นกยูง
นางสาววิภาดา ขุนทองจันทร์

บทบาทและความสำคัญของผู้นำ


บทบาทและความสำคัญของผู้นำ

 

บทบาทและความสำคัญของผู้นำ

          ถ้าเปรียบการบริหารเสมือนกับการทำสงคราม  ผู้นำ ก็ปรียบเสมือนแม่ทัพ  ที่จะต้องวางแผน วางกลยุทธ์ให้ลูกทัพปฏิบัติตาม หากวางแผนผิดพลาดจะส่งผลเป็นอันตรายแก่บุคคลที่อยู่ในความควบคุม ดังนั้น ผู้นำจะต้องเป็นผูมีวิสัยทัศน์และมีความรับผิดชอบสูง  หากสถานศึกษาใดได้ผู้นำที่เฉื่อยแฉะ เช้าชาม เย็นชาม ก็จะทำให้โรงเรียนหยุดนิ่งและเริ่มล้าหลังไปตามวันเวลา แต่ในทางกลับกันหากผู้นำมีวิสัยทัศน์ มีความคิดในการพัฒนาไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่แล้วร่วมด้วยช่วยกันในการกำหนดเป้าหมายแนวทางแล้วดำเนินการจะทำให้สถานศึกษานั้นๆมีการก้าว การพัฒนาไปในทิศทางที่ถูกกำหนด ดังนั้น คุณสมบัติของผู้นำที่ควรได้รับการยอมรับว่ามีความรู้ ควรจะสามารถหยั่งรู้ความจริงซึ่งอยู่ในรากฐานจิตใจและการดำเนินชีวิตคนที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบได้อย่างลึกซึ้ง หากขาดการหยั่งรู้ความจริงจากรากฐานจิตใจตนเอง อันควรถือเป็นพื้นฐานสำคัญ ย่อมไม่อาจรู้ความจริงจากใจผู้อื่นเป็นสัจธรรม

            คุณสมบัติของผู้นำที่ขึ้นไปบริหารงาน ในขณะที่พิจารณาผู้อื่น ยิ่งเป็นผู้ที่อยู่ใต้ความรับผิดชอบ ก่อนอื่นน่าจะมีธรรมชาติที่หวนกลับมาพิจารณาทบทวนตัวเองได้อย่างลึกซึ้ง สิ่งนี้นับเป็นประเด็นสำคัญที่จะทำให้เกิดสมดุลระหว่างผู้บริหารกับผู้ที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบ ช่วยให้ทุกอย่างเป็นไปได้ด้วยความเรียบร้อย จากเหตุผลดังกล่าวจึงน่าจะมองเห็นได้ว่า ผู้นำที่ดีไม่ควรมีเจตคติที่มองมุ่งไปด้านหน้าเหนือกว่าการมองย้อนกลับมาสู่ด้านหลัง ก่อนการพิจารณาตัดสินใจปฏิบัติทุกสิ่งทุกอย่าง และไม่ควรมองว่า ชนรุ่นหลังหรือผู้ที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบคืออนาคตของงาน หากควรมองว่า คืออดีตของตนเอง เพื่อมุ่งค้นหาความจริงจากทิศทางซึ่งคนมีความรู้สึกกับผู้ที่อยู่เหนือกว่ามาแล้วในอดีต

            ความคิดดังกล่าวน่าจะส่งผลให้เกิดความเข้าใจผู้ที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบ ในลักษณะที่เรียกได้ว่า เอาใจเขาใส่ใจเรา ช่วยให้เกิดความรักความเมตตาและการให้อภัย  รวมถึงการให้โอกาสในการปรับตัวปรับใจตนเองได้อีก

  สำหรับขั้นตอนสู่การปฏิบัติ มีดังนี้

       กำหนดและสร้างทีมงานจัดการในองค์กร  ซึ่งเป็นผู้ที่รับผิดชอบในองค์กร เชื่อมโยงกับเป้าหมายของผู้นำองค์กร ผู้บริหารโครงการมีทีมงานที่หลากหลายตามลักษณะการดำเนินขององค์กร โดยหลักการจะมีผู้ที่จัดการเฉพาะ, ฝ่ายเชื่อมโยงจากหลายกลุ่มผู้เชี่ยวชาญไปยังผู้ใช้ที่ต้องการ ฝ่ายเชี่ยวชาญกระบวนการ ซึ่งทำหน้าที่เป็นโค้ชในองค์กร,และที่ปรึกษา

       กำหนดกลยุทธ์ ขององค์กร โดยการศึกษากลยุทธ์ขององค์กรว่ามีสาระสำคัญด้านใดบ้าง ดำเนินการวิเคราะห์โอกาสและที่จำเป็นต่อความสำเร็จขององค์กรทั้งทางด้านธุรกิจและงานปฏิบัติการ เลือกที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จขององค์กรสูงสุด เพื่อคัดเลือกมาดำเนินการเป็นโครงการนำร่อง

       ดำเนินการสำรวจระบบการจัดการที่มีอยู่แล้วในองค์กร เช่น ระบบฐานข้อมูล ระบบ IT เพื่อทำการต่อยอดโดยไม่ต้องเสียเวลาสร้างขึ้นมาใหม่

       สร้างโครงสร้างการจัดการในองค์กร การจัดการในองค์กรจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้นำองค์กร และผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน เพื่อสร้างแลกเปลี่ยน และใช้ให้เกิดประโยชน์ การเชื่อมโยงในองค์กรจำเป็นต้องสร้างระบบพื้นฐาน เช่น ระบบ IT และเครือข่ายรองรับ เครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับคนที่จะเข้ามาใช้ และแลกเปลี่ยน อาจใช้หลักการชุมชนนักปฏิบัติ ส่วนระบบโครงสร้าง IT จะช่วยเชื่อมโยงเครือข่ายและชุมชนเข้าด้วยกัน และจัดการระบบข้อมูล  เพื่อสนับสนุนกระบวนการจัดการในองค์กร ปัจจัยแห่งความสำเร็จไม่ใช่อยู่ที่กระบวนการจัดการที่ดี แต่อยู่ที่โครงสร้างการจัดการ วิธีบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management) การปลูกฝังวัฒนธรรม การเรียนรู้และแบ่งปันความรู้ โดยมีระบบการบริหารงานบุคคล คือ การประเมินผลและการให้รางวัล ทั้งในรูปแบบที่เป็นตัวเงิน และไม่เป็นตัวเงิน  อาจจะมีการโอนงานจากการบริหารงานโครงการสู่การบริหารงานแบบกระบวนการ โดยการจัดตั้งศูนย์กลางความรู้ขององค์กรดำเนินการจัดการในองค์กรต่อไป

       กำหนดเทคโนโลยีสนับสนุนการจัดการ ตั้งแต่การจัดเก็บ การจัดระบบ การสืบค้น และการค้นหาที่ต้องการใช้ประโยชน์ ดังนั้น ระบบ IT และเครือข่ายจึงมีสาระสำคัญในการสนับสนุนทั้งอยู่ในรูปแบบขององค์กร และของบุคคล และระบบสื่อสาร เช่น โทรศัพท์, เทเลคอนเฟอเร็นซ์, อีเมลและระบบรองรับการทำงานร่วมกัน

       กำหนดแผนปฏิบัติการหลัก เพื่อเป็นศูนย์กลางและเป็นวาระขององค์กรในการจัดการสร้าง  ให้เกิดขึ้นจริงในองค์กร สามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะหลักๆ คือ การบริหารโครงการ  และการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในองค์กร

       การติดตาม ควบคุม โดยธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลง การจัดการในองค์กรไม่มีวันจบสิ้น อย่างไรก็ตามการดำเนินการต้องมีการติดตามผลควบคุม จากตัวชี้วัดความสำเร็จ โดยเฉพาะโครงการนำร่อง ว่า  สามารถก่อให้เกิดประสิทธิผล (Effective ness) ประสิทธิภาพ (Efficiency) และผลิตผล (Productivity) ที่สูงขึ้นในองค์กรได้หรือไม่ และกระบวนการ  เกิดขึ้นจริงในองค์กรหรือไม่ เช่น อัตราการเติบโตของใหม่ในองค์กร การเข้ามาใช้ฐานข้อมูล การดำเนินงานในองค์กรมีอัตราการใช้งานอย่างไร        เมื่อบรรลุเป้าหมายจะมีการทบทวน กระบวนการทำงานทั้งหมด ทั้งในส่วนที่สำเร็จ และบทเรียนที่เกิดขึ้น เพื่อนำมาเป็นข้อมูลป้อนกลับ ปรับปรุงกระบวนการให้ดียิ่งขึ้นต่อไป        และสิ่งที่สำคัญ คือ การเริ่มลงมือปฏิบัติและสร้างสรรค์ให้เป็นจริง โดยมีความมุ่งมั่นที่จะร่วมมือร่วมใจกันฟันฝ่าอุปสรรคสู่ความสำเร็จให้จงได้

หมายเลขบันทึก: 345480เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2010 10:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 21:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท