การจัดการความรู้ภาคปฏิบัติในชุมชน(1)เครื่องมือและกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน


ในโครงการมีการดำเนินการจัดการความรู้โดยเป็นการฝึกปฏิบัติใช้เครื่องมือการจัดการความรู้ต่างๆ ซึ่งโดยรวมแล้วผมเน้นที่การใช้กระบวนการสุนทรียปรัศนาสาธก(AI)เป็นหลัก

ตลอดช่วงครึ่งปีหลังปี 2552 และช่วง 3 เดือนแรกของปี 2553  ผมดำเนินการทดลองประยุกต์ใช้การจัดการความรู้ในชุมชนในลักษณะที่เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการหรือการวิจัยและพัฒนา  วิจัยไปพร้อมกับการเรียนรู้ร่วมกันกับชุมชนอย่างต่อเนื่องในหัวข้อ “การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำการเสริมสร้างความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่น”ของสมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านเลือก อ.โพธาราม จ.ราชบุรี โครงการนี้มีท่าน อ.ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรมให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่องและท่านเองก็ได้ลงพื้นที่ร่วมเรียนรู้กับชุมชนอยู่หลายครั้ง  ในโครงการมีการดำเนินการจัดการความรู้โดยเป็นการฝึกปฏิบัติใช้เครื่องมือการจัดการความรู้ต่างๆไปพร้อมๆกับงานพัฒนาความสุขมวลรวม ก่อนจะดำเนินงานขยายผลกับพื้นที่อื่นๆ ซึ่งโดยรวมแล้วเครื่องมือที่ผมเน้นเป็นเครื่องมือหลักคือกระบวนการสุนทรียปรัศนาสาธก(AI)ครับ   ประสบการณ์การจัดเวทีแต่ละครั้งผมจะนำเสนอในโอกาสต่อไป

เครื่องมือการจัดการความรู้ต่างๆที่มีการฝึกปฏิบัติใช้ในชุมชนมีดังนี้ครับ

การเรียนรู้ก่อนการดำเนินการโครงการจัดการความรู้

  • การจัดเวทีการเรียนรู้ โดยเครื่องมือการปรึกษาหารือกับที่ปรึกษา(Mentoring System)และเพื่อนช่วยเพื่อน(Peer Assist)วันที่26 พ.ค. 2552  เวลา 09.00 น. – 16.00 น. ณ วัดพระศรีอารย์ ต.บ้านเลือก อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

กระบวนการจัดการความรู้ระหว่างดำเนินงานโครงการจัดการความรู้

  •  ครั้งที่ 1 การจัดกระบวนการทางความรู้และการเรียนรู้โดยเครื่องมือกระบวนการสุนทรียสนทนา(Dialouge) วันที่12 ธ.ค. 2552  เวลา 09.00 น. – 16.00 น. ณ วัดโบสถ์ ต.บ้านเลือก อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
  • ครั้งที่ 2 การจัดกระบวนการทางความรู้และการเรียนรู้โดยเครื่องมือการถอดองค์ความรู้วันที่ 13 ม.ค. 2553  เวลา 09.00 น. – 16.00 น.  ณ วัดโบสถ์  ต.บ้านเลือก อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
  • ครั้งที่ 3 การจัดกระบวนการทางความรู้และการเรียนรู้โดยเครื่องมือการปรึกษาหารือกับที่ปรึกษา(Mentoring System)และเพื่อนช่วยเพื่อน(Peer Assist) วันที่24 ม.ค. 2553  เวลา 09.00 น. – 13.00 น. ณ วัดโบสถ์   ต.บ้านเลือก อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
  • ครั้งที่ 4 การจัดกระบวนการทางความรู้และการเรียนรู้โดยเครื่องมือการนำเสนอความรู้เพื่อการเคลื่อนไหวองค์ความรู้ด้วยสื่อการเรียนรู้และสื่อเพื่อเคลื่อนไหวทางสังคม วันที่29 ม.ค. 2553  เวลา 09.00 น. – 13.00 น. ณ ลานศาลปู่ตาบ้าน บ้านขนุน หมู่ที่ 3 ต.บ้านเลือก อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
  • ครั้งที่ 5 การจัดกระบวนการทางความรู้และการเรียนรู้โดยเครื่องมือการทบทวนหลังการปฏิบัติ(AAR) วันที่29 ม.ค. 2553  เวลา 14.00 น. – 16.30 น. ณ ลานศาลปู่ตาบ้าน บ้านขนุน หมู่ที่ 3 ต.บ้านเลือก อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
  • ครั้งที่ 6 การจัดกระบวนการทางความรู้และการเรียนรู้โดยเครื่องมือสุนทรียปรัศนาสาธก วันที่21 ก.พ. 2553  เวลา 09.00 น. – 16.30 น. ณ ศาลาการเปรียญวัดโบสถ์ ต.บ้านเลือก อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 กระบวนการจัดการความรู้ภายหลังดำเนินงานโครงการจัดการความรู้

  • ครั้งที่ 1  การทบทวนหลังการปฏิบัติโดยภาพรวมของโครงการ(AAR)หรืออาจจะเรียกอีกอย่างว่า "การประชุมทบทวนงาน"(Retrospact) ในวันที่ 6 มี.ค. 2553  เวลา 09.00 น. – 13.00 น. ณ วัดโบสถ์   ต.บ้านเลือก อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
  • ครั้งที่ 2  การนำเสนอความรู้เพื่อการเคลื่อนไหวองค์ความรู้ด้วยสื่อการเรียนรู้และสื่อเพื่อเคลื่อนไหวทางสังคม เพื่อการขยายผลกับขบวนชุมชุมชนในพื้นที่ 14 ตำบลของ 7 จังหวัดภาคตะวันตกในวันที่ 22 มี.ค. 2553 ณ วัดโบสถ์  ต.บ้านเลือก และชุมชน 8 ชุมชนของตำบลบ้านเลือก อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ประสบการณ์และผลการจัดเวทีแต่ละครั้งผมจะนำเสนอในโอกาสต่อไปครับ 

 

หมายเลขบันทึก: 344050เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2010 17:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะ...มาสนับสนุน "ความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่น"

  • สังคมบริโภคนิยมผลักดันให้โลกในวันนี้หมุนเร็วขึ้นนะคะ
  • ขอบคุณความดีงามบนแผ่นดินนี้

โอโหพี่สุเทพ งานเต็มเลยครับ เด็กน้อยเป็นอย่างไรบ้างหายเงียบไป รออ่านต่อนะครับ...

ดีครับ คุณสุเทพ ขอให้ประสบความสำเร็จนะครับ เป็นอะไรที่ผสมผสานกันดีครับ

ขอบคุณความดีงามบนแผ่นดินนี้

  • ขอบคุณครับครูจอมใจP
  • วันที่17-19 มี.ค.53และ 24-25 มี.ค.53 ผมเดินทางไปย่านภูมินิเวศวัฒนธรรม "ภูพาน"เพียงแต่คนละฝั่ง
  • ยินดีที่รู้จักครับ

ขอบคุณครับอ.ดร.P

  • เด็กๆปิดเทอมครับ
  • ผมกำลังฝึกฝนตัวเองด้านงานวิจัยครับ แต่เป็นวิจัยปฏิบัติการ
  • ปรับเปลี่ยนบทบาทจากงานปฏิบัติการเชิงพื้นที่มาเป็นงานทางวิชาการ คงต้องใช้เวลาปรับตัว
  • ต้องการสนามฝึกให้มีชั่วโมงบิน  รวมทั้งกำลังใจด้วยครับ
  • ขอบคุณครับ

ขอบคุณครับ อ.ดร.ภิญโญP

  • ผมเรียนรู้และฝึกฝนครับ
  • แนวความคิดKMหลัก มาจากAIบวกเรื่องเล่าเร้าพลัง ผมเลยเรียก "สุนทรียปรัศนาสาธก"ครับ
  • ผสมผสานกับModel การจัดการความรู้ Learning  To  Fly (เรียนรู้ก่อน เรียนรู้ระหว่างและเรียนรู้หลัง)ของ Chris Collison and Geoff Parcell
  • ภายหลังการทดลองขยายผล 14 ตำบลน่าจะทำให้ การขับเคลื่อนความสุขมวลรวมโดย AI&KM เป็นเครื่องมือมีความชัดเจนขึ้นครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท