การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง หนางหมูแสนอร่อย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1


การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ 

การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง  หนางหมูแสนอร่อย

สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

 LOCAL CURRICULUM DEVELOPMENT : THE SUBSTANCE

OF LEARNING ON THE JOB AND TECHNOLOGIES

“ ISSUE FOR TASTY PICKED SOUR PORK”

 FOR HIGH SCHOOL STUDENTS M.S.1

สคราญ  วิเศษสมบัติ. (2552).  การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น  กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องหนางหมูแสนอร่อย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 
            สารนิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต   กรุงเทพมหานคร  :  มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. คณะกรรมการควบคุม     
          ผศ.ดร.เปรมสุรีย์  เชื่อมทอง   รศ.สุภรณ์  ลิ้มบริบูรณ์

           การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยพัฒนา  มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อ  1) พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  เรื่อง หนางหมูแสนอร่อย  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองก่อนเรียนและหลังเรียนตามหลักสูตรท้องถิ่น  เรื่องหนางหมูแสนอร่อย  3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักสูตรท้องถิ่นกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  เรื่อง  หนางหมูแสนอร่อย

          ขั้นตอนการพัฒนาหลัก ๆ มี 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) การพัฒนาโครงร่างของหลักสูตร  3) การทดลองใช้หลักสูตร  4) การประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตร  ประชากรที่ใช้ในการวิจัย  จำแนกเป็น  2  กลุ่ม  คือ  ประชากรที่ให้ข้อมูลพื้นฐาน  ได้แก่  ผู้นำชุมชน   ภูมิปัญญาท้องถิ่น    ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  ผู้รู้ในท้องถิ่น  ผู้ปกครองนักเรียน  ประชากรที่ใช้ในการทดลอง  ได้แก่  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  โรงเรียนเมืองชุมพรบ้านเขาถล่ม  อำเภอเมืองชุมพร  จังหวัดชุมพร  ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2552  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  แบบสอบถามความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักสูตรท้องถิ่น  กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี  แบบสัมภาษณ์  แบบสอบถาม  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย   ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่า ที (t – test)

          ผลการวิจัยพบว่า

                   1. ได้หลักสูตรท้องถิ่น  กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  เรื่องหนางหมูแสนอร่อย  ที่มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด  หลักสูตรมีองค์ประกอบครบถ้วน  มีความสอดคล้องกับสภาพท้องถิ่น  และมีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้  ในการจัดการเรียนการสอนได้

                   2.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน  หลังการทดลองใช้หลักสูตรท้องถิ่น  กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  เรื่องหนางหมูแสนอร่อย  สูงกว่าก่อนการทดลองใช้หลักสูตรท้องถิ่น  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

                   3.  ความพึงพอใจของนักเรียนต่อกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักสูตรท้องถิ่น  กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  เรื่อง  หนางหมูแสนอร่อย  อยู่ในระดับมากที่สุด 

 

หลักสูตรท้องถิ่น "เรื่องหนางหมูแสนอร่อย"

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1                   แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3                    แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4

  แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5                      แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6 

 

 

หมายเลขบันทึก: 349884เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2010 23:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2013 21:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ชอบการสอนลักษณะนี้มากๆค่ะ..."หนางหมู".....เป็นอาหารที่ยายทำได้อร่อยมากๆค่ะ ดีใจที่เด็กๆ ได้มีโอกาสเรียนรู้เรื่องนี้

<< LOCAL CURRICULUM DEVELOPMENT : THE SUBSTANCE OF LEARNING ON THE JOB AND TECHNOLOGIES “ ISSUE FOR TASTY PICKED SOUR PORK” FOR HIGH SCHOOL STUDENTS M.S.1

การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องหนางหมูแสนอร่อย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 >>

The translation of

'การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น' to 'LOCAL CURRICULUM DEVELOPMENT' and

'กลุ่มสาระ การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี' to 'THE SUBSTANCE OF LEARNING ON THE JOB AND TECHNOLOGIES' and

'เรื่องหนางหมูแสนอร่อย' to 'ISSUE FOR TASTY PICKLED SOUR PORK' (note an L in "PICKLED") and

'สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1' to 'FOR HIGH SCHOOL STUDENTS M.S.1'

seems strange in English ;-). Perhaps "local content curriculum" better describes the inclusion of of local or indigenous know-how; "vocational education" may be better for การเรียนรู้การงานอาชีพ; and the Ministry of Education of Thailand has not specified what to call in English MS1 high school students ("year 7 students" may be better understood internationally).

I suggest that below would be more understandable in English:

LOCAL content CURRICULUM DEVELOPMENT: vocation AND TECHNOLOGIES study topic: “TASTY PICKLED PORK” FOR year 7 STUDENTS

Good luck with your thesis ;-)

อาหารพื้นบ้านของชาวใต้ "ต้มกะทิหนาง"

อาจารย์ ok ก็แปลว่าถูกแล้ว

เป็นตัวอย่างในการเขียนหลักสูตรได้ดีมากค่ะขอบคุณมากนะค่ะๅ

tear

ขอไฟล์เอกสารหลักสูตรท้องถิ่นด้วยค่ะ

คุณครูรื่นเริงคะ แก้ไขไหฟล์ให้โหลดได้แล้วค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท