โครงการอบรมสาธารณสุขศาสตร์ศึกษา: ๒. “การศึกษาเพื่อพัฒนามนุษย์” โดย ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา


หลังจากที่ได้เล่าสู่กันฟังในเรื่อง “ครูกับการพัฒนามนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์” โดย พระไพศาล ภทฺทสาโล ไปแล้ว วันนี้เป็นครั้งที่ ๒ ของโครงการฯ ครับ ที่มี ดร.อาจอง  ชุมสาย ณ อยุธยา ได้มาบรรยายให้ความรู้ในเรื่อง “การศึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย์” ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วชื่นชมอาจารย์องอาจ เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว วันนี้จึงเป็นอีกโอกาสที่ได้รับประสบการณ์จากท่านโดยตรง ซึ่งเนื้อหาโดยสรุปมีดังนี้ครับ

 

อาจารย์อาจอง กล่าวว่า เดิมการการศึกษาแบบตะวันตกเน้นที่การใช้สมองเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ (Brain-based learning) ซึ่งอาจารย์มองว่าเป็น “ความผิดพลาด” ที่ทำให้สมองต้องได้รับการกระตุ้นอยู่เป็นเสมอ บางครั้งคนเราจึงกระตุ้นสมองด้วยสารที่ไม่ถูกต้อง เช่น ยาเสพติด ดังนั้นฐานรากของการเรียนรู้ที่อาจารย์ค้นพบ คือ การใช้ “จิต” เป็นตัวกำหนดการเรียนรู้ ซึ่งอาจารย์ได้ศึกษาจนสามารถรู้ถึงกระบวนการเรียนรู้ดังแล้ว เริ่มด้วยการเข้าไปในจิตใจของตัวเองให้ได้ ใช้สมาธิเป็นตัวเชื่อม ระหว่างจิตสำนึกและจิตใต้สำนึก ใช้สัมผัสที่เข้ามากระทบกับจิตใจเป็นตัวรับรู้และสมองบันทึกเป็นข้อมูลในความทรงจำที่ไม่มีวันลบออกไปได้ แต่ต้องอาศัยการดึงข้อมูลออกมาด้วยสมาธิ ฯลฯ ซึ่งถ้าจะเล่าให้ฟังโดยละเอียดคงอีกยาวครับ แต่โดยสรุปอาจารย์อาจอง ให้ยึดหลักสำคัญของการพัฒนาการศึกษาเพื่อพัฒนามนุษย์ ด้วยการ “พันฒนาคนดีแล้วเขาจะเก่งเอง” แต่ถ้าพัฒนาที่ความเก่งก่อนแล้วจะดียาก เพราะส่วนหนึ่งปัญหาเกิดจาก “คนเก่งที่ไม่ดี” นั่นเอง

 

ที่เล่ามาเป็นเพียงสรุปสั้นๆ ครับ ๓ ชั่วโมงเต็มกับ ดร.อาจอง ในวันนี้ ผู้ฟังรวมทั้งผมด้วย รู้สึกอิ่มไปตามๆ กัน เพราะนอกจากจะได้ฟังแนวคิดการพัฒนาการศึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย์ของอาจารย์แล้ว ยังได้รับแนวคิดในกระบวนการจัดการเรียนการสอน เพราะอาจารย์จะมีเทคนิคต่างๆ มาเป็นตัวอย่าง เช่น การใช้สมาธิ การเล่านิทาน การใช้หลักพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ และที่สำคัญ คือ การถ่ายทอดประสบการณ์ตรงในเรื่องต่างๆ ที่อาจารย์มีแบบไม่หวงวิชา นับว่าเป็นแบบอย่างของ “ครู” ที่น่าชื่มชมและนำมาเป็นแบบอย่างได้อย่างดียิ่งอีกท่านหนึ่งครับ

 

ด้วยความเคารพรัก

หมายเลขบันทึก: 351488เขียนเมื่อ 13 เมษายน 2010 22:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท