จารุวัจน์ شافعى
ผศ.ดร. จารุวัจน์ ชาฟีอีย์ สองเมือง

เรื่องน่าสนใจที่คุยยาก


หลายวันก่อน ดร.เกษตรชัย และหีม โทรมาเชิญชวนให้เข้าร่วมวิพากษ์ผลการวิจัยโครงการหนึ่งครับ ท่านบอกว่าประเด็นนี้เป็นประเด็นที่ผมเคยสนใจ (จริงๆ ตอนนี้ก็ยังสนใจอยู่ครับ) เป็นเรื่องของผู้ต้องขังคดีความมั่นคงในพื้นที่ 3 จังหวัดครับ แต่สุดท้ายต้องปฏิเสธครับ เพราะงานนี้มีเงื่อนไขว่า ต้องเข้าร่วมสองวันคือวันอังคารกับวันพฤหัส แต่ผมว่างเฉพาะวันอังคาร ส่วนวันพฤหัสติดภารกิจต้องเข้าอบรม TQF (งานนี้เลี่ยงไม่ได้จริงๆ) แต่แล้วผมก็ได้เข้าร่วมจนได้ครับ เพราะมีพี่น้องแดนไกลโทรมาเชิญให้เข้าร่วมอีกครั้ง บอกว่าวันเดียวก็ไม่เป็นไร 

รีบไปครับ แต่ถึงงานแล้วเซ็งนิดหนึ่งเพราะที่นัดกันว่า งานเริ่มเก้าโมง ความจริงในกำหนดการคือ ลงทะเบียนเก้าโมง เริ่มเก้าโมงครึ่ง ฮา อาการนี้ไม่ใช่ผมคนเดียวครับ อีกหลายคนก็รู้สึกเหมือนผม เพราะมานั่งรอก่อนหน้าผมอีก ฮิฮิ

งานวิจัยนี้นำทีมโดย ดร.เสกสรร ทองคำบรรจง แห่งคณะศึกษาศาสตร์ มศว. ครับ เรื่อง"การศึกษาเปรียบเทียบแรงจูงใจในการใช้ความรุนแรงของกลุ่มผู้ต้องขังคดีความมั่นคงกับข้อเรียกร้องของกลุ่มเคลื่อนไหวต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้" ผมว่าผมเข้าใจผิดครับเกี่ยวกับผลการวิจัย ฟังๆ ไป งงตัวเองว่า ตกลงมันเรื่องอะไรหว่า 

(ดร.เสกสรร กับทีมงานกำลังนำเสนอผลการวิจัยครับ นำเสนอสองคนแต่ใช้โน้ตบุ๊คสามเครื่อง)

ประเด็นแรกคือ กลุ่มตัวอย่างมีสองกลุ่มคือ กลุ่มนักวิชาการในพื้นที่และผู้ต้องขังคดีความมั่นคงในสี่จังหวัด (มีตัวเลขระบุว่า สัมภาษณ์ 60 คน) ผมอึ่งกับตัวเลขการสัมภาษณ์อย่างหลังนี่แหละครับ ทีมวิจัยทำได้งัย เพราะถ้าประสบการณ์ของผมจากการได้คุยกับผู้ต้องขังเรือนจำปัตตานีมาสองรอบ ผมคิดว่า การจะได้ข้อมูลจากกลุ่มผู้ต้องขังคงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ แน่ ผมเคยคาดคะเนเล่นๆ ว่า ในเจ็ดสิบกว่าคนในเรือนจำปัตตานี ผมว่าอย่างเก่งชวนคุยประเด็นพวกนี้ได้ไม่เกิน 5 คน ซึ่งคนกลุ่มนี้คือผู้ที่ค่อนข้างบริสุทธิ์ แล้วยิ่งในการอภิปรายกัน ผบ.เรือนจำหลายท่านยืนยันตัวเลขว่า 95 เปอร์เซนต์ของผู้ต้องขังปฏิเสธว่า ไม่ได้มีส่วนร่วมกับความไม่สงบ ผมได้มีโอกาสคุยนอกรอบกับ ดร.เสกสรร เรื่องนี้ เรียนว่า ผมทึ่งว่าอาจารย์คุยได้งัย ท่านตอบผมว่า ให้ นศ.ป.โทที่พูดภาษามลายูได้ในการสัมภาษณ์ แต่ก็ยอมรับว่า ส่วนใหญ่พอเข้าประเด็นนี้ก็จะยุติการพูดคุยทันที

(ผู้เข้าร่วมไม่เยอะครับ แต่ได้รสชาดดี)

สำหรับประเด็นที่ผมให้ความเห็นเกี่ยวกับผลการวิจัยคือ เรื่องปัจจัยที่นำไปสู่ความรุนแรง ซึ่งผลการวิจัยนี้ระบุปัจจัยไว้ ซึ่งผมกลับรู้สึกว่า มันไม่ใช่ปัจจัยที่แท้จริง เพราะเป็นปัจจัยทั่วไป เช่น มีประสบการณ์การข่มเหงจากเจ้าหน้าที่รัฐ แล้วนำไปสู่การใช้ความรุนแรง ผมว่ามันไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องทั้งหมดครับ เพราะมีอีกหลายคนที่โดนอย่างนี้แล้วไม่เลือกที่จะใช้ความรุนแรงก็ได้ ผมมีเคสแบบนี้ โดนแบบนี้หลายคนครับ และเขาก็ไม่เลือกที่จะใช้ความรุนแรงตอบโต้เจ้าหน้าที่รัฐ

มีอาจารย์หลายท่านให้ข้อเสนอแนะที่น่าสนใจมาก จนผมรู้สึกเสียดายที่ไม่สามารถมาร่วมในครั้งต่อไปได้ เพราะทีมวิจัยจะนำข้อเสนอแนะนี้ไปปรับแล้วนำเสนอใหม่ในครั้งต่อไป

(รศ.ดลมนรรจ บากา ให้ความเห็นเป็นคนสุดท้ายครับ ผมว่าเรื่องแนวนี้ไม่รู้จักอาจารย์ท่านคงไม่ได้ครับ ข้อมูลท่านเยอะมาก เสียดายเหลือเวลาให้ท่านน้อยไปนิดหนึ่ง)

เสร็จงานนี้ก็กลับมานั่งประชุมต่อที่มหาวิทยาลัยเกี่ยวกับการสอบปลายภาคครับ รู้ประเด็นครับ แต่บางปัญหาต้องทำใจบ้าง (บังเอิญผมทำใจได้แล้ว ฮา) แต่คืนนี้มีสองสายโทรมาถามว่า อ่านรายงานสภาพการจัดการสอบแล้วยัง ฮือ คนเราจะให้เปลี่ยนนิสัยให้น่ารัก ให้พูดหวานๆ บางทีทำลำบากครับ เพียงแต่ที่พยายามทำอยู่คือ มอบหมายให้ทำงานที่คิดว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อหน่วยงานเท่านั้นเอง ซึ่งยอมรับว่าบางทีมันก็หลุดๆ ไปบ้าง

เรียนผู้ใหญ่ไปว่า คนบางคนทำงานดีครับ เสียอย่างเดียวคุยกับคนให้ดีไม่ได้ ซึ่งพอเสียจุดนี้จุดเดียว เลยทำให้ทุกความดีมันหายไปหมด ผมก็ไม่ใช่ว่าไม่พยายามปรับปรุงทีมงานครับ พยายามแล้วและก็ไม่ละทิ้งความพยายาม ก็คงต้องให้เวลา และปรับงานให้สอดคล้องกับคนมากขึ้นครับ องค์กรมันใหญ่ขึ้น วัฒนธรรมมันเปลี่ยนไปเยอะ แต่บางคนก็ยังคงอนุรักษ์ไว้ซึ่งวัฒนธรรมการทำงานแบบเดิม 

ขออัลลอฮ์ทรงเพิ่มพูนความเป็นสิริมงคลในภารกิจการงานของข้าพเจ้าด้วยเทอด

หมายเลขบันทึก: 343158เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2010 23:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอส่วนร่วมในงานอาจารย์ด้วยคนครับ

  • ประเด็นวิจัย น่าสนใจมาก แต่เท่าที่อาจารย์เล่ามาก็น่าเป็นห่วง ข้อมูลที่ได้มาสำคัญมาก และจากข้อมูลรายงานวิจัยที่ผิดๆนี้แหละทำให้ประเทศมหาอำนาจทำผิดเป็นถูกทันที
  • ผมเข้าใจการทำงานของอาจารย์ในงานใหม่ เพราะผมเคยอยู่ที่นั้น สำคัญคือทำไมปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วเมื่อตอนที่ผมอยู่ ตอนนี้ยังมีอยู่อีก และผมไม่เคยเอาผิดกับน้องๆที่ทำงานหรอกครับ แต่หน่วยงานอื่นน่าจะร่วมมือ

ขอบคุณครับอาจารย์ Ibm ครูปอเนาะ ڬوروفوندق 

  • ความถูกต้องแม่นยำของข้อมูลสำคัญมากครับ และดูเหมือนในที่ประชุมก็กังวลเรื่องนี้ครับ
  • ปัญหามันมีมานานครับ แล้วจะให้เกิดการเปลี่ยนทันทีที่เปลี่ยน ผอ. มันไม่ใช่ง่ายขนาดนั้นครับ

ติดตามบันทึกของอาจรย์มาตลอด และสิ่งที่ได้ก็คือข้อคิดดี ๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท