ศิลปะการถามให้ได้ "คนตอบ"


Appreciative Inquiry

ความท้าทายอย่างหนึ่งของนักปฏิบัติ AI Practitioner ทั่วไปคือ “ถามคำถามถูก ซักเป็น แต่ก็ไม่ได้คำตอบที่ต้องการ” บางครั้งคนตอบก็บอกเรามาตรงๆ เลยว่า “เขาไม่รู้จะตอบคำถามนี้อย่างไร”   

ครับตามประการณ์ของพวกเรา เราพบว่า ผู้ตอบส่วนใหญ่มีประสบการณ์ด้านบวกทุกคนครับ แต่ประสบการณ์ของเขาอาจไปกันไม่ได้กับโจทย์ของเรา เช่นเมื่อปีที่แล้ว เราต้องการใช้ AI เพื่อนำสู่การวางแผนชุมชนแบบ Strength-based planning คือแต่เดิมเท่าที่เราไปสัมภาษณ์มาในระยะแรกๆ กับฝ่ายแผนของหน่วยงานปกครองระดับท้องถิ่นนั้น การวางแผนชุมชนจำนวนมากมักเป็นประเภท “ดิน น้ำ ลม ไฟ” คือสร้างถนน สร้างบ่อน้ำ และต้องใช้เงินครับ โจทย์ของเราคือ เราต้องการเห็นการวางแผนที่ใช้ความสามารถ ในความคิดสร้างสรรค์ ใช้จุดแข็ง พลังของชุมชน ซึ่งบางครั้งไม่ต้อง “ใช้เงิน” เกิดขึ้นควบคู่กับแผนที่ทำกันเป็นปรกติอยู่แล้วครับ

ครับการลงพื้นที่ที่เราไม่รู้จัก ในระยะเวลาไม่นานนี่โอกาสในการทำ AI แล้วไม่ได้อะไรที่สูงครับ เราจึงใช้เทคนิคการวิจัยทางคุณภาพตัวหนึ่งมาช่วยคือการสุ่มตัวอย่างแบบ Snow Ball Sampling ครับตัวนี้จะเป็นตัวช่วยให้เรามีโอกาสเข้าถึงคนที่มีประสบการณ์ตรงกับโจทย์ของเรา Snow Ball Sampling ทำง่ายๆครับ เมื่อเราต้องการดึงคนที่มีอิทธิพลพอที่จะนำชาวบ้านมาทำกิจกรรมที่ต้องการการมีส่วนร่วมสูง เราก็ถามคนในพื้นที่ดูว่ารู้จักใครที่สามารถรวมใจชาวบ้านได้ดีที่สุด ก็ได้มาสองคนคือเจ้าอาวาสกับมักคทายก แต่เจ้าอาวาสจะยังไม่ตรงที่เราต้องการคือ ท่านไม่ชวนตรงๆ คือท่านจะทำอะไรที่เป็นงานใหญ่ท่านจะลงไปทำก่อน ชาวบ้านเห็นก็จะทำและชวนคนอื่นมาช่วย ไม่ใช่ Spec ที่เราต้องการ  ในที่สุดเราก็เจอมัคทายก ครับที่รวมใจได้เร็วกว่า ได้คนมามีส่วนร่วมมากกว่า ท่านเคยเป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดหนึ่ง แต่สึกออกมา มีความรู้เรื่องพิธีการ ที่ไหนไม่ว่าเป็นบ้าน โรงเรียน หน่วยงานที่นั่นจะคุ้นเคยและใช้บริการด้านพิธีกรรมกับท่านมานานครับ ว่าไปท่านเป็นคนกว้างขวาง มี Connection ดีที่สุด และได้รับความนับถือจากชาวบ้านมากที่สุด คนหนึ่งของที่นั่นเลยครับ

ในที่สุดจากการคุยกันเราก็สามารถดึงมัคทายก มาช่วยกับตำบลในการเชิญชนชาวบ้านมามีส่วนร่วมได้ แถมยังได้รับคำแนะนำที่ดีว่าใช้กระดาษแผ่นใหญ่ๆ มาเขียนไม่ work หรอกต้องกระดาษเล็กๆแล้วขีดเส้นให้ ยังไม่พอสถานที่ที่จะทำอย่างนี้ที่ดีที่สุดอยู่ที่วัดของเจ้าอาวาสรูปแรก เพราะถ้าเอาไปแขวนไว้ที่อื่นจะถูกฉีกทิ้งหมดครับ

เรายังใช้เทคนิคนี้ค้นหากลุ่มอาชีพที่เติบโตจนเป็น Otop ได้ทั้งที่ไม่ได้งบประมาณของรัฐช่วย ปรากฏว่าเราไปถามว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร จุดเปลี่ยนคืออะไรก็ได้มาว่าพวกเขาทำกลุ่มอาชีพเล็กๆอยู่แล้ว มีวันหนึ่งไปงานแต่งงาน แล้วกลุ่มไปเจอกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายแผนของอบต. เลยขอคำปรึกษาเรื่องการทำแผนแบบง่ายๆ นี่เองครับเขาบอกการได้รับความช่วยเหลือด้านความรู้ง่ายๆนี่แหละ เป็นจุดเปลี่ยนของเขา นี่เลยครับตรงเป้า เป็นอะไรที่ไม่ใช้เงินชัดๆ ใช้แค่ความเชี่ยวชาญของคนอีกคนในชุมชนเท่านั้น

ครับการทำ AI แบบนี้เน้นที่การพุ่งเป้าไปให้ตรงตัว ตรงกลุ่มเลย แล้วถามจุดเปลี่ยน ผู้ทำต้องค่อยๆวางเป้า กำหนด Spec คน กลุ่มที่เราต้องการครับ แล้วเข้าไปหา ไปถามหาจุดเปลี่ยน จากนั้นดึงเขาเข้ามามีบทบาทเวลาวางแผนชุมชนเลยครับ

มีนิดหนึ่งครับ ตอนนั้นเราตีความกันใหม่ ปรกติเราจะเห็นปราชญ์ชาวบ้านเป็นเกษตรกร เป็นผู้นำภูมิปัญญาต่างๆ แต่เราตีความกันใหม่ครับ ว่าปราชญ์ คือผู้รู้ ผู้รู้ไม่จำเป็นต้องเป็นหมอพื้นบ้าน หรือเกษตรกรอย่างเดียว หากแต่อาจรู้และเชี่ยวชาญในมิติอื่นๆก็ได้ เราจึงได้ปราชญ์เพิ่มขึ้นเพียบจากมิติที่เราคุ้นๆกันอยู่ เช่นปราชญ์เลี้ยงลูกเก่ง ปราชญ์ด้านการขาย ปราชญ์ด้านการใช้ทรัพยากรแบบประหยัด ปราชญ์ด้านการเก็บเกี่ยว ปราชญ์ผู้นำกลุ่ม ครับยิ่งตีความมาก ค้นมาก ขยายนิยามมากขึ้นเท่าไร เราจะเจอคนเก่ง กลุ่มเก่งในมิติอื่นๆที่สำคัญต่อการขับเคลื่อนชุมชนแบบที่เรานึกไม่ถึงเลยครับ

คนที่ทำโครงการนี้ชื่อคุณกิฟท์ครับ ใครสนใจทราบรายละเอียด วิธีการตั้งแต่ต้นจนจบ เขียน email มาหาผมได้ครับ ผมจะเป็นสื่อกลางติดต่อให้ ส่วน case คุณ Gift อยู่ที่ www.aithailand.org เข้าไปในหมวด KM จะชื่อ Curriculum Development ครับ

คำสำคัญ (Tags): #appreciative inquiry
หมายเลขบันทึก: 345461เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2010 08:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

อ.โย หนูพยายามอยู่นะ สู้ๆ

สวัสดีครับ อ.โย

  • ผมยังอยู่ที่วังยาง นครพนม  กลับเย็นนี้ครับ
  • วันที่ 25 -26 มี.ค. เดินทางมาอีกทีพร้อมท่าน อ.ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
  • คงจะได้เดินทางมาวังยางที่นี่ต่อเนื่องหลายเที่ยว

ผมมาศึกษากระบวนการเรียนรู้การแก้ไขปัญหาหรือการดำเนินงานพัฒนาของขบวนชุมชนท้องถิ่น  เป็นการศึกษาท่ามกลางการปฏิบัติการจริงหรือการวิจัยเชิงปฏิบัติการนั่นเอง ประเด็นในการศึกษาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน คือ

  1. ประวัติศาสตร์และข้อมูลบริบทพื้นที่ของตำบลวังยาง
  2. พัฒนาการและความพยายามในการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมา
  3. แผนงานและแนวทางในการดำเนินงาน
  4. การสร้างการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาคนในขบวนการชุมชนท้องถิ่นของตำบลวังยางและการสื่อสารเคลื่อนไหวทางความรู้ให้คนทั้งมวลในตำบลมีส่วนร่วมในงานพัฒนา
  5. ความร่วมมือในการพัฒนาร่วมกันระหว่างขบวนองค์กรชุมชน(สภาองค์กรชุมชนตำบล)ท้องถิ่น(อบต.)ท้องที่(กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน)และความร่วมมือกับภาคีการพัฒนา

สำหรับแนวทางการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของสภาองค์กรชุมชนตำบลวังยางเท่าที่มีการปรึกษาหารือกันในเบื้องต้นพอจะสรุปได้ดังนี้

  1. การแก้ปัญหาที่ดินที่ทำกิน
  2. การพัฒนาระบบสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นให้มีบทบาทช่วยเหลือเกื้อกูลและแบ่งปันกันในชุมชน
  3. การฟื้นความเป็นตัวตนทางภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่น โดยการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ระดับอำเภอเชื่อมโยงศูนย์เรียนรู้ระดับหมู่บ้านหลากหลายกิจกรรม
  4. การฟื้นฟูอาชีพ วิถีการผลิตบนฐานการพึ่งพาตนเองให้ได้ ซึ่งรวมทั้งการจัดการแหล่งน้ำ  การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
  5. สนับสนุนการขับเคลื่อนการเมืองภาคพลเมืองให้มีความเข็มแข็ง
  6. การเสริมสร้างสุขภาวะชุมชน การสร้างความสุขร่วมกันของคนในชุมชน
  7. การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศชุมชน
  8. การสนับสนุนการเรียนรู้เพื่อสืบสานงานพัฒนาของเยาวชน
  9. การเชื่อมโยงเครือข่ายกลุ่มสตรีแต่ละหมู่บ้าน

 วิธีการดำเนินงานที่สำคัญคือ การประยุกต์ใช้AI ค้นหาประสบการณ์ที่ดีๆ  หาสิ่งเห็นร่วมกันว่ามัน Workแล้วนำมา ลปรร. ทดลองปฏิบัติการขยายผล  สรุปการเรียนรู้เป็นองค์ความรู้ สื่อสารสาธารณะต่อไปครับ

ประทับใจกับผู้คนที่นี่  มีมิตรไมตรี ประทับใจกับการได้ลปรร.ครับ

ขอบคุณครับ

คุณ Hanako งานเขียนของคุณโดดเด่นมากนะ

คุณสุเทพครับ ผมว่านี่เป้น Strenght-based planning ครับ น่าสนใจและน่าเอาเป็นตัวอย่างเมื่อทำจบแล้วครับ เห็นคุณเขียนเรื่อง ลปรล ผมจะเขียนต่อในตอนต่อไปครับ

Curriculum Development

เหมือนกับการพัฒนาด้วยวิธีมององค์ประกอบโดยรวมมั้ยคะ อาจารย์

jw

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท