Praepattra
ผู้ช่วยศาตราจารย์ Praepattra Kiaochaoum

ขอเชิญปฏิบัติธรรมโครงการพระครูปลัดวีระนนท์ วีรนนฺโท


ไปปฎิบัติธรรมด้วยกันไหมค่ะ

ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยฯ  จัดโครงการปฏิบัติธรรมในหลักสูตร : พระครูปลัดวีระนนท์ วีระนันโท มี 2 รอบ ใน 1 ปี ค่ะ

http://www.veeranon.com/

รอบที่ 1 ยุวพุทธศูนย์ 1

 

ระหว่างวันที่ 17-24 มี.ค. 2553

(คนสมัคร ยังไม่เต็มนะคะ)

 

รอบที่ 2 ยุวพุทธศูนย์ 2 คลอง 3 ปทุมธานี

 

ระหว่างวันที่ 19 - 26 พ.ค. 2553 

(กำลังเปิดรับสมัครนะคะ)

 

                ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยฯ http://www.ybat.org/index2.htm ตระหนักในคุณค่าของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ที่สามารถลดอวิชชาและกิเลส อันเป็นเหตุแท้จริงของความทุกข์ได้ ผู้ปฏิบัติเมื่อได้ประจักษ์ด้วยตนเองว่าได้ทั้งปัญญาและความสุข ก็เกิดศรัทธาที่จะขยายผลแห่งการปฏิบัติให้กว้างไกลออกไปถึงบุคคลอื่นด้วย ยุวพุทธิกสมาคมแห่ง-ประเทศไทยฯ จึงถือเอา  การฝึกอบรมวิปัสสนากรรมฐานเป็นกิจกรรมสำคัญของสมาคมตลอดมา

                ด้วยปณิธานดังกล่าวข้างต้นนี้ และเพื่อเป็นการฝึกฝนประสบการณ์ในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแก่ผู้มีศรัทธาในการปฏิบัติธรรมเพื่อพัฒนาตนเอง ยุวพุทธิกสมาคมฯ  จึงได้นิมนต์  พระครูปลัดวีระนนท์  วีระนันโท   จากวัดป่าเจริญราช  จ.ปทุมธานี มาสอนวิปัสสนาในแนวสติปัฎฐาน ๔ (พอง-ยุบ)

                การสอนของท่านอาจารย์ เหมาะแก่ผู้ที่เปี่ยมด้วยความศรัทธาในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เพราะการปฏิบัติแม้จะใช้ห้องปฏิบัติธรรม  แต่ผู้ปฏิบัติจะต้องเดินจงกรม นั่งสมาธิ  และกำหนดอริยาบถย่อยด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดแก่ตนเอง

 

รอบที่ 2 ณ ยุวพุทธศูนย์ 2 คลอง 3 ปทุมธานี

  

วันที่เข้าร่วมโครงการ :   19 - 26 พ.ค. 2553

วันที่ยืนยันการเข้าร่วมโครงการ :   19 เม.ย.- 3 พ.ค.53

เวลาลงทะเบียน :   07.30-09.30 น. 

รายละเอียด :   ผู้เคยปฏิบัติวิปัสสนามาแล้ว

รับสมัครจำนวน :   72  คน

เริ่มสมัครได้ตั้งแต่วันนี้  จนกว่าจะเต็มค่ะ 

 

สามารถสมัครปฏิบัติธรรมกับยุวพุทธิกสมาคมผ่าน Website ได้ที่นี่ค่ะ

รับสมัครปฏิบัติธรรมของยุวพุทธิกสมาคม

http://www.ybat.org/apply/index.asp

 

คุณสมบัติของผู้สมัคร

 

๑.  พุทธศาสนิกชน ชาย – หญิง  อายุตั้งแต่  ๑๘ ปี บริบูรณ์ ขึ้นไป

๒.  เคยปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแนวสติปัฏฐาน ๔ มาแล้ว

๓. เป็นผู้มีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัวอันก่อให้เกิดอุปสรรคในการปฏิบัติ

๔. มีสุขภาพจิตปกติ  ไม่เป็นโรคประสาท โรคจิต

๕. ไม่ติดสิ่งเสพติดทุกชนิด

๖. สามารถรักษาศีล ๘ และปฏิบัติตามกฎ ระเบียบของโครงการ

ระเบียบในการปฏิบัติ

๑.  สามารถอยู่ปฏิบัติได้ตลอดหลักสูตร

๒.  รักษาศีล ๘ อย่างเคร่งครัด (ไม่ควรดื่มนมสด  นมเปรี้ยว  นมถั่วเหลืองทุกชนิด หรือดื่มเครื่องดื่มผสมนม

       หรือคอฟฟี่เมท  หลังเวลา  ๑๒.๐๐ น.)

๓.  พึงเจริญสติ กำหนดรู้อาการของกาย ใจ อย่างมั่นคงและต่อเนื่อง แม้ในเวลาพักผ่อน

๔.  ไปสอบอารมณ์ตามเวลาที่กำหนดอย่างเคร่งครัด

๕.  งดเว้นการพูดคุยตลอดเวลาที่กำหนดในหลักสูตร ยกเว้นพูดกับวิปัสสนาจารย์หรือผู้ประสานงานโครงการเท่านั้น

๖.  งดเว้นการเขียน การอ่าน การฟังวิทยุเทป งดใช้เครื่องมือสื่อสารทุกชนิด

๗.  งดพบผู้มาเยี่ยม โดยมิได้รับอนุญาตจากวิปัสสนาจารย์ หรือผู้ประสานงาน

๘.  งดสูบบุหรี่

๙.  หากมีความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ให้ปรึกษาวิปัสสนาจารย์หรือผู้ประสานงานโครงการเท่านั้น

๑๐.ปฏิบัติตามระเบียบในการปฏิบัติ และระเบียบของศูนย์วิปัสสนาฯ อย่างเคร่งคัด

ผู้ที่ไม่สามารถปฏิบัติตามระเบียบในการปฏิบัติของหลักสูตรได้ จะยินยอมออกจากการปฏิบัติโดยไม่มีข้อโต้แย้ง 

 

การเตรียมตัว เตรียมใจ

๑. วางความรู้เดิมทั้งหมด และทำตนประหนึ่งว่าท่านเป็นนักเรียน ที่เพิ่งเริ่มการเรียนรู้

๒. วางภารกิจทั้งหลาย ตัดความกังวลในทุก ๆ เรื่อง

๓. วาง ยศศักดิ์ ฐานะ ตำแหน่ง ทั้งหมด

๔. ตั้งใจปฏิบัติตามระเบียบในการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

 

การเตรียมของใช้

๑. เตรียมเสื้อผ้าให้พอใช้ตลอดระยะเวลาที่กำหนดในโครงการ ไม่มีการซักรีดในระหว่างโครงการ
๒. เตรียมของใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน หวี ผ้าเช็ดตัว ยาประจำตัว นาฬิการปลุก ไฟฉาย

 

การแต่งกาย

เพื่อแสดงความเคารพต่อ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และต่อสถานที่  ผู้ปฏิบัติพึงแต่งกายดังนี้

๑. สุภาพบุรุษ

    - สวมเสื้อผ้าชุดสีขาว และกางเกงขายาวเท่านั้น

๒. สุภาพสตรี

- สวมเสื้อผ้าชุดสีขาว   ผ้าถุงหรือกระโปรงยาวเหนือข้อเท้า
- สวมชุดชาว ผ้าถุงและห่มสไบ ระหว่างเข้าฟังพระธรรมเทศนาและเข้าสอบอารมณ์

- ไม่สวมเสื้อผ้ารัดรูป เสื้อไม่มีแขน เสื้อบาง หรือเสื้อคอกว้าง 

สุภาพบุรุษและสุภาพสตรีไม่สวมชุดนอน เสื้อผ้าสีฉูดฉาด  มีลวดลายและมีตัวหนังสือบนเสื้อ  ออกนอกห้องพัก

 

กำหนดการวันเปิดการอบรม

๐๘.๓๐  น.   ลงทะเบียน เข้าที่พัก

๐๙.๐๐  น.   ปฐมนิเทศการปฏิบัติโดยพระวิปัสสนาจารย์

๑๒.๐๐ น.    รับประทานอาหารกลางวัน

๑๓.๐๐ น.    พิธีสมาทานกรรมฐาน

                    เริ่มปฏิบัติ


กำหนดการวันปิดการอบรม

๐๔.๐๐ - ๐๔.๓๐ น.  ตื่นนอน  สรีระกิจ

๐๔.๓๐ - ๐๖.๐๐ น.  ปฏิบัติ

๐๖.๓๐ - ๐๗.๔๕ น.  รับประทานอาหารเช้า

๐๗.๔๕ น.                 พร้อมกันที่ห้องปฏิบัติ

                                   ตอบแบบประเมินผล

๐๙.๐๐–๑๑.๐๐ น.  ไขปัญหาธรรมและให้โอวาท

                                สมาทานศีล  ๕

                               ถวายปัจจัยไทยธรรม

๑๑.๐๐ น.               รับประทานอาหารกลางวัน

                               เดินทางกลับบ้าน


กำหนดการประจำวัน


๐๔.๐๐  น.                ตื่นนอน  สรีระกิจ

๐๔.๓๐  น.             โยคีทุกคนทำความเพียร  ณ  ห้องปฏิบัติธรรม

๐๖.๓๐ น.               รับประทานอาหารเช้า

๐๗.๓๐–๑๑.๐๐ น. เดินจงกรม-นั่งสมาธิ ณ ห้องปฏิบัติธรรม

๑๑.๐๐–๑๒.๐๐ น.  รับประทานอาหารกลางวัน

๑๒.๐๐–๑๓.๐๐ น.  พักผ่อน

๑๓.๐๐–๑๔.๐๐ น.  เดินจงกรม-นั่งสมาธิ  ณ ห้องปฏิบัติธรรม

๑๔.๐๐–๑๕.๐๐  น.  ตอบปัญหาไขข้อใจ

๑๕.๐๐–๑๗.๐๐ น.   เดินจงกรม-นั่งสมาธิ  ณ ห้องปฏิบัติธรรม

๑๗.๐๐–๑๙.๓๐ น.   ดื่มน้ำปานะ/สรีระกิจ

๑๙.๓๐–๒๐.๓๐ น.  พระธรรมเทศนา

๒๐.๓๐–๒๒.๐๐ น.  เดินจงกรม-นั่งสมาธิ  ณ ห้องปฏิบัติธรรม

๒๒.๐๐ น.                 เจริญสติจนกระทั่งหลับไป

 

เพื่อนๆท่านใดสนใจ  ติดต่อสมัครเข้าร่วมโครงการปฏิบัติธรรมได้เลยค่ะ  ที่นี่

 

ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
ศูนย์ ๑ สำนักงานใหญ่ เพชรเกษม ๕๔
เลขที่ ๔ ซ.เพชรเกษม ๕๔ แยก ๖ แขวงบางด้วน
เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ ๑๐๑๖๐
โทรศัพท์ ๐-๒๔๕๕-๒๕๒๕ โทรสาร ๐-๒๔๑๓-๓๑๓๑
อีเมล์ [email protected]

 

ติดต่อ

ยุวพุทธฯ ศูนย์ 1 โทร. 02-455-2525

ยุวพุทธฯ ศูนย์ 2 โทร. 02-986-6403-5

http://www.ybat.org/contact_us.htm

 

 

 ขอให้เจริญในธรรมนะคะ

 

บุญรักษา  ธรรมคุ้มครองค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 343515เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2010 14:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 19:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

พอดีเมื่อวานอ่านเจอข่าวที่น่าสนใจเกี่ยวกับการทำสมาธิซึ่งส่งผลต่อระบบการทำงานของสมองซึ่งวิจัยโดย ริชาร์ด เดวิดสัน (Richard Davidson) ผู้อำนวยการThe Center for Investigating Healthy Minds ในฐานะนักวิทยาศาสตร์ด้านประสาทชีววิทยา (neuroscientist) กำลังศึกษาเรื่อง สมาธิกับการเพิ่มพูนความคิดเชิงบวกของเซลล์สมอง เลยส่งมาให้คุณแพร

Banpot Khathaisong

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1268368111&catid=02

ขอบคุณค่ะพี่พต

ได้ตามไปอ่านแล้วค่ะ

#########################

ขณะนี้ ดาไล ลามะ ยังปฏิบัติภารกิจเผยแผ่คำสอน และธรรมะอยู่ในแดนอินทรีย์ ทั้งมีกำหนดจะมาเยี่ยมเยือนเมืองเมดิสัน รัฐวิสคอนซิน ในวันที่ 15-16 พฤษภาคมนี้ โดย The Center for Investigating Healthy Minds แห่งมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เป็นเจ้าภาพเชื้อเชิญ เพื่อมาพบปะกับผู้คนที่สนใจ มีนัดหมายกันที่ เวสแมน เซ็นเตอร์

การมาเยือนของ ดาไล ลามะ องค์ที่ 14 นั้น ริชาร์ด เดวิดสัน (Richard Davidson) ผู้อำนวยการThe Center for Investigating Healthy Minds ในฐานะนักวิทยาศาสตร์ด้านประสาทชีววิทยา (neuroscientist) กำลังศึกษาเรื่อง สมาธิกับการเพิ่มพูนความคิดเชิงบวกของเซลล์สมอง กล่าวถึงดาไล ลามะ ไว้ในเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน (http://www.news.wisc.edu/17757) ว่า มหาวิทยาล้ยฯ จัดตั้งศูนย์ทดสอบสุขภาพจิตใจ (CIHM) ขั้น เพื่อพัฒนาวิธีการตรวจสอบคุณภาพด้านจิตใจด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้่ ปลูกฝังและยกระดับจิตใจของผู้คน ซึ้งต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ มากมาย

ทั้งนี้ เดวิดสัน ทำงานวิจัยเกี่ยวกับการทดสอบผู้คนที่ทำ "สมาธิ" ซึ่งปรากฎผลออกมาส่วนหนึ่งแล้วว่า คนกลุ่มนี้มีการการเปลี่ยนแปลงของเซลล์สมอง นำไปสู่การคิดเชิงบวก และมีความสุขขึ้น และพบว่าเป็นกลุ่มคนที่เห็นอกเห็นใจ มีความเมตตาต่อผู้อื่น จนเขาคิดว่า ถ้าสามารถขยายงานวิจัยนี้ออกไปในวงกว้าง จะสร้างผลดีให้กับสังคม

 

หากว่าไปแล้วเรื่องของ "สมาธิ" นั้น คนในศาสตร์พุทธศาสนารู้กันมานานแล้วว่า พระพุทธเจ้าตรัสไว้เป็นพระสูตรในการรักษาโรค เช่น โพชฌงค์เจ็ด ก็เริ่มด้วยสติ ซึ่งก็คือสติปัฏฐานสี่ มีพลังในการบำบัด ฟื้นฟูร่างกาย ด้วยมีข้อพิสูจน์ทั้งในและต่างประเทศ เพียงแต่ว่า คนจำนวนมากเข้าใจว่า สมาธิเป็นเรื่องยากที่จะปฏิบัติ

และในครั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์ตะวันตก ต้องการค้นหาว่า สมาธิ เชื่อมโยงหรือผสมผสาน ให้มีผลต่อเซลล์ในม้ันสมองของมนุษย์ออกมาเป็นรูปธรรมได้อย่างไร?

เดวิดสัน เล่าว่า เขามีโอกาสได้พบกับดาไล ลามะ เมื่อปี 1992 มีโอกาสสนทนากัน และก็พบความท้าทายจากการพูดคุยครั้งนั้นว่า "ผมสามารถหาเครื่องมือด้านวิทยาศาสตร์ จากตะวันตก มาศึกษาดูความกลัว ความสะเทือนใจของผู้คน เพื่อหาทางขจัดมันได้หรือไม่ และนั้นทำให้ศูนย์ ทดสอบสุขภาพจิตใจ (CIHM) ถูกตั้งโจทย์กลับมาอย่างท้าทาย เพือจะกลายเป็นเป้าหมาย ให้ศูนย์ฯนี้ เป็นสถาบันชั้นนำของโลกสำหรับการวิจัยรูปแบบดังกล่าว ซึ่งเรามีศาสตราจารย์แถวหน้าด้านจิตวิทยา และจิตเวช รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านจินตนาการและพฤติกรรม ทำงานวิจัยอยู่ที่เวสแมน แล็บบอราทอรี่ ให้การสนับสนุนกันอย่างแข็งขัน"

ก่อนหน้านี้ ดาไล ลามะ เคยมาเยือนแล็ปดังกล่าว เมื่อปี 2001 ครั้งนั้นยังได้แลกเปลี่ยน และพอกพูนความรู้ร่วมกันกับนักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ พบเพิ่มเติมอีกว่า ประเพณี วัฒนธรรมของชนแต่ละชาติ เชื่อมโยงกับประสาทชีววิทยา ซึ่งเกิดการเรียนรู้และนำไปสู่การใช้ชีวิต

ศูนย์ฯนี้ได้รวมการวิจัยพฤติกรรม และประสาทชีววิทยาขั้นพื้นฐาน เป็นการวิจัย่ที่จำเป็นในวันข้างหน้า เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์ และขยายงานของแล็ปให้กว้างออกไปก สู่โรงเรียน โรงพยาบาล และชุมชน ที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงในสังคม

นั่นหมายถึง การผสมผสานความหลากหลายของศาสตร์ เพื่อการศึกษา ไม่เฉพาะเจาะจงเพียงนักวิทยาศาสตร์ แต่ยังรวมไปถึง นักวิชาการด้านมนุษยศาสตร์ นักศึกษาศาสตร์ ผู้คนในแวดดวงการแพทย์ สาธารณสุข และผู้คนในแวดวงศาสนา ที่จะร่วมกันศึกษาคุณภาพของ "สุขภาพจิตใจ"

"เราพบว่ามีหลากหลายวิธีการที่จะสร้างเสริมสุขภาพจิตใจให้ดี และจะทุ่มเทศึกษาความหลากหลายครั้งนี้ ซึงถือเป็นภารกิจของศูนย์ฯ ในการทำวิจัย กระนั้น สิ่งสำคัญที่ต้องค้นหาและ ตรวจสอบข้อเท็จจริงให้ได้ด้วยเช่นกัน นั่นคือ อะไรบ้างที่เรียกว่า สุขภาพใจที่มีคุณภาพที่ดี"

เพราะหากบรรดาผู้มีมันสมองจากหลากแวดวงวิชาชีพ สามารถหาคำตอบนี้ได้เ แม้เวลานี้ยังเป็น "ความหวัง" แต่ความฝันเป็นจริงได้

######################

คุณแพรครับ ทุกคนล้วนมีเหตุผลและเป้าหมายของตัวเอง ผมเพิ่งกลับมาจากต่างจังหวัด ในฐานะเพื่อน ผมอยากจะอธิบายพูดคุยบางอย่างกับคุณแพรทางเมล ได้ไหมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท