วัชรินทร์ เขจรวงศ์
นาย วัชรินทร์ เขจรวงศ์ วัชร์ เขจรวงศ์

น้ำแห้งเรือแพเกยตื้นกว่า1,000ลำที่ฝั่งลำน้ำชีร้อยเอ็ด


รัฐบาล/เกษตรกร/ชาวนา/ประมงพื้นบ้าน

น้ำแห้งเรือแพเกยตื้นกว่า1,000ลำที่ฝั่งลำน้ำชีร้อยเอ็ด

 

 

วันนี้( 9 กุมภาพันธ์ 2553)นายสมศักดิ์  ทูลธรรม ผู้ใหญ่บ้าน ม.9 บ้านอีโก่ม ต.เทอดไทย อ.ทุ่งเขาหลวง จ.ร้อยเอ็ด  กล่าวว่า  ความแห้งแล้งที่หนักกว่าทุกปีที่ผ่านมา ในพื้นที่ริมฝั่งลำน้ำชี ลำน้ำสาขาแห้งขอดเพราะชาวนา เร่งสูบน้ำทำนาปรัง มากกว่าทุกปีกว่า 2 เท่า คือไม่ต่ำกว่า 250,000 ไร่ น้ำถูกสูบนำมาใช้จนหมด มีผลกระทบต่อสิ่งที่มีชีวิตในน้ำ อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน พื้นที่ริมฝั่งลำน้ำชี ทอดยาวเฉพาะในตำบลบึงงาม ตำบลเทิดไทยประมาณ 20 กิโลเมตร

ลำน้ำสาขา ตั้งแต่ห้วยน้ำเค็ม ประตูระบายน้ำบ้านมะแว ประตูระบายน้ำกุดแขแซ ประตูระบายน้ำห้วยดางเดียว ตลอดระยะเวลา 10-12 ปีที่ผ่านมาน้ำท่วมหนักประชาชนต้องขึ้นมาอาศัยพนังกั้นน้ำ เป็นเวลา 2-3 เดือน ปีนี้น้ำแล้งมากที่สุด แพหาปลา “ยกยอ” หรือสะดุ้งใหญ่ ตามภาษภาคอีสาน เป็นแหล่งทำมาหากินของประมงพื้นบ้านภาคอีสาน ริมฝั่งลำน้ำ บางครอบครัว มี 2-3 แพ ประกอบอาชีพจับปลาตลอดทั้งปี มีครอบครัวอยู่ในเรือ

นายสมศักดิ์  กล่าวว่า บ้านอีโก่ม ม.9 มีผู้ประกอบแพปลาประมาณ 60-70 ครัวเรือนประมาณ 100 แพ  จาก 150 ครัวเรือน พื้นที่บริเวณบ้านอีโก่ม รอยต่ออำเภออาจสามารถ และฝั่งลำน้ำชีตรงข้ามคือ อำเภอเสลภูมิ โดยเฉพาะลำน้ำห้วยยางเฌอ รอยต่ออำเภอาจสามารถ แพหาปลายกยอ หรือสะดุ้งใหญ่ประมาณ 700-800 ลำ

ช่วงปลายลำน้ำลงสู่ลำน้ำชี และในลำน้ำชีอำจำนวนมาก  ในกุดแขแซ ประตูระบายน้ำบ้านมะแว รวมทั้งหมดกว่า 1,000 ลำ การประกอบให้เป็นแพ โดยการใช้ไม้ไผ่เป็นส่วนประกอบหลัก เชือก ตะปู ถัง 200 ลิตร หรือถังพลาสติก 60 ลิตร ส่วนท้ายกว้างทำเป็นกระท่อมน้อนพักผ่อน ด้านหน้ามีขาสะดุ้ง หรือขาสำหรับติดยอขนาดใหญ่พร้อมที่ดักปลาด้านล่าง ใช้เป็นลูกถ่วง หรือกำปั่นสำหรับยกยอขึ้นมา หากฤดูนำหลากปลาชุกชุมยกยอทุก 5-10 นาที ปลาเต็มตุ้ม หรือไดปลามากจะพายเรือออกไปเก็บปลา เพื่อจำหน่าย ที่ท่าน้ำด้านหน้า ได้วันละ 2,000-5,000 บาท ในฤดูฝน หน้าแล้งได้ปลาบ้าง วันละ 20-30 กิโลกรัม ขายได้ 1,000-2,000 บาท เป็นรายได้ตลอดทั้งปี ของชาวประมงพื้นบ้าน ปี 2553 ระดับน้ำแห้งแล้งมากกว่าทุกปีที่ผ่านมา เป็นปลาจากน้ำธรรมชาติ

โดยเฉพาะ ห้วยดางเดียว รอยต่อระหว่างตำบลบึงงาม ตำบลเทอดไทย  เรือแพหาปลาแบบยกยอต้อเกยตื้นกว่า 100 ลำ และที่กำลังรอการเกยตื้นอีกจำนวนมาก สร้างความเสียหายให้กับอาชีพการประมง ขาดรายได้ เรือแพเสียหายเพราะปลวกเข้าไปทำลาย ต้องหาไม้ไผมาต่อเรือแพใหม่ ลำละ 7,000-10,000 บาท  นอกจากั้น เรือแพที่ลำห้วยยางเฌอ อำเภออาจสามารถ เกยตื้นอีกกว่า 500 ลำ ความแห้งแล้งทำให้การประมงพื้นบ้าน เสียหายอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน

นายแสง  ทูลธรรม ราษฎรบ้านอีโก่ม ม.9 ต.เทอดไทย อ.ทุ่งเขาหลวง กล่าวว่า ตนเองประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน โดยทำแพยกยอ หรือ “สะดุ้ง” ใหญ่ เรียกว่าใช้ชีวิตในเรือนแพตลอดปี  ทั้งฤดูฝน ฤดูแล้ง จับปลาขาย สร้างรายได้ แพ 1 ลำสามารถทำมาหากินได้ กว่า 10 ปี หากชำรุดซ่อมแซมไปเรื่อยๆลงทุนเพียงเล็กน้อย แต่ครั้งนี้เป็นการเกยตื้น ปลวกเข้าทำลายเสียหายทั้งลำ ตนเองขาดรายได้ลูกกำลังเรียนหนังสือ  ต้องหาเงินทุนมาสร้างแพใหม่กว่า 15,000-20,000 บาท

ชาวประมงพื้นบ้าน หลายคนบอกว่า ปกติแล้ว พื้นที่บริเวณนี้น้ำท่วมหนักติดต่อกันมา 11 ปี แต่ปีนี้แห้งแล้งหนักมากเพราะการทำนาปรังชาวนาใช้น้ำมากกว่าทุกปีที่ผ่านมา ไม่ทราบว่าจะมีปลาให้จับอีกหรือไม่เพราะน้ำแห้งหมดจริงๆ “น้ำมาจับปลาขาย น้ำหายทำนาปรัง” สโลแกนนี้ใช้ไม่ได้ครับ เป็นความเดือดร้อนอย่างต่อเนื่องของประชาชน ในพื้นที่ต่อจากห้วยดางเดียว ที่ไหลลงสู่ลำน้ำชี

นายสมศักดิ์  ทูลธรรม  กล่าวว่า หลายคนเห็นข่าวว่า แพปลาเกยตื้นกว่า 100 ลำ ไม่เชื่อว่าจะมีมากถึงขนาดนั้น ความเป็นมีมากกว่า 1,000 ลำ ผมกำลังขึ้นทะเบียนเรือแพสะดุ้งใหญ่ ในพื้นที่ เพราะความเสียหายที่เกิดขึ้น เพราะภัยธรรมชาติ “แล้ง” หากแพอยู่ในน้ำ ปลวกไม่ทำลาย นำหมดปลวกทำลายเสียหาย 100%  อยาก

ให้รับบาลมองเห็นความสำคัญของชาวประมงพื้นบ้าน ที่ลุ่มลำน้ำชีด้วย ขอบคุณสื่อมวลชนจาก ส่วนกลางที่ให้ความสำคัญ ของประชาชนชาวลำน้ำชี ครับ

 

วัชรินทร์   เขจรวงศ์/รายงาน

โทร.085-7567108

[email protected]

คำสำคัญ (Tags): #เกษตรสิงขร
หมายเลขบันทึก: 343210เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2010 09:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท