จารุวัจน์ شافعى
ผศ.ดร. จารุวัจน์ ชาฟีอีย์ สองเมือง

น้อยยาก มากง่าย


เคยมีคนหลายคนพูดว่า โอ้ย ลูกคนเดียวก็ไม่ไหวแล้วครับ มีลูกเยอะมีไหว ตายแน่ๆ ทีแรกผมก็คิดคล้ายๆ อย่างนี้แหละครับ ดูเหมือนการเลี้ยงลูกจะเป็นงานใหญ่ งานช้างเสียเหลือเกิน ยิ่งพอไปบ้านพี่ๆ บางทีเห็นเด็กๆ ทะเลาะกันบ้าง เล่นกันบ้าง ฮือ มึนจริงๆ ฮา

แต่ตอนนี้ พอได้สัมผัสกับตัวเองจริงๆ ความรู้สึกที่ว่าที่กลัวในอดีตมันหายไปหมดเลยครับ กลับเป็นความสุขที่เข้ามาเติมเต็มชีวิตครับ ความคิดว่า มีลูกหลายคนคงเหนื่อยกับการเลี้ยงดูมากๆ หายไปครับ เพราะลูกคนที่สองคนที่สามจะมีรูปแบบการเลี้ยงดูไม่เหมือนลูกคนแรกครับ คนแรกนี้เป็นรุ่นฝึกความเป็นพ่อเป็นแม่จริงๆ 

(อิลฮามใส่ชุดละหมาดเต็มยศครับ)

สิ่งที่สังเกตได้จากครอบครัวพี่ๆ และมาได้สัมผัสกับตัวเองคือ ลูกคนที่สองและคนถัดๆ ไปจะมีทักษะความพยายามในการช่วยเหลือพึ่งพาตัวเองสูงมากขึ้นครับ อาจจะเพราะเขารู้ว่า รอให้พ่อแม่มาทำให้เหมือนพี่คงไม่ทันการแน่ๆ อะไรประมาณนี้ ฮิ

ที่สำคัญผมกลับพบว่า การมีลูกหลายๆ คน ทำให้ลูกๆ เรียนรู้เรื่องปฏิสัมพันธ์ทางสังคมได้ดีกว่าการเป็นลูกโทนครับ อย่างอิลฮามตอนอยู่คนเดียว เล่นกับคนอื่นก็ไม่ค่อยจะเป็นครับ ผมใช้เวลาฝึกอยู่นานมากครับ แต่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าไร แต่พออิลฮามมีน้องสองคน เขากลับเก่งขึ้นเยอะเลยครับ รู้จักดูแลตัวเองดีขึ้น และที่สำคัญดูแลน้องก็เก่งขึ้นด้วย (ยกเว้นเวลาหิวหรือง่วง อารมณ์นี้ต้องยกเว้น)

(บังเอิญอบรมอีบุ๊คและให้เสริชหาคำว่า ละหมาดด้วย google จะเจอรูปละหมาดของอิลฮามสมัยก่อนอยู่เป็นรูปแรกๆ ตลอดครับ เลยคิดว่า น่าจะหารูปใหม่มานำเสนอบ้าง)

กรณีหนึ่งคือ หลายลักษณะที่มีในลูกคนแรก บางทีเราอาจจะไม่เจอเลยในลูกคนที่สองที่สามครับ ซึ่งผมว่า อาจจะเป็นเพราะพ่อแม่เองก็มีประสบการณ์ในการเลี้ยงลูกมากขึ้น หรือบรรยายในบ้านเปลี่ยนไป ทำให้ลูกๆ คนถัดๆ มาก็มีบุคลิกภาพอีกแบบหนึ่งครับ

ผมเจอคนที่มีลูกเยอะๆ เอาเป็นว่าเกินสิบคนแล้วปรากฏว่า ลูกแต่ละคนน่าประทับใจมากครับ ได้บทเรียนง่ายๆ ว่า แค่เพียงพ่อแม่สนใจเล่นกับลูก ให้ความสำคัญกับลูกๆ ทุกอย่างมันก็ดีเองครับ ที่สำคัญภาระการเลี้ยงดูไม่ได้หนักอย่างที่คิดเลย เพราะลูกๆ จะช่วยกันดูแลกันเองครับ เป็นกรณีที่ผมว่ามันน่าสนใจมากๆ ครับ

(รอละหมาดพร้อมอุมมีย์ไม่ไหวครับ ละหมาดเองดีกว่า)

เคยมียุคสมัยหนึ่งที่มีการรณรงค์ให้มีลูกเพียงสองคน จำได้ว่าในปี พศ.2525 ฉลองครบสองร้อยปีรัตนโกสินทร์ มีการนำเสนอข้อดีของการมีลูกสองคนเยอะแยะมากมายครับ ตอนนั้นไม่เกือบจะไม่มีอารมณ์ร่วมกับโฆษณาเหล่านั้นเลยครับ เพราะบ้านผมมีพี่น้องรวมกันก็ 6 คน เรากลับรู้สึกว่าเราอบอุ่นและมีความสุข เวลาทานข้าวทีก็วงมันก็โตกว่าบ้านที่มีสมาชิกน้อยๆ ตอนต่างคนต่างออกจากบ้านไปเรียนหนังสือ กลับมาพร้อมหน้ากันที่ไรก็คุยกันสนุกสนาน ดังลั่นจนกระทั่งย่าซึ่งบ้านไม่ไกลมากนักจากบ้านพวกเรา มาบ่นตอนเช้าว่า ฮือ คุยอะไรกัน หรือว่าทะเลาะอะไรกันทั้งคืน กูนอนไม่หลับเลย ฮา

(เวลาใส่ชุดละหมาด จะไม่ค่อยได้ถ่ายรูปครับ เพราะอิลฮามจะอายไม่ยอมถ่าย)

วันก่อนนั่งคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับท่านอาจารย์ ibm ครูปอเนาะ ท่านเล่าว่า สมัยหนึ่งที่มีการรณรงค์ให้มีลูกน้อยๆ ผู้ว่าฯจังหวัดยะลาซึ่งจะต้องรับนโยบายมาดำเนินการโดนคำถามย้อนกลับว่า ท่านมีพี่น้องกี่คน ท่านตอบว่า ท่านมีแปดคน ฮือ แล้วคนอื่นๆ เป็นงัยบ้าง ท่านตอบว่า ก็ไม่เห็นลำบากอะไร ขณะที่ท่านเองคนสุดท้องยังได้เป็นผู้ว่าเลย ฮา แล้วท่านจะเอาอะไรรณรงค์ให้คนอื่นมีลูกน้อย ฮือ น่าคิดนะครับ

การเล่น การทะเลาะกัน เป็นการเรียนรู้ของเด็กครับ ฮือ ปัญหาหนึ่งของสมัยนี้คือ ลูกไม่รู้จักวิธีการเล่นและทะเลาะครับ เพราะในบ้านไม่มีพี่ๆ น้องๆ ให้เล่นให้ทะเลาะ มีแต่พ่อแม่ ถึงจะเล่นด้วย แต่มันก็คนละอารมณ์ครับ โลกของการเรียนรู้ในบ้านเลยแคบลงไปโดยอัตโนมัติครับ

ฮา คิดแล้วก็อยากมีอีกสักคนหนึ่ง ฮิฮิ ลูกนะครับ ลูก

หมายเลขบันทึก: 342913เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2010 22:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

มาอ่านเรื่องน่ารักๆ ของคุณพ่อยังหนุ่มน้อยค่ะ

เด็กๆ เป็นโซ่ทองเชื่อมสายใยพันผูกจริงๆนะคะ เด็กๆ ยังเป็น สีสัน ประจำบ้าน สานสัมพันธ์ ;)

น้องเตาฟิกคงดีใจที่จะมีน้องอีกนะคะ ;) เป็นกำลังใจค่ะ

ขอบคุณครับพี่ poo 

ยังไม่มีเค้าลางสมาชิกใหม่ของบ้านตอนนี้ ฮิฮิ แค่ในใจนั้นอยากมีแล้ว ฮิฮิ

สวัสดี ครับ อาจารย์ จารุวัจน์

เป็นบันทึกที่อ่านแล้วมีความสุข ก่อนนอนคืนนี้

เป็นครอบครัวที่น่ารักมาก ๆ นะครับ

..

ขอบพระคุณ ครับ

ขอบคุณครับ แสงแห่งความดี 

อัลฮัมดุลิลลาห์ (ขอบคุณอัลลอฮ์) ครับ ถือเป็นของขวัญสำคัญจากพระเ้จ้าเลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท