148.สายลับ พ.27 บทที่ 2


  สวัสดีครับ ผมอยากให้ทุกคนมีสติกับข่าวเหตุการณ์อันร้อนแรงในขณะนี้ ประวัติศาสตร์การเปลี่ยนแปลงการปกครอง เป็นความเลวร้ายอีกหน้าหนึ่ง ที่เลือดไทยต้องหลั่งลงบนแผ่นดิน ผมอยากให้ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ ได้มีโอกาสช่วยกำหนดให้คนไทยไม่ต้องหลั่งเลือดกันอีก มันเป็นความโหดร้ายมาก ผมอยากให้มีแค่ในประวัติศาสตร์เท่านั้น  อย่าเกิดขึ้นจริงในอนาคตเลย  ผมจะนำประวัติศาสตร์หน้านี้ลงอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ท่านได้ติดตามครับ....   

           บนขบวนรถไฟ กรุงเทพฯ-นครราชสีมา  เช้าวันที่  22 กันยายน 2476 มีข้าราชสำนักลำพังคนเดียวนั่งปนไปกับผู้โดยสารชั้น 2 เขานั่งชมภูมิประเทศและ อ่านหนังสือพิมพ์สลับกันไปอย่างรำคาญใจการนั่งรถไฟไปโคราช เป็นเวลา เกิน12 ชั่วโมงจึงแสนจะเบื่อ ไม่มีอะไรสนุก  ย้อนนึกถึงการพบ กับ พี่ชายคนหนึ่งของข้าพเจ้าเมื่อเดือนกว่า มาแล้วคีนวันนั้นข้าพเจ้ากลับจากพระบรมมหาราชวังดึกมาก  พอถึงบ้านก็เห็น ห้องชั้นบนด้านซ้ายเปิดไฟสว่าง    แสดงว่าพี่ชาย.....นายร้อยโท ผู้บังคับกอง ร้อยที่4  ของกรมทหารปืนใหญ่โคราช   ได้มาค้างที่ห้องเขา   เมื่อได้อาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้าแล้ว ข้าพเจ้าก็รีบไปปราศรัยกับเขา   "พี่มาซื้อของให้สโมสร" ร.ท. ขุนโรจนวิชัย (พายัพ  โร จนวิภาต)บอก  "ไม่ไช่หน้าที่ของเราหรอก  แต่เมื่อมากรุงเทพ ฯ ก็ถูกวานให้ซื้อ ตามเคย"เราปรารภกัน  ถึงบ้านเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันเป็นเรื่อง  สนใจ ในสมัยหัวเลี้ยวหัวต่อ  ของประเทศชาติอยู่เป็นเวลานาน    เมื่อเขาเห็นว่า ข้าพเจ้ารู้เรื่องเบื้องหลังข่าวต่าง ๆ เป็นอย่างดี    และมีแนวความคิดเห็นตรงกับ เขาเป็นส่วนมาก   เขาจึงขยายให้ฟ้งว่า   เขามาติดต่อกระสุนดินดำ    ซึ่งขณะ นั้น  เขากำลังเตรียมล้มรัฐบาล ด้วยการใช้กำลังหัวเมืองเข้ามาบังคับรัฐบาล เขาบรรยายแผนการโดยไม่ปิดบัง เพราะใว้วางใจว่า    นอกจากเราเป็นผู้มั่นคง  จงรัก  ต่อชาติ   ศาสนา  พระมหากษัตริย์แล้ว  เรายังเป็นพี่น้องคลานตามกันมา ด้วยพี่ชายเล่าว่า    ระยะนั้นเขาได้เริ่มทำการฝึกซ้อมทหารปืนใหญ่กองร้อยที่ 4ใน บังคับบัญชาของเขา   สำหรับปฏิวัติในวันที่ จะยกทัพออกจากโคราชวิธี การอันแยบยลของเขาคือ   ตื่นตั้งแต่ตีสี่   รีบแต่งเครื่องสนามพร้อมแล้ว   จึงสั่ง เป่าแตรสัญญานเหตุสำคัญ   ทหารทั้งกองก็รีบตื่นขึ้นแต่งตัว   และผูกม้าเทียม ลากนำปืนใหญ่ออกวิ่งห้อไปตามทิศทางสถานีรถไฟ   ซึ่งก็ได้พบกับผู้บังคับ หมวดคนหนึ่ง   ที่เขาส่งไปคอยอยู่พร้อมกับซองบรรจุคำสั่งสำหรับมอบให้แก่ผู้ บังคับหมวดที่นำกองทหารมาถึง   เมื่อนายทหารทั้งสองพบกัน   และได้เปิดคำ สั่งออกอ่านก็ปรากฏความว่า ให้นำทหารทั้งกองร้อย  ไปอาบน้ำที่ตำบล ที่ เคยไปอาบ แล้วให้พักอยู่จนถึงเวลา  8  น.  จึงให้กลับกรมเขาเล่าอย่างขบขัน ว่า   ผู้บังคับกองร้อยอื่น ๆ หาว่าเขาเป็นว่าใช้วิธีฝึกทหารแบบบ๊อง ๆ ....ทำบ่อย ครั้งเสียด้วย  พวกนายสิบและพลทหารก็แอบบ่นกันกลุ้มไป   ไม่มีใครรู้เจตนาของ เขาว่า   เขาทำการฝึกซัอมวิธีนี้ไว้ใช้ในวันที่ จะยกทัพไปกรุงเทพ ๆ ทหารทั้ง หลายจะหลงคิดว่า   เขาส่งม้าไปอาบน้ำเช่นเคยซึ่งแท้จริง  เมื่อไปถึงไปถึงสถานี แล้ว   เขาก็จะส่งขึ้นรถไฟไปกรุงเทพ................  ในคืนที่ข้าพเจ้าได้ทราบเรื่องการคิดล้มรัฐบาลโดยอาศัย  กำลังทหารหัวเมืองนั้นพี่ชายชี้แจงว่า  นายพลเอก พระองค์เจ้าบวรเดช  อดีตเสนาบดีกลาโหม  ได้ทรงเฝ้าดูความอลเวงของระบอบประชาธิปไตยภายใต้การ นำของ "คณะราษฎร์"(ซึ่งประกอบไปด้วยผู้นำฝ่ายพลเรือนคือ นายปรีดี   พนมยงค์ ผู้นำฝ่ายทหารคือ พระยาพหลพลพยุหเสนา ผนึกกำลังกัน ล้ม ล้างการปกครองระบอบ สมบูรณาญาสิทธ์ เมื่อวันที่ 24  มิถุนายน2475)  มาเพียงไม่กี่เดือน   ก็ปรากฏเรื่องวุ่นวายหลายประการขนาดที่พระยามโน ฯ นายก รัฐมนตรีต้องประกาศว่าเป็น  "ภาวะอันสุดแสนจะทนทานได้"  จนต้องขอพระ บรมราชโองการปิด สภาผู้แทนราษฎรและยุบคณะรัฐมนตรี   ด้วยหวังจะประคับ ประคอง รัฐนาวาประชาธิปไตยที่สร้างใหม่ ๆ   ให้ฝ่าคลื่นฝืนลมไปได้ตลอดรอด ฝั่ง   แต่ผู้กำอำนาจทางทหาร  กลับก่อการปฏิวัติซ้อน ด้วยความร่วมมือร่วมใจ  ของพระยาพหล ฯ   ผู้ซึ่งพระเจ้าอยู่หัว จำต้องทรงแต่งตั้งให้เป็น นายก รัฐมนตรี  ต่อจากพระยามโน ฯ   เพราะทรงหวังว่าพระยาพหล ฯจะช่วยพยุง สถานการณ์ให้ดีขึ้น   ในฐานะที่เป็นหัวหน้าใหญ่ของ  คณะผู้ก่อการแต่พระยา พหลฯก็ช่วยอะไรไม่ได้   เพราะต้องเดินตามการชักจูงของผู้น้อยทั้งทหารและ พลเรือน "ภาวะอันสุดแสนจะทนทานได้"  ในสมัยรัฐบาลพระยามโน ฯ  ก็มีท่าว่า จะกลับฟื้นคืนชีวิตมาใหม่  พร้อมกับการงอกงามของเมล็ดพืชคอมมิวนิสต์ ที่ถูกปลูกเพาะไว้ใว้รัฐสภา ถึงจุดอันสุดแสนจะทนดูต่อไปได้แล้วนี้เอง ที่พระองค์เจ้าบวรเดชทรงรับคำเชิญของคณะนายทหารหัวเมือง   ที่ขอให้เป็น แม่ทัพ  ยกโยธามาประชิดนครหลวง  เรียกร้องให้รัฐบาลลาออก  และเพื่อการ แก้ไขรัฐธรรมนูญ  ที่พระกษัตริย์ทรงจำพระทัย  ต้องลงพระปรมาภิไธยพระ ราชทาน   ทั้งๆที่ทรงเห็นอยู่ว่ารัฐธรรมนูญฉบับนั้น  อำนาจอธิปไตยที่พระองค์ ทรงตั้งพระทัย  พระราชทานแก่ปวงประชากรนั้น   มิได้ตกถึงมือประชาชน อย่างแท้จริงเลย  แต่กลับ. ไปตกอยู่ในเงื้อมมือของผู้ก่อการ ที่เรียกตนเองว่า   "คณะราษฎร"...  ข้าพเจ้าถามพี่ชายว่า   เรื่องนี้ข้าพเจ้าควรจะเขียนรายงานทูลเกล้าฯ ถวายหรือไม่   เพราะเป็นหน้าที่ของข้าพเจ้าที่จะต้องสอดส่องความเคลื่อน ไหว ของเจ้านาย และทำรายงานกราบบังคมทูล    "อย่าเพิ่งเขียน     เดี๋ยวเดี๋ยวจะผิดความประสงค์ของ พระองค์ บวรฯ   ท่านอาจจะไม่ต้องการให้พระเจ้าอยู่หัว  ทรงทราบล่วงหน้าก็ได้" ผู้บังคับกองร้อยทหารปืนใหญ่โคราช  ห้าม  และนิ่งคิดชั่วขณะ  แล้ว กล่าวว่า  "บางทีจะรายงานถวายได้เมื่อจวนๆ จะลงมือ" ข้าพเจ้าเล่าให้พี่ชายฟังว่า ทางกรุงเทพฯ   ก็มีนายทหาร ผู้ใหญ่ในประจำการหลายคน   กำลังคิดจะทำอะไรๆ อยู่เหมือกัน........   ก่อนจากกันไปนอนตอนใกล้รุ่ง   พี่ชายได้ขอร้องว่า    ถ้ามี เรื่องสำคัญๆ  ในการเมือง   ก็ขอให้บอกให้รู้บ้าง   ถ้าด่วนก็ใช้โทรเลข ฝ่ายเขาก็จะส่งข่าวความเคลื่อนไหวให้  ข้าพเจ้าได้ทราบด้วยเช่นกัน ข้าพเจ้ารับปากไว้กับท่านผู้สำเร็จราชการฯ  และกำลังเดินทางไปนครราชสีมา   เพื่อขอทราบจากผู้บังคับกองร้อยทหารปืนใหญ่ โคราชว่า  ถึงเวลาจะรายงานกราบบังคมทูลได้หรือยัง และแผนการ ละเอียดมีอย่างไร    ข้าพเจ้าต้องการทราบอย่างถี่ถ้วนที่สุด

            ที่สถานีโคราช     เวลา   18.00  น. พอขบวนรถไฟเข้าเทียบชานชาลา  ข้าพเจ้าก็ได้เห็นพี่ชายยืนชะเง้อ คอรอรับอยู่แล้ว   เขาได้รับโทรเลขรหัสของข้าพเจ้าที่แจ้งล่วงหน้า ว่าจะไปถึงในเย็นวันนั้น-จึงมารับ  เพราะรู้ว่าเป็นครั้งแรกในชีวิต ที่ข้าพเจ้ามีโอกาสมาเหยียบเมืองนครราชสีมา   ทั้งๆที่เรา ก็มีเชื้อ ไขไปจากคนสำคัญของเมืองนี้ในสมัยเก่าอยู่นิดหนึ่ง  คือคุณย่าของ เราเป็นธิดาของเจ้าพระยานครราชสีมา ในรัชกาลต้นๆ  ของพระ ราชวงศ์จักรี   (ท่านเจ้าพระยาผู้เป็นโอรสของสมเด็จพระเจ้ากรุง ธนบุรี)   การมาโคราช  ครั้งนี้จึงมีความหมายพิเศษ  ว่าได้มาถึง บ้านเกิด  ของคุณย่าที่ข้าพเจ้าไม่เคยเห็น  เพราะท่านรีบจากคุณปู่ ไปปรโลก  เสียตั้งแต่บิดาข้าพเจ้า ยังเยาวัย   ออกจากสถานีรถไฟพร้อมพี่ชาย   และได้พบทหารรับใช้ ยืนอยู่กับม้าสามตัว    เป็นอันว่าข้าพเจ้าจะต้องขี่ม้าไปกรมทหาร เพราะเขาเอาม้ามารับ   "ผู้กอง"    คงสังเกตเห็นข้าพเจ้าทำจมูกย่น จึงเอ่ยขึ้นว่า  "เจ้านี้มันเชื่องมาก   ไม่ต้องกลัวตก" พอได้ยินคำนี้   ข้าพเจ้าก็หวนนึกถึงคราว ที่ไปพักอยู่กับ เขา ที่ค่ายจักรพงษ์ดงพระราม ตอนหยุดเทอมปลายของมหา วิทยาลัย   เมื่อปี  2466   ข้าพเจ้าชอบขี่ม้าเล่นมากที่สุด  เพราะพาหนะมีแต่ม้ากับ รถจักรยานเท่านั้น    ควายไม่เกี่ยวนึกถึงเช้าวัน หนึ่ง   กองทหารปืนใหญ่นำม้าไปอาบน้ำที่แม่น้ำปราจิณบุรี  เพราะที่ ดงพระราม  อัตคัดน้ำ  พี่ชายให้ข้าพเจ้าขี่ม้าร่วมเดินทาง ไปเที่ยว เมืองปราจีณด้วย    มันเป็นม้าตัวที่ข้าพเจ้ายังไม่เคยขี่  พี่ชายก็บอก ว่า "เจ้านี่เชื่องมากไม่ต้องกล้วตก"  ประโยคเดียวนี้แหละ  ดงพระราม กับปราจีณบุรีไกลกันมากน้อยมากเท่าไรไม่ทราบแน่นอน จำได้แต่ว่า ต้องวิ่งม้าไปตามถนนดิน และท้องนาที่แห้งแล้งเป็นเวลานานโขอยู่ ตอนขาไปก็เข้าแถวเป็นขบวน อันที่จริงข้าพเจ้าเคยขี่ม้าที่ใช้เทียมรถของบิดา  ซึ่งมีอยู่หลายตัวก่อนใช้รถยนต์ขณะนั้นข้าพเจ้าอายุ 13-14 เคยตกหลังม้าที่ไม่ อานอย่าง  "บ้อท่า" ถึงสองครั้ง...   ระหว่างทางจากสถานีถึงกรมทหาร   เราไม่ได้พูดกันถึงเรื่องใดๆเลย  ข้าพเจ้าเพียงกระซิบบอกที่สถานีรถไฟ  ว่าข้าพเจ้ามาราชการลับ   ที่บ้าน  พ.อ.  พระยาไชเยนทร์ฤทธิรงค์ (อึ่ง  โพธิกนิษฐ์) อดีตผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 6 (นครราชสีมา)  คืนนั้นข้าพเจ้า ได้พบกับ  นายทหารทั้งในและนอกประจำการ  ซึ้งล้วนแต่เป็นตัวสำคัญของฝ่านที่เตรียมการจะโค่นรัฐบาลเผด็จการของพระยา พหลฯ  แต่ไม่ได้พบ  พระองค์เจ้าบวรเดช  ข้าพเจ้าทราบ เพียงว่า  ขณะนั้นท่านไม่อยู่ในจ้งหวัดนครราชสีมา  ที่ประทับ ของท่านถูกปิดเป็นความลับ  บรรดานายทหารในชุมนุมนี้ ใว้วางใจข้าพเจ้า  เพราะได้รู้จักชื่อมาก่อนแล้วโดยทางพี่ชาย ซึ้งเป็นนายทหารชั้น ผู้หมวด แต่มีตำแหน่ง  ผู้บังคับกองร้อย และก็มีความสำคัญมากคนหนึ่ง ในงานใหญ่ ครั้งนั้น  คือทำหน้าที่นายทหารคนสนิท ของพระองค์บวรฯ ข้าพเจ้าถูกซักถามถึงคนสำคัญๆ  ทั้งฝ่ายทหารและ พลเรือนในกรุงเทพฯ หลายคน  ที่ข้าพเจ้าทราบว่ากำลัง คิดการล้มรัฐบาลอยู่เหมือนกัน  แต่เมื่อข้าพเจ้าเอ่ยชื่อ ถึง  นายทหารผูใหญ่ฝ่ายโคราชก็มักจะไม่เชื่อว่าบุคคล นั้นฯ  จะกล้าทำ   เช่น  นายพันเอก ผู้มีความรู้ชั้นอาจารย์คน หึ่งที่ข้าพเจ้าเอ่ยชื่อ  ก็ไม่มีใครเชื่อว่าจะก่อก่ใดๆ  เพราะ เคยถูกพระยาพหลฯ ชวนให้ร่วมการปฏิวัติเมื่อครั้ง 24 มิถุนายน 2475  ก็หลีกเลี่ยงเสีย และในงานใหญ่ ของฝ่านทหารในหัวเมืองครั้งนี้   นายพันเอกผู้นั้น ก็ถูกชวนให้ร่วมด้วย   แต่เขาก็ปฏิเสธเช่นเดียวกัน แสดงว่าเป็นผู้  ไม่ยอมเสี่ยงภัยใดๆ ทั้งสิ้นเรื่องราวต่างๆ  ของวงการทหารในที่ชุมนุมนั้น ส่วนมากข้าพเจ้าเป็นฝ่ายนั้งฟัง    โดยฐานะของความเป็นเด็ก และโดยหน้าที่ พ.27  จนกระทั้งกลับมาถึงบ้านพักจึงได้ บันทึกรายละเอียด เรื่องแผนยาตราทัพทหารหัวเมือง ลงไปทำการล้มรัฐบาลพระยาพหลฯ  โดยมีพลเอก พระองค์เจ้าบวรเดช   อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เป็นแม่ทัพใหญ่ บันทึกรายละเอียดนี้  แสดงกำลังทหารและกำลัง อาวุธของกองทหารแต่ละจังหวัดที่เข้าร่วมงาน จังหวัดใดมีใครเป็นผู้นำ  มีรี้พลและยุธโปกรณ์ จำนวนมากน้อยเท่าใด  แม้จนกระทั่งปืนพกประจำตัวนาย ทหารมีกี่กระบอก  ก็มีปรากฎอยู่ด้วย  ยังไม่ทราบก็เพียงวัน กำหนดที่จะลงมือ ทำงาน  เท่านั้น  ซึ้งก็อยู่ในระยะ ไม่นาน  การที่ต้องรั้งรออยู่  ก็เพราะขณะนั้นยังไม่พ้น ฤดูฝน นำยังนองท้องทุ่งอยู้ทั่วไป  ข้าพเจ้าได้บัทึก หัวข้อเรื่องที่จะต้องเขียนรายงานไว้ครบถ้วนแล้ว ในคืนนั้น

          เช้าวันรุ่งขึ้น ก่อนออกเดินทางไปขึ้นรถไฟ กลับกรุงเทพ  ข้าพเจ้าต้องการที่จะสำรวจภูมิ ประเทศ  ตามที่ว่ามีน้ำเจิ่งอยู่ในท้องท่งนานั้นด้วย ร.ท. ขุนโรจนวิชัย  จึงพาข้าเจ้าไปแวะที่กองบินทหารบก ให้ข้าพเจ้าขึ้นเครื่องบินตรวจการ  ซึ่งมีนายพันตรี หลวงเวหนเหิรเห็จ (ผล หงสกุล) ผ้บังคับกองบินน้อย ของปืนใหญ่โคราช เป็นผู้ขับขี่ขึ้นบินกันเพียง 2 คน บินวนได้ สองรอบก็ต้องรีบร่อนลง เพราะมีเวลาจำกัด จากสถานีหัวโพง  เย็นวันนั้น  ข้าพเจ้าตรงไปยัง พระบรมมหาราชวัง  เข้าพบท่านผู้สำเร็จราชการฯ รายงานด้วยวาจา  เรื่องการเตรียมรี้พลของเหล่าทหาร หัวเมืองหลายจังหวัด  เพื่อยาตราทัพเข้ามาบังคับ รัฐบาลให้ยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ผู้นำกองทัพทหาร หัวเมืองจะเรียกร้อง  "นี่เป็นเรื่องจริงรึ    " ท่านผู้สำเร็จราชการฯ ถามอย่างประหลาดใจมาก  "จริงทุกประการขอรับ"  "รู้เรื่องนี้มานานแล้ว  ใช่ไหม ?"   "ไม่นานเท่าไร  ขอรับ"   "รู้แล้วทำไม  ไม่ทำรายงานกราบบังคมทูล"   "เพราะกระผมยังไม่ทราบรายละเอียดดีพอ"   "เวลานี้พระองค์บวรฯ  อยู่ที่ไหน?"   "พวกที่โคราชไม่ยอมเปิดเผย  ขอรับ" "ก็สืบให้รู้ซิ จะได้กราบบังคมทูลให้ทรงทราบ"  "กระผมคิดว่า  สืบยาก  เพราะเมื่อ  แม่ทัพคนหนึ่ง จะหลบหน้าก็คงจะไม่ซุกอยู่ในที่ที่จะค้นพบ ง่ายๆเหมือน เด็กเล่นซ่อนหา"  "งั้น  ก็อย่าลืมเขียนในรายงานด้วยว่า  พระองค์บวรฯ  กำลังซุ่มซ่อนอย่างมิดชิด"

 

 

พระยาศรีสังกร( ตาด   จารุรัตน์ )

 

พระองค์เจ้าบวรเดช 

หมายเลขบันทึก: 342868เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2010 20:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ขอบคุณที่นำเรื่องราวในอดีตมาให้พวกเราย้อนรำลึกค่ะ

P P

ขอบคุณครับ หากผมไม่ได้ตอบ ไม่ว่ากันนะ

สวัสดีค่ะเบดูอิน

*** แวะมาเยี่ยมค่ะ

*** ขอบคุณที่ทำให้รู้อะไรๆได้มากขึ้นกว่าเดิมค่ะ

อดีตไม่สามารถแก้ไขได้ หากแต่เรียนรู้ไว้ ไม่ให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย

สาธุ เมืองไทยยังไม่ไร้สิ้นคนดี ... ยังหวัง ยังรอ รอเสมอ ... ขอบคุณค่ะ

ถึงจะมีปืนใหญ่ที่ดี...แต่ใยไม่รู้จะยิงที่ใคร....เพราะมีแต่คนไทย..ด้วยกันเอง...

สงครามที่ไม่มีวันจบ...

ไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดในประเทศเรา...

เชิญชมสงครามปราบฮ่อครับ...

สวัสดีครับ

บางครั้งประวัติศาสตร์มันก็ทำให้คนเราเกิดความยับยั้งช่างคิดไปเช่นเดียวกันนะครับ

"เรียนรู้ประวัติศาสตร์ เพื่อมิให้เกิดความผิดพลาดขึ้นมาอีกครั้ง" ผมมักจะสอนนักเรียนอย่างนั้น

ขอบคุณสาระดีๆ ที่นำมาเพื่อให้เกิดการคิดอย่างสมดุลรอบด้านครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท