ทำอย่างไรให้หาย..เมื่อเป็นตะคริว


     ตะคริวเป็นอาการหดตัวของกล้ามเนื้ออย่างรวดเร็ว มักเกิดที่น่องและต้นขา เมื่อคลำที่กล้ามเนื้อบริเวณที่ปวดจะรู้สึกเป็นก้อนแข็งแต่จะบรรเทาปวดลงเมื่อเหยียดขาและนวดเบา ๆ เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัวหรือทำให้เลือดไปเลี้ยงบริเวณนั้นดีขึ้น
     ตะคริวเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น คุณอาจออกกำลังกายมากเกินไป โดยที่กล้ามเนื้อไม่เคยได้รับการฝึกฝนมาก่อนหรือเกิดจากการไหลเวียนของหลอดเลือดไม่สะดวก เนื่องจากท่านั่งหรือยืนที่ทำให้การไหลเวียนของเลือดไม่สะดวก หรือในผู้สูงอายุที่มีภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัว
     นอกจากนี้ยามอาการเย็นก็อาจทำให้เป็นตะคริวได้ และในรายที่ขาดแคลเซียมต่ำในเลือดหรือร่างกายที่มีการสูญเสียเกลือแร่ในร่างกายอย่างมากในขณะท้องเสีย อาเจียน หรือเหงื่อออกมาก ๆ
     เมื่อคุณเป็นตะคริว คุณจะรู้สึกเจ็บปวดบริเวณกล้ามเนื้ออย่างมาก การปฐมพยาบาลจะช่วยบรรเทาลงได้...
ถ้าเป็นตะคริวที่น่อง...ให้เหยียดขาข้างที่เป็นตะคริวให้ตรง ใช้มือข้าวหนึ่งยกประคองส้นเท้าและใช้มืออีกข้างค่อย ๆ ดันปลายเท้าขึ้นลงให้เต็มที่อย่างช้า ๆ ประมาณ 5 นาที แล้วนวดเบา ๆ ที่น่อง หรืออาจทาครีมหรือน้ำมันเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดในบริเวณนั้นไม่ควรนวดแรง ๆ เนื่องจากอาจทำให้กล้ามเนื้อเจ็บได้และอาจเป็นตะคริวซ้ำได้อีก
ถ้าเป็นตะคริวที่ต้นขา... ให้เหยียดขาข้างที่เป็นตะคริวให้ตรง ใช้มือข้างหนึ่งยกประคองส้นเท้า อีกข้างหนึ่งกดลงบนหัวเข่าจากนั้นค่อย ๆ นวดบริเวณที่เป็นตะคริวเบา ๆ
ถ้าเป็นตะคริวที่นิ้วเท้า... ให้เหยียดนิ้วเท้าให้ตรง และลุกขึ้นยืนเขย่งเท้า จากนั้นค่อย ๆ นวดบริเวณนิ้วเท้าเบา ๆ
ถ้าเป็นตะคริวที่นิ้วมือ... ให้เหยียดนิ้วมือออกและค่อย ๆ นวด บริเวณนิ้วมือเบา ๆ
     สำหรับคนที่เป็นตะคริวบ่อย ๆ ควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เวลานอนให้ยกขาสูง โดยใช้หมอนรองขา แต่ถ้าเป็น ๆ หาย ๆ บ่อยครั้งควรปรึกษาแพทย์   เพื่อตรวจหาสาเหตุแห่งการผิดปกติในระบบไหลเวียนของเลือด

ที่มา : http://www.siamswim.com/knowleage/sara.html

หมายเลขบันทึก: 35152เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2006 23:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มีนาคม 2012 22:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น
  • เป็นบ่อยมากสงสัยว่าออกกำลังกายมากเกินไปจริงๆ
ที่ออสเตรเลีย โคชว่ายน้ำแนะนำให้นักกีฬากินแมกนีเซียมก่อนจะซ้อมกีฬา จะช่วยปรับสมดุลย์เกลือแร่ในกล้ามเนื้อทำให้ไม่เป็นตะคริวได้ค่ะ (น้ำเกลือแร่ที่เอาไว้กินเวลาท้องเสียก็ใช้ได้ค่ะ)

ขอขอบคุณอาจารย์สมัทรชา...                                  

  • บันทึกนี้มีประโยชน์มากครับ
  • ขอเรียนเสนอเพิ่มเติม...

(1). การยืดเส้น (stretching) เช้า-เย็น +/- ก่อนและหลังออกกำลังกายมีส่วนช่วยป้องกันตะคริวได้
(2). วิธียืดเส้นง่ายๆ สำหรับกล้ามเนื้อน่องดูจะเป็นท่าดันกำแพงครับ... หันหน้าเข้าหากำแพง ยื่นขาข้างหนึ่งไปข้างหน้า ให้ส้นเท้าแตะพื้นทั้ง 2 ข้าง (ไม่เขย่งเท้า) ดันกำแพงเบาๆ ให้กล้ามเนื้อน่องยืดออก อยู่นิ่งๆ หายใจช้าๆ 40 วินาทีขึ้นไป/ครั้ง
(3). อีกท่าหนึ่งเป็นท่านั่งยองๆ... นี่ก็ช่วยยืดกล้ามเนื้อน่องได้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท