ขบวนการบำเพ็ญประโยชน์แห่งประเทศไทย และ University Volunteerism Impact


ผมฝันต่อไปว่า เราจะมี Volunteerism Social Network Website ที่เชื่อมโยงนักกิจกรรมสังคมเข้าเป็นชุมชน (COP) บน virtual space ที่สามารถทำ data mining แล้วยกย่องอาสาสมัครแห่งปี ปีละ ๑๐ คน สำหรับสร้าง talk of the town ในด้านนี้ ให้สื่อมวลชนมีเรื่องราวด้านดี เอาไปทำข่าว


          สาร มอ. ปีที่ ๑๙ ฉบับที่ ๒ ประจำเดือนธันวาคม ๒๕๕๒ – มกราคม ๒๕๕๓ กล่าวถึงงานบำเพ็ญประโยชน์ มอ. ในส่วนของกิจกรรม นศ. มี ๔ ด้าน คือ

๑.   การบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม ค่ายอาสา การออกไปในพื้นที่ขาดแคลน เพื่อปรับปรุงอาคารเรียน ให้ความรู้ด้านสุขภาพ ความรู้เรื่องยา


๒.   การบริการวิชาการ ให้ความรู้ด้านการเตรียมตัวเข้ามหาวิทยาลัย


๓.   ด้านศิลปวัฒนธรรม อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ที่เป็นเอกลักษณ์ของภาคใต้


๔.   ด้านกีฬา

          โดยมี ๕ ชมรมนักศึกษา ที่ทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์   ได้แก่ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  ชมรมการศึกษาเพื่อสังคม  ชมรมสาธารณสุขสัมพันธ์  ชมรมอาสาพัฒนา  ชมรมโรตาแรคท์

          ทำให้ผมนึกถึงการจัดขบวนการอาสาสมัคร  บำเพ็ญประโยชน์ของสังคมไทย ให้เป็นกระแสที่คึกคัก  โดยดำเนินการหลากหลายมาตรการ   มาตรการหนึ่งคือจัดให้มีดัชนี University Volunteerism Impact ประกาศให้สังคมรับรู้ทุกปี   หากเราเริ่มศึกษาและคิดวิธีการในปี ๒๕๕๓ ก็น่าจะเริ่มประกาศได้ในปี ๒๕๕๕   ผมลองใช้คำนี้ค้นใน อินเทอร์เน็ต ไม่พบ   ดังนั้น หากเราริเริ่ม ก็จะเป็นการริเริ่มให้แก่โลก   เพื่อสื่อแก่สังคมและแก่โลก ว่าการที่มหาวิทยาลัยเป็นผู้นำสังคมด้านการให้คุณค่าแก่การบำเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อื่นนั้น ถือเป็นสิ่งน่ายกย่อง   น่าหยิบยกขึ้นมาเป็นสาระ เป็น talk of the town   

          แทนที่สื่อมวลชนจะเอาแต่เน้นลงข่าวร้าย   ก็มีข่าวดีที่น่าตื่นเต้นให้ลงข่าว    ดังนั้น ขบวนการบำเพ็ญประโยชน์แห่งประเทศไทยนี้ ควรมีผู้ใหญ่ของสื่อมวลชนมาร่วมเป็นคณะกรรมการอำนวยการด้วย    โดยทำเป็นขบวนการเครือข่าย    หลายฝ่ายเข้ามาเป็นเจ้าของร่วมกัน

          ขบวนการบำเพ็ญประโยชน์ อาสาสมัคร แห่งประเทศไทย จะมีกิจกรรมหลายส่วนเข้ามาเป็นเครือข่าย แต่ไม่ได้เข้ามาอยู่ใต้สังกัด   คือเราเน้นความสัมพันธ์แบบอิสระต่อกัน แต่ร่วมมือกัน (independent but inter-dependent)   ส่วนพัฒนา  University Volunteerism Impact เป็นส่วนหนึ่ง

          ผมลองค้น อินเทอร์เน็ต ด้วยคำ volunteerism ได้ความหมายของ volunteering ใน Wikipedia   ทำให้คิดวิธีส่งเสริม volunteerism ในสังคมไทยได้มากมายในแนว KM & AI   ที่จะนำมาใช้เชียร์มูลนิธิสยามกัมมาจลให้ดำเนินการแบบไม่ทำเอง   แต่เชื่อมโยงประสานสายใยให้เกิดการขับเคลื่อน 

          เริ่มด้วยการชวน สกว. ร่วมกันให้ทุนนักวิชาการรวบรวมหลักการ หลักวิชา วิธีการ และมาตรการ ด้านอาสาสมัครและการบำเพ็ญประโยชน์   สังเคราะห์ออกมาเป็นข้อเสนอแนะ ว่าหากจะมี volunteerism movement ในสังคมไทยควรดำเนินการในแนวไหน   แล้วจัดประชุมระดมความคิดผู้สนใจ หน่วยงานด้านอาสาสมัคร  ผู้แทนมหาวิทยาลัย  ผู้แทนสภาเยาวชน ฯลฯ    มาร่วมกันออกความคิด พร้อมไปกับวางแผนการดำเนินการเป็นเครือข่าย

          รวมทั้งเพื่อนำมาคิดหาวิธีสร้าง University Volunteerism Index

          ผมฝันว่า มหกรรมพลังเยาวชนจะเป็นกิจกรรมแฝด ร่วมไปกับมหกรรมพลังบำเพ็ญประโยชน์   และเป็นวันประกาศ University Volunteerism Index และให้รางวัล Thailand Top 5 UVI   สำหรับสื่อสารสังคม ว่ากิจกรรมอาสาสมัครมีคุณค่าอย่างไรต่อสังคม

          ผมฝันต่อไปว่า เราจะมี Volunteerism Social Network Website ที่เชื่อมโยงนักกิจกรรมสังคมเข้าเป็นชุมชน (COP) บน virtual space   ที่สามารถทำ data mining แล้วยกย่องอาสาสมัครแห่งปี  ปีละ ๑๐ คน   สำหรับสร้าง talk of the town ในด้านนี้   ให้สื่อมวลชนมีเรื่องราวด้านดี เอาไปทำข่าว

          แต่ ข้อมูลเพื่อยกย่องอาสาสมัครแห่งปี จะไม่จำกัดอยู่แค่ข้อมูลบนเว็บเท่านั้น   เราจะมีกองทัพแมวมอง    โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาสาสมัครเยาวชนแมวมองทั่วประเทศ    ที่จะช่วยกันเสาะหาอาสาสมัครเพื่อสังคม เอามาเผยแพร่ด้วยวิธีการต่างๆ รวมทั้งบนอินเทอร์เน็ต   เท่ากับเราจะขับเคลื่อนสังคมข่าวดีไปพร้อมๆ กัน   

 

                                  วิจารณ์ พานิช
        

หมายเลขบันทึก: 349729เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2010 10:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มีนาคม 2012 14:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

...เริ่มเลยค่ะ..เพื่อความฝัน..ที่จะเป็นจริง..ยายธีอยากร่วมไปกับฝันที่เป็นจริง..เจ้าค่ะ...ขอให้ท่านอาจารย์มีความสุขและความสมดุลย์กับการสรรค์สร้างความฝันค่ะ...(เป็นกำลังใจด้วยคน)...ยายธี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท