วิวัฒนาการของระบบราชการไทย ตอนที่ 1


วิวัฒนาการของระบบราชการไทย ตอนที่ 1

"วิวัฒนาการของระบบราชการไทย"

บันทึกนี้ ผู้เขียนขอนำเรื่อง "วิวัฒนาการของระบบราชการไทย" ซึ่งผู้เขียนได้เคยเรียนมาสมัยเมื่อตอนเด็ก ๆ จึงทำให้บางเรื่องได้ลืมไปบ้างแล้ว...แต่เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2553 ซึ่งเป็นวันหยุด (วันจักรี) ผู้เขียนได้ลงทะเบียนเรียน e - learning ทาง Internet ซึ่งเป็นหลักสูตรที่สำนักงาน ก.พ. ได้จัดขึ้นเพื่อให้ข้าราชการได้ลงทะเบียนเรียนโดยเนื้อหาทำให้ทราบถึงความเป็นมาของระบบราชการไทย การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบราชการไทยและความสำคัญของการเป็นข้าราชการ ซึ่งผู้เขียนเชื่อได้เลยว่าคงมีข้าราชการจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่ทราบถึงวิวัฒนาการของระบบราชการไทย ผู้เขียนเห็นว่ามีประโยชน์ไม่มากก็น้อย...จึงนำเรื่องสรุปมาเขียนเพื่อให้ผู้อ่านได้เกิดความรู้และได้ทราบถึงความเป็นมาของวิวัฒนาการของระบบราชการไทย ว่ามีความเป็นมาอย่างไร...วิวัฒนาการของระบบราชการไทย เริ่มจาก...

1. ระบบราชการสมัยสุโขทัย

2. ระบบราชการสมัยกรุงศรีอยุธยา

3. ระบบราชการสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

4. ระบบราชการในระหว่าง ปี พ.ศ. 2471 - พ.ศ. 2499

5. ระบบราชการในระหว่าง ปี พ.ศ. 2500 - พ.ศ. 2539

6. ระบบราชการในระหว่าง ปี พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2545

7. ระบบราชการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 - ปัจจุบัน

ระบบราชการสมัยสุโขทัย

อาณาจักรของชนเผ่าไทยในดินแดนสุวรรณภูมิ เมื่อ 700 กว่าปี

- รวมกลุ่มกันเป็นชุมชนขนาดใหญ่ แต่ละกลุ่มมีหัวหน้าปกครอง

- คนในชุมชนเดียวกันผูกพันกันด้วยการสืบสายโลหิต

- มีขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมเป็นเครื่องกำกับแนวทางการดำเนินชีวิต

- แต่ละชุมชนเจริญรุ่งเรืองและพัฒนาไปสู่ความเป็นเมืองและสร้างเป็นอาณาจักร

- อาณาจักรสุโขทัยเป็น "ราชธานี" แห่งแรกของประเทศไทย

รูปแบบการปกครองแบบ "พ่อปกครองลูก"

1. มีลักษณะคล้ายกับการปกครองคนในครอบครัว

2. กษัตริย์เปรียบเสมือนพ่อของครอบครัวใหญ่ให้การดูแลราษฎรได้อย่างทั่วถึง

รูปแบบการปกครองแบบ "ธรรมราชา"

- เริ่มใช้ในสมัยพญาลิไทย รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงสุโขทัย

- กษัตริย์แบบ "ธรรมราชา" คือผู้ปกครองที่มีคุณสมบัติและมีพฤติกรรมอยู่บนพื้นฐานของธรรมะในพระพุทธศาสนา

การจัดระเบียบบริหารราชการสมัยกรุงสุโขทัย แบ่งเป็น

1. ราชธานี

2. เมืองพระยามหานคร

ระบบราชการสมัยกรุงศรีอยุธยา

* การจัดระเบียบบริหารราชการในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)

* การจัดระเบียบบริหารราชการในสมัยพระบรมไตรโลกนารถ

1. รูปแบบการปกครองในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1

(พระเจ้าอู่ทอง)

* ใช้รูปแบบ "เทวสิทธิ์" (Divine rights)

* กษัตริย์ถูกยกย่องเป็นสมมติเทพ

* รวมอำนาจการปกครองให้อยู่ในตัวบุคคลคนเดียว

2. การจัดโครงสร้างการบริหาร

ราชธานี คือ กรุงศรีอยุธยาและหัวเมืองชั้นใน (เมืองลูกหลวง)

เมืองลูกหลวงด้านเหนือ คือ เมืองลพบุรี

เมืองลูกหลวงด้านตะวันออก คือ เมืองนครนายก

เมืองลูกหลวงด้านใต้ คือ เมืองพระประแดง

เมืองลูกหลวงด้านตะวันตก คือ เมืองสุพรรณบุรี

เมืองพระยามหานคร (หัวเมืองชั้นนอก)

ด้านทิศตะวันตก คือ ตะนาวศรี ทะวาย เชียงกราน

ด้านทิศตะวันออก คือ โคราชบุรี จันทบูรณ์

ด้านทิศใต้ คือ ชยา นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ถลาง

3. การจัดระบบงานในส่วนกลาง คือ ระบบจตุสดมภ์ในสมัย

พระเจ้าอู่ทอง

การจัดระบบงานในส่วนกลาง

* กษัตริย์จะเป็นศูนย์กลางการบริหาร

* มีเสนาบดี 4 คน รับผิดชอบงาน 4 กลุ่ม ได้แก่

1. ขุนเวียง มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง

2. ขุนวัง มีหน้าที่กระทำการต่าง ๆ ภายในพระราชวัง

3. ขุนคลัง มีหน้าที่ การเงิน การคลัง

4. ขุนนา มีหน้าที่ การดูแลรักษานาหลวง ทะนุบำรุงการทำนาของราษฎร

4. การจัดระเบียบบริหารราชการในสมัยสมเด็จพระบรมไตร

โลกนาถ ได้แก่

1. การบริหารกำลังคน

2. การจัดระบบงาน

3. การจัดโครงสร้างการบริหาร

6. การจัดระบบงาน แบ่งเป็น

1. สมุหนายก

2. สมุหพระกลาโหม

7. การปรับปรุงระเบียบบริหารราชการแผ่นดินในสมัยของ

พระเจ้าทรงธรรม ได้แก่

1. ออกกฎหมายชื่อ "พระธรรมนูญ"

2. สมุหนายกบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือ

3. สมุหกลาโหมบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้

4. เวียง ดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยในเมืองหลวง

8. การจัดโครงสร้างการปกครองในสมัยของพระเจ้าทรงธรรม

* ยกเลิกรูปแบบที่มีเมืองลูกหลวง 4 ด้าน รอบราชธานีและกำหนดเมืองต่าง ๆ ในวงราชธานีเป็นเมืองจัตวา

* หัวเมืองนอกราชธานี จัดเป็นเมืองพระยามหานครชั้นเอก โท ตรี ตามขนาดและความสำคัญของเมือง

* เมืองต่างชาติตามชายแดนกำหนดให้เป็นเมืองประเทศราช

* ทั้งหัวเมืองชั้นนอกและหัวเมืองประเทศราชอยู่ภายใต้การควบคุมของสมุหนายก สมุหกลาโหม หรือเสนาบดีกรมท่า

9. การจัดโครงสร้างการบริหารในสมัยของพระเจ้าทรงธรรม

เมือง ได้แก่ เจ้าเมืองหรือผู้รั้ง

แขวง ได้แก่ หมื่นแขวง

ตำบล ได้แก่ กำนัน หรือพัน

บ้าน ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน

10. สาเหตุของการปรับปรุงระบบราชการในสมัยสมเด็จพระบรม

ไตรโลกนารถ ได้แก่

1. การทำสงครามกับเมืองต่าง ๆ ต้องสร้างระบบการปกครองให้เข้มแข็งมากขึ้น

2. มีประชากรจำนวนมากและแผ่ราชอาณาจักรออกไปอย่างกว้างขวาง

3. จัดระเบียบการบริหารราชการให้มีประสิทธิภาพ เพื่อเกณฑ์กำลังพลได้ทันท่วงที

4. การใช้การปกครองแบบ "เทวสิทธิ์" สถาบันกษัตริย์ต้องพยายามรวบอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง

ที่มา : ความรู้เกี่ยวกับราชการไทยและการเป็นข้าราชการ

สำนักงาน ก.พ.

หมายเลขบันทึก: 350070เขียนเมื่อ 6 เมษายน 2010 21:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 เมษายน 2016 14:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นประโยชน์อย่างมากเลยคะ เพราะตอนนี้ใกล้สอบได้อ่านบทความนี้แล้วช่วยให้เข้าใจเป็นอย่างมาก

ขอบคุณนะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท