“บรรลุฝันยมราช บรรลุโอกาสคนสุพรรณ”


“ ผู้อำนวยการเป็นตัวแทนของกระทรวง ผู้อำนวยการเป็นตัวแทนของผู้ป่วย ผู้มาใช้บริการ ผู้อำนวยการเป็นตัวแทนของเจ้าหน้าที่ทุกคน สิ่งสำคัญที่จะสามารถพัฒนาโรงพยาบาลให้เจริญต่อไปนั้น ขึ้นอยู่กับความรัก ความสามัคคีของคนในโรงพยาบาลทุกคน”

อีกหนึ่งบันทึกของท่านผู้อำนวยการ นายแพทย์ชัชรินทร์  ปิ่นสุวรรณ ที่บอกเล่าเรื่องราว...ทิศทางการนำองค์กรของโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราชได้เป็นอย่างดีค่ะ

        ปี 48 ต้นมกราคม  ผมได้ย้ายมาทำงานที่ รพ.เจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี ผมไม่เคยมาที่สุพรรณ แต่ก่อนมาปฏิบัติงานจริง ผมได้มีโอกาสไปงานพิธีบวงสรวงสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่อำเภอดอนเจดีย์ และพิธีวางพวงมาลาเจ้าพระยายมราชที่โรงพยาบาล (ซึ่งถือเป็นวันโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช)  ในวันที่ 20 มกราคม ของทุกปี

        เป้าหมายอันดับแรกที่ต้องมาทำที่นี่ คือ การขาดแคลนแพทย์.... !?

       เพราะกำลังมีแพทย์ลาออกกันเรื่อยๆ ปีที่ผ่านมาออกไปแล้ว 10 กว่าคน โดยเฉพาะศัลยแพทย์ทั่วไปเหลือเพียง 2 คนเอง  วิสัญญีแพทย์ไม่มี รังสีแพทย์มีเพียงคนเดียว เป็นต้น เป็นภาระงานที่หนักมากของแพทย์ที่เหลืออยู่เพียง 40 กว่าคน จากกรอบเดิมที่ต้องมี 80 คน ไม่มีศัลยแพทย์ทั่วไปอยู่เวรในบางวัน

        เจ้าหน้าที่กำลังอยู่ในภาวะขวัญเสีย แล้วประชาชนคนสุพรรณจะเป็นเช่นไร

        ผมระลึกถึงคำพูดของอดีตปลัดฯ ท่านหนึ่งเสมอว่า

        “ ผู้อำนวยการเป็นตัวแทนของกระทรวง ผู้อำนวยการเป็นตัวแทนของผู้ป่วย    ผู้มาใช้บริการ  ผู้อำนวยการเป็นตัวแทนของเจ้าหน้าที่ทุกคน สิ่งสำคัญที่จะสามารถพัฒนาโรงพยาบาลให้เจริญต่อไปนั้น ขึ้นอยู่กับความรัก ความสามัคคีของคนในโรงพยาบาลทุกคน”

       ผมจำมาปฏิบัติตั้งแต่ผมเริ่มเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลจังหวัดใหม่ๆ เมื่อปี 2540 ที่กาฬสินธุ์  ผมยังคิดว่าเครือข่าย สสจ. รพศ. รพท. สสอ. สอ.และอสม. ยังเป็นกำลังสำคัญในการทำงานร่วมกันแบบเข้าใจ ใจถึงใจกัน และเครือข่ายภาคท้องถิ่น ภาคประชาชน หรือภาครัฐส่วนอื่นๆ ทั้งหมด

       ผมตั้งเป้าหมายสิ่งต้องทำตามลำดับที่สุพรรณบุรี คือ

       อันดับแรก.. แก้ไขปัญหาการขาดแคลนแพทย์ทุกสาขา โดยเฉพาะศัลยแพทย์ทั่วไป

วิสัญญีแพทย์ รังสีแพทย์  เพื่อสร้างศรัทธากลับคืนมาโดยเร็ว โรงพยาบาลจะต้องให้ประชาชนมีความมั่นใจได้ในทุกเรื่อง

       ที่สอง..แก้ไขปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ คือ ไข้หวัดนก (กำลังระบาดในปีนั้น โดยเฉพาะสุพรรณบุรีมีคนตาย) ไข้เลือดออก (เจ้าประจำ)

       สาม..การทำงานคุณภาพ HA & HPH แต่ขอให้ประยุกต์ใช้สำหรับสุพรรณ ตามบริบท ขณะนั้น ไม่ได้หวังให้ผ่านการรับรอง แต่หวังว่าจะได้ใช้ประโยชน์ในการทำงานบริหาร (ซึ่งได้ใช้มาตลอดในการทำงานเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลจังหวัดของผมมาตลอด)

       และสุดท้าย.. การสร้างขวัญกำลังใจให้กับเจ้าหน้าที่ทุกคนในโรงพยาบาล เพราะคิดว่า ถ้าประชาชนจะได้รับการบริการที่ดีจากเรา บุคลากรของเราจะต้องมีขวัญกำลังที่ดีระดับหนึ่งเสียก่อน

       การทำงานเป็นทีมได้เริ่มขึ้นที่ยมราช มันเป็นงานที่ค่อนข้างยาก แต่ด้วยในใจ ลึกๆ ของทุกคน ที่มีความรักมากมายต่อโรงพยาบาล แต่ยังไม่ถูกปล่อยออกมาอย่างเต็มที่เท่านั้นเอง

       ผู้บริหารคงเป็นผู้ประสานงาน ผู้สนับสนุน และคอยให้กำลังใจเท่านั้น ผู้ลงมือปฏิบัตินั้นเป็นเจ้าหน้าที่ทุกคน ที่ต้องร่วมมือร่วมใจกัน

        “เด็กสุพรรณ กลับบ้านเกิด” สื่อสารให้แพทย์คนสุพรรณสาขาต่างๆ กลับมาทำงานที่ยมราช ได้ผลดีเกินคาด “โรงพยาบาลบ้านท่าน โรงพยาบาลพวกเรา” เจ้าหน้าที่เกือบทั้งโรงพยาบาลเป็นคนสุพรรณ (ทั้งแพทย์, พยาบาล)

         “ยมราช รวมใจ” พวกเราขอรับใช้พี่น้องคนสุพรรณ คนบ้านเดียวกัน

         ดูทุกอย่างมันช่างราบรื่นดีเหลือเกิน จนเวลาผ่านไปไม่รู้เนื้อรู้ตัว เพียง3 ปีเศษ ปัญหาต่างๆ ก็ได้รับการแก้ไขตามลำดับ ทั้ง 4 ข้อ ที่พวกเราภูมิใจที่สุดก็คือการนำงานคุณภาพ HA & HPH มาประยุกต์ใช้ใน โรงพยาบาลและเครือข่ายของเรา

        ทุกอย่างเป็นการร่วมมือของพวกเราทุกคนในองค์กรแท้ ๆ เลย...

         วิกฤติกลายเป็นโอกาสโดยแท้จริง นี่เป็นประสบการณ์อันหนึ่งที่ทุกคนใน “ยมราช”  ได้รับ พวกเรามีผลการทำงานคุณภาพเกิดขึ้นมากมาย ขณะที่ขาดศัลยแพทย์ เราก็เกิดการดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ แบบครบวงจร การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะเป็นระบบเครือข่ายที่มีคุณภาพ และอีกหลายๆ อย่างที่เกิดขึ้น

 

       เมื่อโรงพยาบาลของเราน่าอยู่ ได้เอาหัวใจออกมาทำงานร่วมกัน แน่นอน... ผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้ก็คือ ประชาชนคนสุพรรณ หรือผู้มาใช้บริการที่ยมราช และเครือข่ายของเรา

       เราจะเดินไป และได้เริ่มแล้ว...

       เรายังเชื่อเสมอว่า ศักยภาพของการทำงานเป็นทีมสหสาขาวิชาชีพ  แพทย์ที่มีความรู้เฉพาะทาง (รู้ทางที่สิ้นสุดของโรค) อาจจะเป็นคำตอบที่ย้อนกลับมาดูว่า หากผู้ป่วยเหล่านี้ไม่ป่วยดีกว่าแน่ ทำอย่างไรจะไม่ต้องป่วย มาแออัดกันที่โรงพยาบาล เรากำลังมีแนวร่วม แนวคิดเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

       การทำงานร่วมกับภาคประชาชนและท้องถิ่นเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในวิธีคิดที่จะเกิดขึ้น การมีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันกับชุมชน(คนบ้านเดียวกัน) การขยายแนวร่วม วิธีคิดอันเดียวกันไม่ว่าจะแพทย์ รพศ. รพท. รพช. กับสหสาขาวิชาชีพ คงเกิดขึ้นได้อย่างยืดหยุ่นและยั่งยืน

       SHA ก็เป็นแนวทางหนึ่งที่จะมาต่อยอดการทำงานคุณภาพของพวกเรา Self Health Care คือ เส้นทางที่ควรจะเดินไป  “บรรลุฝันยมราช  บรรลุโอกาสคนสุพรรณ”

หมายเลขบันทึก: 343121เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2010 21:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

สวัสดีคะ พี่เจี๊ยบ

โชคดีของคนสุพรรณ นะคะ

คิดถึงค่ะ

อ้วนขึ้นรึยังคะ

สวัสดีครับพี่เจี๊ยบ

แวะมาเยี่ยมครับ

  • สวัสดีจ๊ะ พอลล่า วันนี้พี่ไปงาน HA Forum มาเห็นพอลล่ากำลังทำงานวุ่นอยู่ไกลๆ เลยไม่ได้ไปทัก สู้ๆๆๆ... เป็นกำลังใจให้นะ
  • พี่ยังไม่อ้วนขึ้น แต่แข็งแรงขึ้นมากแล้วล่ะ ขอบคุณจ้า
  • ท่าน ผอ. ท่านมุ่งมั่นมากค่ะ
  • สวัสดีค่ะ
  • ต้องทำได้ๆๆๆๆ
  • เป็นกำลังใจให้นะคะ เยี่ยมอยู่แล้ว
  • ซู่ๆๆค่ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์หนานเกียรติ อาจารย์เป็นคนต้นแบบสำหรับพี่เลยค่ะ

สวัสดีค่ะ pa_daeng ขอบคุณค่ะสำหรับกำลังใจ พวกเราจะพยายามทำให้ดีที่สุดค่ะ

พี่เจี๊ยบ พรุ่งนี้อยู่หรือเปล่าครับ

ว่าจะเลี้ยงข้าวกลางวันหนะครับ (ฮิ ฮิ...)

พี่หน่อยมาด้วยหรือเปล่าครับ...

เห็นบันทึกตัวเองในหนังสือหรือยังครับ

  • อาจารย์หนานเกีรยติ พี่อยากไปมาก อยากไปฟังอาจารย์กับอาจารย์จตุพรถ่ายทอดเรื่องราวการถอดบทเรียน
  • แต่น่าเสียดายมากๆๆๆ ที่สุดเลย พรุ่งนี้ที่โรงพยาบาลจัดงานวันไตโลก พี่ต้องอยู่ช่วยคุณหมอวนิดาค่ะ
  • ได้เห็นค่ะ ..พี่หน่อยเห็นรูปตัวเองในหนังสือแล้ว มีกำลังใจฮึกเหิมอยากทำโน่นนี่มากขึ้นไปอีก

อาจารย์หนานเกีรยติ ลืมบอกว่าวันนี้พี่ไปงาน HA Forum มาแล้ว และวันที่ 12 มีนาคม ก็จะไปอีก ท่านผู้อำนวยการเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ Tertiary หัวใจ Primary ที่ห้อง Sapphrire 4 วลา 10.30น.-12.00น. ค่ะ

เสียดายจังเลย

ฝากสวัสดีและระลึกถึงคุณหมอวนิดาด้วยนะครับ

สวัสดีค่ะ 

แอบตามมาดูฅนสุพรรณบรรลุโอกาสค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท