องค์การแห่งการเรียนรู้


องค์การแห่งการเรียนมิได้เกิดขึ้นชั่วข้ามคืนหลังจากการเปลียนปรัชญาการบริหาร

องค์การแห่งการเรียนรู้แนวปฏิบัติ    (Learning organization)

 

ประชุม โพธิกุล

 

“ การเรียนรู้ท่ี่รวดเร็วกว่าคู่แข่งอาจเป็นประโยชน์ต่อการแข่งขันที่ยั่งยืน” อารี เดอ เกส

องค์การแห่งการเรียนรู้เป็นสิ่งหนึ่งที่ยอมรับว่าเป็นความปรารถนาของบุคคลเพื่อการเรียนรู้และความเจริญก้าวหน้า เพื่อเตรียมบุคลากรให้มีโอกาส เพื่อการขยายตัวขององค์การในอนาคต

หนังสือที่เป็นพื้นฐานความคิดคือ The Fifth Discipline ของ ปีเตอร์ เซงกี้ ได้วินิจฉัย หลัก 5ประการที่เป็นลักษณะขององค์การแห่งการเรียนรู้

   1.  ความคิดเชิงระบบ ช่วยให้เราเข้าใจรูปแบบและความเกี่ยวเนื่องของเหตุการณ์ต่างๆ

   2.  ความเชี่ยวชาญส่วนบุคคล คือความมุ่งม้่ันที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยตนเอง

   3.  รูปแบบความคิด การสร้างรูปแบบและวิสัยทัศน์ของโลกให้ถูกต้องมากขึ้นเป็นความเชื่อของบุคคลและกลุ่มที่กำหนดพฤติกรรมและการตัดสินใจ

   4.  การสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน การสร้างความมุ่งมั่นเพื่อดลใจให้ไปถึงวิสัยทัศน์

   5.  การเรียนรู้ของทีม การเรียนรู้ร่วมกันในหน่วยการเรียนรู้พื้นฐานขององค์การ

 

หลักการเหล่านี้แปลงมาเป็นแนวปฏิบัติที่สำคัญ3ประการซื่ง สามารถส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องในองค์การ

   1.  ความสามารถที่จะเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

   2.  ความสามารถที่จะเรียนรู้จากประสบการณ์ส่วนบุคคล

   3.  ความสามารถที่จะเรียนรู้จากระบบ (ความสำเร็จและความล้มเหลวขององค์การ )

มีตัวแปร 3ตัว ที่จะสนับสนุนหรือลดประสบการณ์การเรียนรู้

   1.  เงื่อนไขต่างๆ

   2.  กิจกรรม

   3.  ผลลัพธ์

 

เงื่อนไขต่างๆ

_องค์การแห่งการเรียนรู้มิได้เกิดขึ้นชั่วข้ามคืนหลังจากเปลี่ยนปรัชญาการบริหาร เป็นการใช้ความพยายามอย่างเป็นระบบในการพัฒนาอย่างกว้้างขวางในการปฏิบัติการด้านทรัพยากรมนุษย์

_การปฏิบัติการในการจ้างบุคลากรต้องทดสอบความถนัดทางการเรียนรู้ในอดีตและความกระตือรือร้นเกี่ยวกับการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

_การสนับสนุนการตัดสินใจต้องยอมรับการมีส่วนร่วมของผู้ดำเนินการเพื่อการเรียนรู้ของบุคคลและทีม

_กลยุทธ์การให้ค่าตอบแทนต้องให้รางวัลผู้เสาะแสวงหาทักษะใหม่ๆเป็นแรงจูงใจโดยตรงเพื่อการเรียนรู้ การปฏิบัติและผลลัพธ์

 _แฟ้มของผู้บริหารรวมถึงจุดมุ่งเน้นการสอนงานและความรับผิดชอบในการเป็นที่ปรึกษา

_การออกแบบและการแบ่งฝ่ายในองค์การต้องทบทวนให้แน่ใจว่าบุคลากรเข้าใจบทบาทและสนับสนุนความสำเร็จขององค์การ

_ระบบการวัดผลการปฏิบัติงานต้องวินิจฉัยโอกาสการเรียนรู้และผลที่ตั้งใจให้เกิดขึ้น

_แผนการธุรกิจและเป้าหมายขององค์การต้องรวมถึงการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและการแข่งขันกับคู่แข่ง

_การฝึกอบรมและการเรียนรายวิชาเป็นเครื่องมือที่รวมถึงโอกาสของการเรียนรู้ที่ไม่เป็นทางการและการเรียนรู้ของตนเองโดยตรง

 

กิจกรรม

มีกิจกรรมที่ไม่เป็นทางการมากมายซึ่งสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ตัวอย่างเช่น

_การให้้ข้อมูลย้อนกลับอย่างต่อเนื่องของสมาชิกทีมแต่ละคนผู้บริหารกับบุคลากร บุคลากรกับผู้บริหาร

_การสื่อสารแบบเปิด ฝึกฝนให้มีการให้คำแนะนำ

_โอกาสในการแลกเปลี่ยนผลลัพธ์ภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม

_มีการอภิปรายกันเป็นปรกติภายหลังเหตุการณ์ที่ทำได้ดี สิ่งที่ทำผิดพลาด สิ่งที่ทำได้ดี

_ใช้การทดลองเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้

_กำหนดและให้มีการศึกษาเปรียบระดับ สำหรับกระบวนการขององค์การสำคัญๆทั้งหมด

_กำหนดเป้าหมายของทีมและเป้าหมายส่วนบุคคล

_มั่นใจว่าบุคลากรทุกคนมีข้อมูลและเครื่องมือที่จะเพิ่มผลผลิต

_สนับสนุนให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการวัดผลและประเมินผลงาน

 

ผลลัพธ์

   วัดผลและรายงานผลลัพธ์ โดยตัวมันเองเป็นโอกาสการเรียนรู้เป็นพื้นฐาน เป็นการเพิ่มโอกาส ควรพิจารณาจากสิ่ง

เหล่านี็้

รายงานผลลัพธ์เป็นรายสัปดาห์อาจใช้อีเมล์หรือรายงานด้วยวาจาทันที

  _จัดให้มีการอภิปรายแบบมีส่วนร่วมอย่างปรกติกับผู้บริหารระดับสูงเพื่อวิเคราะห์ผลลัพธ์ส่งเสริมให้บุคลากรได้มีโอกาสซักถามอย่างเปิดเผย

 _บอกถึงผลลัพธ์ ในสิ่งแวดล้อมที่กำลังเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอก และเงื่อนไขต่างๆของโลกาภิวัตน์

 _ใช้แผนภูมิ และไดอะแกรมรายงานผลลัพธ์

 _ยอมรับความสำเร็จ ในการเป็นผู้สอนงานและเป็นที่ปรึกษาในที ่เปิดเผย

 _ออกแบบการเรียนรู้เพื่อเป็นตัวบ่งชี้ความสำเร็จของการเรียนรู้และวัดผลความก้าวหน้าปรกติ

 _สรุปข้อมูลย้อนกลับในเชิงข้อความสั้นๆและไม่เป็นทางการเกี่ยวกับผลที่ได้ที่เป็นทางการ

   องค์การแห่งการเรียนรู้เป็นองค์การที่ผู้นำยุคศตวรรษที่ 21จะต้องสร้างขึ้นในฐานะที่ท่านเป็นผู้กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ถ้าท่านไม่ได้พยายามที่จะทำ ก็เป็นการตกเกณฑ์่ทางสังคมของผู้บริหาร



หมายเลขบันทึก: 344591เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2010 21:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 เมษายน 2012 09:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เรียนท่านประชุม โพธิกุล

ผมอ่านผลงานท่านตั้งแต่สมัยอบรมผู้บริหาร ปี 34 เป็นต้นมา การบริหารความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์

ผลงานท่านยังเป็นประโยชน์กับการบริหารงานเสมอครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท