ปัญหาขาดแคลนครู


โรงเรียนขาดครู

โรงเรียนดอนเงินพิทยาคาร ตั้งอยู่ที่ หมู 3,4 ตำบลดอนเงิน อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม จัดการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 เริ่มก่อตั้งโรงเรียนมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2534 ตลอดระยะเวลาของการจัดการศึกษา ในช่วงที่โรงเรียนสังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ) กระทรวงศึกษาธิการนั้น มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้กรอบอัตรากำลังของบุคลากรครบตามเกณฑ์

   ต่อมาโรงเรียนได้ถ่ายโอนมาสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทยเมื่อ 1 มกราคม 2550 เกิดผลกระทบทันทีในเรื่องของบุคลากรครู ซึ่งมีหน้าที่หลักในการพัฒนาการศึกษา สู่เป้าหมายโดยมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์เป็นไปตามที่กำหนด ในการถ่ายโอนครั้งนี้มีครู 1 คน ผู้บริหาร 1 คน ที่สมัครใจถ่ายโอน ที่เหลือก็สังกัดเดิม (ย้ายออก) อบจ.มหาสารคามได้จัดสรรค์ ตำแหน่งครูผู้ช่วยมาแทนเท่าจำนวนเดิมที่มีอยู่ โดยทำสัญญาเป็นคราวๆ ไป 2 เดือนบ้าง 3 เดือนบ้าง ปัญหาที่พบในช่วงนี้คือ ครูที่จ้างมาสอนไม่ตรงเอก เนื่องจากโรงเรียนดอนเงินพิทยาคารไม่ค่อยมีผู้ให้ความสนใจเลือก ฉะนั้นในส่วนของครูผู้ช่วยที่เหลือจากการคัดเลือกจากโรงเรียนอื่นจึงต้องมาอยู่ที่นี่ ทำให้รายวิชาที่สอนไม่ตรงกับความถนัดเกือบทุกวิชาเอก ประกอบกับสภาพการบริหารจัดการไม่มีคุณภาพ ทำให้ครูเกิดความท้อแท้ ขาดขวัญกำลังใจ และขาดความศรัทธาที่จะอุทิศเวลา ทุ่มเทต่อไป ครูหลายคนขอย้ายกลางสัญญา หรือพยายามดิ้นรนเพื่อที่จะไปสู่ที่แห่งใหม่ที่เข้าใจว่าน่าจะดีกว่าเดิม

   การพิจารณาหาครูหรือบุคลากรมาแทนทำได้ด้วยความล่าช้าและลำบาก ที่สำคัญคือ หาบุคลากรที่ตรงกับวิชาเอกที่ต้องการไม่ได้ ส่วนครูที่มาพอทำงานได้ระยะหนึ่ง ก็จะเกิดปัญหาขึ้นมากมาย เช่น เด็กโดดเรียน หนีเรียน ขาดระเบียบ วินัย ทะเลาะวิวาท ชู้สาว ไม่สนใจการเรียน ครูทำงานแบบไม่มีความสุข ท้อถอย  ขาดกำลังใจที่จะพัฒนาการจัดการเรียนรู้สู่เป้าหมาย ไม่สามารถควบคุมห้องเรียนให้อยู่ในบรรยากาศที่อบอุ่น เป็นกันเองและน่าเรียนได้ สุดท้ายการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนก็ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง ผู้บริหารไม่กำกับ ติดตาม นิเทศ ไม่มีเวลาอยู่ดูแลแก้ไขสภาพปัญหาในโรงเรียน ติดธุระราชการทุกวัน ปัญหาที่เกิดขึ้นจึงไม่ได้รับการดูแลแก้ไข

   ครูอยู่ในสภาพอิดโรย, อ่อนล้า, ขาดแรงจูงใจ และเกิดความเบื่อหน่าย นักเรียนก็ขาดเป้าหมาย ขาดวินัย ไม่มีคุณธรรม เรียนไปวันๆ ไม่มีความกระตือรือร้น และไม่รักสถาบัน จากข้อความข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่า ปัญหาความล้มเหลวของการจัดการศึกษาของโรงเรียนดอนเงินพิทยาคารมาจาก ความล้มเหลวของการบริหารจัดการ ในเรื่องการจัดสรรค์บุคลากรที่ไม่ต่อเนื่อง, ไม่ชัดเจนและไม่ตรงกับรายวิชาที่ต้องการ คือ มีคน แต่..ความสามารถที่มีไม่ได้นำมาใช้ให้ตรงกับความต้องการจำเป็น จึงไม่สามารถพัฒนานักเรียนสู่เป้าหมายที่วางไว้ได้ จึงไม่ผิดนักหากจะเรียกว่า  ปัญหาที่กล่าวถึงนี้คือ โรงเรียนขาดแคลนครู

คำสำคัญ (Tags): #โรงเรียนขาดครู
หมายเลขบันทึก: 349508เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2010 10:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 14:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ทำไมครูที่นี้มีน้อยยัก

เด็กๆมัก..ถามถึงครู..อยู่เสมอ..

เพลง

"ที่นี้ไม่มีครู"

ขอบคุณนะครับ

สวัสดีค่ะ..คุณลุงหนวด..

  • อ่านแล้ว..ก็ให้รู้สึกหนักใจแทนจริง ๆ ค่ะ
  • แล้วจะช่วยกันอย่างไรดี..
  • มองว่า..ผู้บริหารต้องเข้มแข็ง..มีภาวะผู้นำ..และเป็นตัวอย่างที่ดีก่อน
  • ต้องเริ่มที่หัวก่อน..หลังจากนั้นแล้วก็ค่อยว่ากันนะคะลุงหนวด..
  • เป็นกำลังใจให้นะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท