ตามไปให้กำลังใจปราชญ์ชาวบ้านที่ดาดทองเจริญ


คุณตฤณศร ได้เล่าให้ทีมงานเราฟังว่า เดิมตนเองและครอบครัว ทำงานอยู่ในองค์กรเอกชนมาหลายปี ต่อมาแม่ได้เข้าสู่วัยชราภาพและป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ จึงกลับมาเลี้ยงดูแม่ที่บ้านดาตทองเจริญ จึงต้องผันตัวเองมาเป็นเกษตรกร โดยเริ่มแรกได้ยึดแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องเกษตรทฤษฏีใหม่ แล้วตัดสินใจ เดินตามรอยพ่อ ก่อวิถีพอเพียง

ตามไปให้กำลังใจปราชญ์ชาวบ้านที่ดาดทองเจริญเพื่อให้กำลังใจกัน

 

เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2553ผมและทีมงานสำนักงานเกษตรจังหวัด ไปเยี่ยมคุณตฤณศร สัมทับ เป็นวิทยากรเกษตรกรหรือที่เรียกกันว่าปราชญ์ชาวบ้านประจำศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียงบ้านดาดทองเจริญ  ซึ่งตั้งอยู่ที่ บ้านเลขที่ 21 หมู่ 12 บ้านดาตทองเจริญ ตำบลอ่างทอง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร

 

 

        คุณตฤณศร ได้เล่าให้ทีมงานเราฟังว่า เดิมตนเองและครอบครัว ทำงานอยู่ในองค์กรเอกชนมาหลายปี ต่อมาแม่ได้เข้าสู่วัยชราภาพและป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ จึงกลับมาเลี้ยงดูแม่ที่บ้านดาตทองเจริญ จึงต้องผันตัวเองมาเป็นเกษตรกร โดยเริ่มแรกได้ยึดแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องเกษตรทฤษฏีใหม่ แล้วตัดสินใจ เดินตามรอยพ่อ ก่อวิถีพอเพียง

 

     คุณตฤณศร ยังได้เล่าต่ออีกว่า ได้เริ่มต้นทำกิจกรรมในที่ดินของครอบครัวผืนนี้ในเนื้อที่ประมาณ 46 ไร่เศษ โดยเริ่มอย่างจริงจังตั้งแต่ ปี พ.ศ.2549 เป็นต้นมา เริ่มแรกได้พลิกพื้นที่นา จำนวน 11 ไร่ขุดสระเลี้ยงปลา นำดินมาถมเพื่อปลูกบ้าน  ปลูกพืชผักและผลไม้ ส่วนที่ดินอีก 30 ไร่ ปลูกข้าวโพด มันสำปะหลัง และทำนา 5 ไร่ ปัจจุบันยังได้ขุดสระน้ำเพิ่มอีก 2 สระ  ทำการปลูกปาล์มน้ำมัน ตะกู และปลูกกล้วยแทนมันสำปะหลัง

 

      ลองมาดูกิจกรรมเด่นในแปลงเรียนรู้ด้านการเกษตรพอเพียงแห่งนี้กันนะครับ  คุณตฤณศร ยังได้เล่าให้ฟังต่อว่า กิจกรรมที่ทำมีดังนี้

 

    1. การปลูกข้าว จะทำการปลูกข้าวปีละ 1 ครั้ง ในพื้นที่ 5 ไร่ โดยเลือกใช้พันธุ์ข้าวที่ทนต่อภาวะฝนแล้ง ดูแลรักษาง่าย เป็นข้าวลักษณะอ่อนคล้ายข้าวหอมมะลิ ข้อดีของการปลูกข้าวไว้กินเองจะสามารถประหยัดเงินในการซื้อข้าวสารได้ปีละ 10,000 บาท และข้อสำคัญครอบครัวได้บริโภคข้าวที่อ่อนนิ่ม ปลอดสารพิษ ส่วนฟางข้าวยังใช้ในการคลุมดินให้กับพืชผัก ผลไม้ และต้นปาล์มน้ำมัน และหลังจากที่เก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวแล้ว ได้หว่านถั่วพร้า เพื่อทำเป็นปุ๋ยพืชสดเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดินในผืนนาอีกด้วย

 

 

      2. การปลูกกล้วย ปัจจุบันปลูกกล้วยประมาณ 3,000 ต้น เป็นพืชหมุนเวียนในสวนปาล์ม นอกจากจะได้ประโยชน์โดยตรงแล้ว ยังช่วยให้ร่มเงากับสวนปาล์ม ช่วยเก็บน้ำความชื้นแก่ดินในสวนปาล์ม นอกจากนี้ผลผลิตกล้วยนอกจากจะจำหน่ายแล้ว แบ่งปันให้ชาวบ้านข้างเคียงได้บริโภคแล้วยังนำผลสุกไปเป็นอาหารปลาในบ่อและทำเป็นปุ๋ยได้อีกด้วย

 

 

       3. การปลูกฟักทอง และฟัก เป็นพืชหมุนเวียนในสวนปาล์ม ถึงแม้รายได้อาจจะไม่มากแต่ก็มีรายได้สามารถช่วยเป็นค่าใช้จ่ายในครอบครัวเป็นค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้าเป็นต้น

 

 

       4. การปลูกแก้วมังกร จะปลูกประมาณ 2,000 ต้นโดยปลูกรอบๆสระน้ำ ก็จะมีรายได้เสริมให้แก่ครอบครัวอีกด้วย

 

 

       5. การปลูกพืชผักและผลไม้ ส่วนใหญ่จะเป็นพืชอาหารที่ทางครอบครัวชอบทานอยู่เป็นประจำทุกวัน ได้แก่ พริก กระเพรา โหระพา ขิง ข่า ตะไคร้ ถั่วฝักยาว ผักบุ้ง ชะอม  ผักโขม ผักเสี้ยนและหน่อไม้ เป็นต้น สำหรับไม้ผล ได้แก่ ขนุน น้อยหน่า พุทรา ละมุด มะม่วง มะพร้าว มะกอก กระท้อน ฝรั่ง ชมพู่ สาเก เป็นต้น

 

 

        6. การปลูกพืชสมุนไพร  ได้ปลูกพืชสมุนไพรพื้นบ้านที่มีประโยชน์ได้แก่ ขมิ้น กระชายดำ ฟ้าทะลายโจร โสมไทย และแปะตำปึง(จินเจียหมาเยีย )

 

 

        7. กิจกรรมเลี้ยงปลาส่วนใหญ่เป็นปลากินพืชได้แก่ ปลาสวาย ปลาทับทิม ปลาตะเพียน ปลาแรต ปลาจาระเม็ด ปลายี่สก ซึ่งเป็นปลาที่ใช้เป็นอาหารในชีวิตประจำวัน และจำหน่ายเป็นรายได้ให้แก่ครอบครัวอีกด้วย ผลพลอยได้อีกอย่างหนึ่งก็คือน้ำในสระเลี้ยงปลาก็สามารถนำไปรดพืชผักได้เป็นอย่างดี

 

 

          8.การปลูกปาล์มน้ำมัน

          กิจกรรมการปลูกปาล์มน้ำมัน ในแปลงเกษตรของตนเองผืนนี้ ได้มีเป้าหมายคือผลิตปาล์มน้ำมัน จำนวน ไม่น้อยกว่า 30 ไร่แล้ว โดยแบ่งเป็น 2 แปลง แปลงแรกได้ทดลองปลูกปาล์มน้ำมัน จำนวน 6 ไร่ อายุได้ 4 ปี ซึ่งขณะนี้เริ่มให้ผลผลิตแล้ว จากการศึกษาก็พบว่ามีการเจริญเติบโตได้ดีทีเดียวต้นโตเร็ว ขณะนี้ได้ปลูกเพิ่มอีก1 แปลงในพื้นที่ 24 ไร่

 

      แนวโน้มที่ได้วางแผนไว้ปาล์มคงจะให้ผลผิตดี นอกจากนี้ยังมีการวางแผนเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางการเกษตรในอนาคตอีกด้วย

 

 

       ทุกวันนี้มีหน่วยงานและองค์กรต่างๆยังได้มาศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่อง และยังเปิดการอบรมให้แก่เกษตรกรในชุมชนและนอกชุมชนอีกด้วย รวมที่ผ่านมาได้อบรมไป จำนวน 5 รุ่นแล้วครับ

 

เขียวมรกต: 28 มีค.53

แหล่งข้อมูล:คุณตฤณศร สัมทับ โทร.08-19533204

หมายเลขบันทึก: 347701เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2010 10:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีครับคุณ เขียว ในสวนปาล์ม ถ้าจะดีมีแพะสักสองสามตัวเอาไว้กินใบปาล์มครับ

ความเห็นที่ 1 ขอร้องล่ะ

ความคิดไม่สร้างสรรค์กรุณาอย่างแสดงออกได้มั้ย

กลัวคนอื่นไม่รู้หรอคะว่า......

บังเอิญว่าหมู่บ้านดิฉันไม่จำเป็นต้องทีแพะอ่ะค่ะ

มีควายยยยยยว่าไปอย่างนะคะ

แรงกันได้อีกนะ ๆๆๆๆๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท