครับ ยังไม่ได้เจอของจริง แต่ผมเชื่อว่า เป็นไปได้ ถ้าลองกับที่ศูนย์เด็ก ก็คือว่า พี่เลี้ยงเด็กนี่ บางทีเขาก็เห็นแต่งานเดิมๆ ที่เขาทำ พอมา ลปรร. กัน สิ่งที่เขาเกิดความรู้สึกขึ้น จะเป็นคนช่างสังเกต เพราะเขาต้องเอาบทเรียนมาแลกกัน เช่น ทำยังไงแล้วได้ผลอะไรกับเด็ก สักพักเขาก็จะเห็นอะไรที่น่าทำกับเด็ก ก็อาจจะมีนวัตกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้น เพราะว่าเขาก็สนใจ

พวกเราคงสังเกตว่า เด็กมี 2 ประเภท คือ เด็กที่ฟังนิทานแล้วไม่อยู่สุขเท่าไร และประเภทชอบเล่น ผมว่า เขาไม่มีตำราที่ไหนที่จะบอกว่า ให้ศูนย์เด็กเล็กแยกเด็กที่ไม่ยอมฟังนิทานออกมาดูแลต่างหาก อันนี้ชัดเจนว่า เป็นนวัตกรรมของพวกเราโดยแท้ และมันทำให้เกิดการสังเกตของพวกเราโดยแท้ และถ้าเขียนให้คนอื่นรู้ เขาก็คงตื่นเต้น ว่า จริงด้วยนะ นิทานเล่าเราเวลาเล่ามันล่มทุกที ทำไมเราไม่แยกเด็ก Hyper ออกไปล่ะ สักพักก็อาจจะได้ “วิธีการแยกเด็ก Hyper” และที่เราแยกมาได้ เพราะว่าเราใช้วิธีการต่อไปนี้ มี criteria อยู่ 5 อย่าง บางคนก็ 3 อย่าง common มากเลย นี่ก็เป็นความรู้ทั้งสิ้น ... นี่ก็คือมีโอกาสที่ทำความู้ใหม่ๆ มากเลย และของจริงก็เป็นเช่นนั้นด้วย พวกหมอนี่ก็จะมี idea ใหม่ๆ เรื่อยๆ เวลที่รักษาคนไข้ไปแล้ว เพราะว่าของเก่าไม่ work หรือว่าทำบางอย่างแล้วก็มีการ work ดี ก็เลยไปลอง ก็เป็นการจัดการทั้งสิ้นละครับ

ผมไปดูมา 3 ที่ ก็ประทับใจทั้ง 3 ที่ และเห็นพ้องต้องกันว่า ที่นี่ทำเยอะมาก แต่ว่าโฆษณาน้อย เราจะไปช่วยโฆษณาให้ และก็ตั้งใจยุให้เขาทำความรู้ที่เขาแลกกันไว้ ให้เป็นรูปเล่ม และระบบให้มากขึ้น จะได้เพิ่มคุณค่า และมูลค่าให้มากขึ้นด้วย

ข้อคิดเห็นอีกเรื่องหนึ่ง เป็นเรื่องของการอบรม ที่กลุ่ม พสว.

ที่ผมไปฟังกลุ่ม พสว. คุยเรื่องอบรม และมีตัวอย่างของพี่เลี้ยงเด็ก ผมไม่ทันได้ฟังละเอียดนัก แต่ดูเหมือนมีบทเรียนอันหนึ่งที่เขาสรุปได้ คือ เขาได้เทคนิคการอบรมพี่เลี้ยงเด็ก ผมก็ไม่ได้ถามว่าอันนั้นคืออะไร ... แต่ผมเกิดความคิดขึ้นมาอันหนึ่งที่อยากแลกเปลี่ยนกับพวกเรานะครับ คือ อยากให้พวกเราถ้ามีโอกาส ก็ไปลองดูว่า work  ไหม

คือว่า หลังๆ นี่ผมจะบอก ผมจะขาย idea นี้บ่อยมาก คือ การจัดประชุม และอบรมเรื่องอะไรก็แล้วแต่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกเรากรมอนามัย ที่จะต้องไปอบรม เพื่อให้เขาทำงาน ให้ลองจัด session ลปรร. ดู คือ

เวลาพวกเราต้องไปอบรม หรือชี้แจงงานของเราให้ Partner เขารู้ ปกติก็เพราะว่าเราคิดว่าเขาไม่รู้ หรือว่าเราอยากให้เขาทำในแบบที่เราคิดว่า มันควรจะทำ แต่ความจริงงานหลายอย่างที่พวกเราทำนี้ เช่น ศูนย์ฯ 6 ไปอบรมเรื่องคลำเต้านม ปรากฎว่า คนที่มาอบรม เขาก็มีเทคนิคของเขาอยู่ เขาก็เล่าได้เป็นฉากๆ เขาก็ไม่ได้นั่งฟังเราพูดสักเท่าไร เราอาจจะหา session สัก 1-2 หัวข้อ ที่ใช้หลัก ลปรร. ด้วยการให้เขาเล่า Practice ของเขา และสักพักหนึ่งก็ เราก็ลองสรุปดู ว่าที่เล่ามา 4-5 เรื่องนี่ มีข้อสรุปความรู้ว่าอย่างไร เราอาจจะได้ความรู้เยอะมาก และก็เป็นความรู้ที่เราจำได้แม่น เพราะมันมีเรื่องเล่าเป็นตัว reference การจำจากเรื่องเล่าก็จะจำได้ง่ายกว่า จำจากตำราที่แห้งๆ สิ่งนี้ผมจะพูดเสมอๆ

ยกตัวอย่างหนึ่งที่ผมไปยุ แต่กองคลังยังไม่ได้ทำ ... เพราะว่าตอนนั้นกองคลังจะไปจัดอบรม เรื่อง GFMIS ผมก็บอกว่า ลองไปจัดอบรม และเลือกสักหัวข้อหนึ่งที่คิดว่าค่อนข้างจะไม่ยากสักเท่าไร และไป ลปรร. อาจจะพบเลยว่า คนมีประสบการณ์เยอะมาก และก็มาแลกกันเยอะมากด้วย แทนที่จะได้อบรมจากตำราของกระทรวงการคลัง ก็อาจจะได้ความรู้จากคนทำงานจริงมาเสริม พี่เลี้ยงเด็กก็อาจจะมีเรื่องของพี่เลี้ยงเด็กบางเรื่อง ที่นำมาเล่าสู่กันฟังได้ โดยที่เราไม่ต้องไปอบรมเขามาก

เหล่านี้ คงจะเป็น idea ที่จะฝากขาย และนำไปใช้ต่อยอดของการทำงาน KM ให้เนียนอยู่ในเนื้องานของ อ.หมอสมศักดิ์ละค่ะ

เยียมชม KM ศูนย์อนามัยที่ 6 โดย อ.หมอสมศักดิ์ และคณะ 

 

หมายเลขบันทึก: 35175เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2006 06:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น
  • เดิมทีพี่เม่ยมักใช้คำว่า "ขุด" ความรู้จากประสบการณ์ออกมาให้ได้ แต่หลังจากนี้ต่อไป จะขอใช้คำว่า "แคะ" ด้วยดีกว่าค่ะ รู้สึกว่าจะละเอียด นิ่มนวล และเบาแรงกว่าคำว่า "ขุด" เยอะเลย
  • เข้ามาชวนให้ไปช่วยขยายผล...คุณอำนวยมาช่วยกันสร้างแก่นความรู้กันบนบล็อกด้วยค่ะ!
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท