วิวัฒนาการของระบบราชการไทย ตอนที่ 4


วิวัฒนาการของระบบราชการไทย ตอนที่ 4

"วิวัฒนาการของระบบราชการไทย ตอนที่ 4"

ระบบราชการในระหว่าง ปี พ.ศ. 2500 - พ.ศ. 2539

- การปรับโครงสร้างส่วนราชการ

- การปรับปรุงระบบบริหารงานต่าง ๆ

การปรับโครงสร้างส่วนราชการ

1. ตั้งส่วนราชการระดับกระทรวง ทบวง กรม กองเพิ่มขึ้น

- ทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ (พ.ศ. 2515)

- กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน (พ.ศ. 2522)

- กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม (พ.ศ. 2536)

2. ระหว่างปี พ.ศ. 2512 ถึงปี พ.ศ. 2522

- ระดับกรมเพิ่มขึ้นจาก 113 กรม เป็น 131 กรม

- ระดับกองเพิ่มขึ้นจาก 827 กอง เป็น 1,264 กอง

3. การขยายตัวของราชการส่วนภูมิภาค มีการตั้งจังหวัดใหม่เพิ่มขึ้นเป็นระยะ ๆ

- ยโสธร (พ.ศ. 2515)

- พะเยา (พ.ศ. 2520)

- มุกดาหาร (พ.ศ. 2525)

- สระแก้ว หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ (พ.ศ. 2536)

- ตั้งอำเภอใหม่ปีละ 20 อำเภอ

4. การเพิ่มขึ้นของข้าราชการและลูกจ้างส่วนราชการ

การปรับปรุงระบบบริหารงานต่าง ๆ

1. ปรับปรุงระบบงบประมาณ

2. ตั้งคณะกรรมการระดับชาติเพื่อการพัฒนาประเทศ

3. ใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจ

4. ใช้ระบบจำแนกตำแหน่งแทนชั้นยศ

5. แยกประเภทข้าราชการ

6. ชะลอการขยายตัวของระบบราชการ

1. ปรับปรุงระบบงบประมาณ ได้แก่

1. ตราพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502

2. กำหนดรายจ่ายของรัฐบาลที่เหมาะสมกับรายรับ สถานะทางการเศรษฐกิจและทิศทางพัฒนาประเทศ

2. ตั้งคณะกรรมการระดับชาติเพื่อการพัฒนาประเทศ ได้แก่

1. สภาการพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ

2. สภาวิจัยแห่งชาติ

3. สภาการศึกษาแห่งชาติ

4. สำนักงบประมาณ

5. มหาวิทยาลัยทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค

3. ใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจ

1. ประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ในปี พ.ศ. 2504

2. ประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระยะเวลาของแผนฉบับละ 5 ปี ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน

4. ใช้ระบบจำแนกตำแหน่งแทนชั้นยศ

1. ตราพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518

2. สาระสำคัญ คือ นำระบบจำแนกตำแหน่งมาใช้ (Position Classification หรือ P.C.)

3. จำแนกตำแหน่งข้าราชการออกเป็น 11 ระดับ ในราชการฝ่ายพลเรือน

5. แยกประเภทข้าราชการ

ก.พ. จำแนกเป็น

1. ก.ม. (A.R.C.)

2. ก.ค. (A.R.C.)

3. ก.ท.(ท้องถิ่น)

4. ก.ต.ร.(R.C)

5. ก.ร. (นิติบัญญัติ)

1. พ.ศ.2502

- แยกข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย

- มีคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย (ก.ม.) เป็นองค์กรกลางบริหารงานบุคคล

2. พ.ศ. 2516

- ตราพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2516

- ให้มีข้าราชการกรุงเทพมหานคร

- มีคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร (ก.ก.) เป็นองค์กรกลางบริหารงานบุคคล

3. พ.ศ. 2518

- ตราพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518

- แยกข้าราชการฝ่ายรัฐสภาออกจากข้าราชการพลเรือน

- มีคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ก.ร.) เป็นองค์กรกลางบริหารงานบุคคล

4. พ.ศ. 2521

- ตราพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตำรวจ พ.ศ. 2521

- ให้ข้าราชการตำรวจมีคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) เป็นองค์กรกลางบริหารงานบุคคล

- ข้าราชการตำรวจ ใช้ระบบชั้นยศ

5. พ.ศ. 2523

- ตราพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. 2523

- กำหนดให้มีข้าราชการครู

- มีคณะกรรมการข้าราชการครู (ก.ค.) เป็นองค์กรกลางบริหารงานบุคคล

- ข้าราชการครูใช้ระบบวิทยฐานะ

6. ชะลอการขยายตัวของระบบราชการ

1. ชะลอการจัดตั้งส่วนราชการขึ้นใหม่

2. จำกัดอัตราการเพิ่มตำแหน่งข้าราชการใหม่ ไม่ให้เกินร้อยละ 2 ต่อปี

ที่มา : ความรู้เกี่ยวกับราชการไทยและการเป็นข้าราชการ

สำนักงาน ก.พ.

หมายเลขบันทึก: 350246เขียนเมื่อ 7 เมษายน 2010 20:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 เมษายน 2016 14:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท