การใช้พื้นที่สาธารณะของสังคมไทย : เร่ร่อน ไร้บ้าน ยากจน หรือไม่สบายใจ


หากต้องการภาพความเป็นจริงแล้ว ต้องชักชวนคนที่ ทำงานและทำวิจัยเรื่องราวเหล่านี้ มตั้งวงสนทนา และ ทดลองใช้ชีวิต แบบคนไร้บ้าน คนเร่ร่อนอย่าง 100 % กัน ซัก 7 วัน 10 วัน แล้วกลับมา คุยกันอีกรอบ โดยส่วนตัวเชื่อว่า ทุกท่าน แทบจะกลับมา ฉีกงานของตัวเองทิ้งเลยด้วยซ้ำไป
 คนไร้บ้านไม่ได้เป็นแค่คนที่ยากจนที่สุดในสังคมเท่านั้น หากแต่คนเหล่านี้ยังต้องเผชิญกับข้อสงสัยที่กัดกร่อนตนเองเกี่ยวกับคุณค่าและความหมายของการมีชีวิตรอด ซึ่งจะถูกกระตุ้นในยามที่ต้องเผชิญกับสายตาที่มองด้วยความหวาดระแวง ดูถูก คนไร้บ้านจึงต้องพยายามตอบตัวเองเกี่ยวกับความหมายของการมีชีวิตอยู่
-- บุญเลิศ วิเศษปรีชา จาก โลกของคนไร้บ้าน
 

จากขอความข้างต้น ทำให้ เกิดความคิดที่ต้องลุกขึ้นมาเขียนบทความนี้ หลังจากที่ลงทำงานกับคนกลุ่มนี้มากว่า 10 ปี โดยเชื่อเป็นการส่วนตัวว่า มุมมองที่ คลุกคลี อยู่กับกลุมเป้าหมายในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านความทุกข์ยากและสุขล้ำ ของคนในพื้นที่ข้างถนน ในหลาย ๆ พื้นที่นั้น จะต่างไปจากที่เคยมีใครสะท้อนออกมาให้ได้รับทราบเป็นระยะ ๆ อย่างแน่นอน ด้วยเพราะ การได้ทดลองลงไปกินไปนอนกับเขาเหล่านั้นในพื้นที่ ลองไม่อาบน้ำ หรืออาบแบบที่คนเร่ร่อนอาบ กินแบบที่เขากินกันในพื้นที่ เรียนรู้แบบสนุกสนานและเห็นน้ำใจของเขาเหล่านั้น เข้าไปในที่ที่เขาอู่ แบบระนาบเดียวกัน ไม่เข้าไปในฐานะนักวิชาการ ไม่เข้าไปในฐานะผู้ให้ แต่ เข้าไปในฐานะ ผู้ที่ขอเข้าไปเรียนรู้ ไปยอมรับในความเป็นเขา เราก็จะเห็นชีวิตในอีกมุมของเขา ซึ่งน้อยคนนักที่จะมีโอกาสได้เห็นและเข้าใจชีวิตและความเป็นไปจริง ๆ ของพวกเขาเหล่านั้น

ระยะสองสามปีแรกของการทำงานกับคนไร้บ้านคือย้อนไปเมื่อเกือบสิบที่ที่แล้ว ราว ๆ ปี 2539 – 2540 ที่เริ่มทำงานกับ คนไร้บ้าน คนเร่ร่อน แถว ๆ สวนลุมพินี ถนนพระรามที่ 4 ในช่วงนั้น ออกไปกินไปนอนอยู่ข้างถนน แถว ๆ สวนลุมฯบ้าง บ่อนไก่บ้างชนิดที่ถ้าไม่บอกใคร ก็ จะพากันเข้าใจว่าเป็นคนไร้บ้าน หรือคนเร่ร่อน คนนึงเท่านั้นเอง นอนตามหลุม (ศัพท์ที่เด็กเร่ร่อนในช่วงนั้นเรียกกัน) ไปนอนตามห้องเช่าชั่วคราว ในซอยงามดูพลีบ้าง ได้รสชาติของชีวิตไปอีกแนวนึง ในช่วงนั้น การพูดคุยซักถาม ถึงเรื่องราวความเป็นมาและเป็นไปของเด็กเร่ร่อน คนเร่ร่อน ก็ ถามถึงสาเหตุที่มาที่ไปอย่างกว้าง ๆ หลวม ๆ เพระเป็นแค่ลงทำงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น แต่เมื่อลองออกนอกกรอบที่องค์กรสังกัดอยู่ในช่วงนั้นกลับพบว่า ทำให้เราได้เรียนรู้และพบเรื่องราวในมุมที่หลายคนมองข้ามหรือคาดไม่ถึงมากมาย ทั้งเหตุที่ออกมาเร่ร่อนขายบริการ และ เหตุจริง ๆ ของการเข้าสู่ขบวนการขายบริการทางเพศ และขบวนการค้ายาเสพติด ของเด็กเร่ร่อนในพื้นที่ในขณะนั้น

ครั้นต่อมา มีโอกาส ออกมา ลองใช้วิธีการทำงานในรูปแบบของตัวเอง แต่ขยับมาแถว ๆ สะพานอรุณอมรินทร์ ตอนนั้นราว ๆ ปี 2541 – 2543 ก็ยังใช้วิธีลองกินลองนอนแบบกลุ่มเป้าหมายอยู่ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ จน คนละแวกนั้น คุ้นเคย และถือได้ว่าเราเอง เป็นหนึ่งในครอบครัวของพวกเขาไปแล้ว ใครจะเชื่อว่า ภาใต้ความยกลำบาก ความแร้นแค้น ของคนเร่ร่อน คนใต้สะพาน จะมากไปด้วยน้ำใจ ที่ ไม่ต้องเรียกร้อง ไม่ต้องร้องขอ  เป็นสิ่งที่แต่ละคนมีและเป็นโดยธรรมชาติ เป็นภาพความเป็นจริงที่ สัมผัสคราวใด ก็ จะพบแต่ความสุข และกำลังใจเพิ่มพูน ฮึกเฮิมที่จะพยายามแสวงหาสรรพกำลังในการสนับสนุนให้เกิดการลงมาทำงานนพื้นที่นี้มากขึ้นทุกทีไป

และเมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้ลองใช้ชีวิตแบบคนสนามหลวง กินนอนอย่างต่อเนื่องกับคนสนามหลวง ยิ่งทำให้พบว่า ภาพที่ปรากฎในงานวิชาการทั้งหลาย ยังสะท้อนออกไปด้เพียงเศษเสี้ยวของสภาพความเป็นจริง และเป็นการเลือกที่จะสะท้อนภาความยากลำบาก สะท้อนภาพของความรุนแรง หรือภาพในเชิงลบ โดยขาดการมองภาพในเชิงสร้างสรรค์ของคนเร่ร่อน คนไร้บ้าน ภาพความร่วมไม้ร่วมมือของคนไร้บ้าน ที่ ยอมออกจากพื้นที่ ทุกครั้งที่มีการแจ้งและร้องขอ แต่ในขณะที่ภาพของคนที่ใช้พื้นที่เพียงเพื่อทำมาหากินข้ายข้าวขายของบริเวณรอบ ๆ สนามหลวงและใกล้เคียง เป็นภาพที่ตรงข้มกันโดยสิ้นเชิง การออกมาอยู่สนามหลวง หรือที่สาธารณะต่าง ๆ ในเขตเมืองใหญ่ ๆ ไม่ได้เกิดจากสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมเพียงอย่างเดียว หากแต่เกิดจาก ปัจจัยอื่น เข้ามาผนวกด้วยซ้ำไป ระหว่างที่ ลงไปใช้ชีวิตกับคนสนามหลวง ภาพหนึ่งที่เห็นจนเจนตา คือ ภาพของ คนขับรถยนต์หรูราคาเป็นล้าน มาจอดกลางสนามหลวง คนที่ออกมาจากรถแต่งตัวธรรมดา ๆ เรียกคนเช่าเสื่อเพื่อเช่าเสื่อ แล้วตัวเองก็ ไปนอนกลางสนามหลวงที่ห่างออกไปจากรถ พอสมควร ครั้นพอใกล้รุ่ง ก็ กลับมมาที่รถ และขับกลับบ้านไป ด้วยใบหน้าที่เปื้อนรอยยิ้ม ผิดกับที่ เวลามาที่มาพร้อมกับใบหน้าที่เคร่งเครียดกับอะไรบางอย่าง

ภาพของคนที่ออกมาใช้พื้นที่สาธารณะ ในเขตเมืองใหญ่ ๆ ทั่งทุกภูมิภาคของประเทศ ยังเป็นภาพเบลอ ๆ อยู่ตลอดเวลา แม้ว่าจะมีงานวิจัยออกมาเล่มแล้วเล่มเล่า แต่ การวิจัย ในแต่ละคราว ติดด้วยกรอบของเวลา ทำให้การฝังตัวเพื่อสะท้อนปัญหา หรือบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ยังออกมาไม่ครบถ้วน และ ไม่สะท้อนภาพความเป็นจริงไปหมดทุกเรื่อง หากต้องการภาพความเป็นจริงแล้ว ต้องชักชวนคนที่ ทำงานและทำวิจัยเรื่องราวเหล่านี้ มตั้งวงสนทนา และ ทดลองใช้ชีวิต แบบคนไร้บ้าน คนเร่ร่อนอย่าง 100 % กัน ซัก  7 วัน 10  วัน แล้วกลับมา คุยกันอีกรอบ โดยส่วนตัวเชื่อว่า ทุกท่าน แทบจะกลับมา ฉีกงานของตัวเองทิ้งเลยด้วยซ้ำไป


ความเห็น (1)
เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งครับว่าไม่มีงานวิจัย หรืองานเขียน หรืองานสารคดี แม้แต่ภาพยนตร์ใดๆจะสามารถสะท้อนภาพความเป็นจริงได้ทั้งหมด.............. เพราะความเข้าใจในชีวิตคนชายขอบเหล่านี้ ไม่สามารถสัมผัสผ่านตัวหนังสือ หากการเรียนรู้ด้วยวิธีปฏิบัติเป็นสิ่งจำเป็นกว่า หากต้องการรู้แจ้ง......................... อย่างไรก็ตาม คงเป็นไปไม่ได้ หากจะให้ทุกคนลงมาคลุกอยู่กับภาคปฏิบัติ มาใช้ชีวิตร่วมกับผู้ทุกข์ยาก งานเขียน งานวิจัย รวมทั้งสื่อต่างๆจึงถือกำเนิดขึ้นมาเพื่อรับใช้หน้าที่ตรงนี้ ...................... สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือ คนส่วนใหญ่ไปหลงเชื่อว่า งานวิจัย งานเขียน สื่อภาพยนตร์ที่นำเสนอนั้น เป็นภาพสะท้อนความจริงทั้งหมด ซึ่งผมมองในแง่ดีว่า ตัวผู้ผลิตงานเหล่านี้เอง จำนวนมาก เขาก็ไม่ได้คาดหวังเช่นนั้น ...................................... ปัญหานี้ เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างด้วยครับ โครงสร้างสังคมที่ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่เชื่อถือในข้อมูล ความรู้ แบบแผนแบบวิทยาศาสตร์ ที่เน้นรูปธรรมโดยเชื่อว่ามันสามารถเป็นตัวแทนของความจริงได้ ทั้งๆที่ยังมีความรู้ความจริงอีกจำนวนมากที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นรูปธรรมได้ เช่น ความดี ความรัก ความหวัง ความเมตตา ความวิตกกังวล ฯลฯ................................. หากแต่ต้องสัมผัสด้วยใจ เหมือนอย่างที่คุณกล่าวไว้นี้ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท