ชมรมพยาบาลชุมชนเพื่อสังคมสุขภาพดี
ชมรมพยาบาลชุมชนเพื่อสังคมสุขภาพดี จังหวัดสกลนคร sakon nakhon community for healthy society จังหวัดสกลนคร

โครงการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 10 กลุ่มโรคในชุมชน


เป็น 1 ใน 3 โครงการที่ชมรมจะดำเนินการในปี 2553 นี้
จากวิสัยทัศน์ของเราคือ 
เป็น “องค์กรพยาบาลชุมชนที่ให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์เพื่อสังคมดีสุขภาพดี”
มีเป้าหมาย ดังนี้
  1. ประชาชนสามารถจัดการระบบสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชนได้อย่างยั่งยืน
  2. พยาบาลชุมชนมีสมรรถนะในการบริหารจัดการระบบสุขภาพ
  3. มีองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านการพยาบาลชุมชนที่เหมาะสม
มีโครงการที่กำหนดดำเนินการในปีงบประมาณ 2553  มีทั้งหมด  4 โครงการดังนี้
  1. โครงการพัฒนาบริการพยาบาลในชุมชนเพื่อสร้างสุขภาพดี วิถีชีวิตไทย  เป็นโครงการท้าทายระดับอำเภอและกำหนดให้อำเภอที่สนใจเลือกเป็นโครงการท้าทายของอำเภอ  
  2. โครงการพัฒนามาตรฐานบริการปฐมภูมิ  ( PCUA ) จากนโยบายของ สปสช. กำหนดให้มีการพัฒนายกระดับคุณภาพระดับปฐมภูมิจากการพัฒนาตามมาตรฐานบริการปฐมภูมิ ( PCUA ) เป็นการพัฒนาตามมาตรฐาน PCA :  Primary  Care  Award
  3. โครงการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 10 กลุ่มโรคในชุมชน กำหนดดำเนินการตั้งแต่เดือนมกราคม 2553 เป็นต้นไป 
  4. โครงการเสริมสร้างทักษะการปฏิบัติงานของพยาบาลชุมชน
หมายเลขบันทึก: 342338เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2010 13:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ทีมผู้รับผิดชอบจัดทำแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 10 กลุ่มโรค

โรคเบาหวาน  โรคความดันโลหิตสูง

คำตากล้า        / โคกศรีสุพรรณ

โรคไตวาย / CAPD

เมือง

โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย  MI

พังโคน            /  วาริชภูมิ

โรคหลอดเลือดสมอง(อัมพฤกษ์ อัมพาต)

วานรนิวาส         / บ้านม่วง

โรคมะเร็ง

พรรณนานิคม / ภูพาน

โรคจิต

เมือง               /  นิคมน้ำอูน

ผู้พิการ

เต่างอย           /   เจริญศิลป์

ผู้สูงอายุ อายุตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไป

กุดบาก          /   โพนนาแก้ว

วัณโรค  โรคเอดส์

สว่างแดนดิน /    อากาศอำนวย

โรคหอบหืด  โรคถุงลมโป่งพอง / COPD

กุสุมาลย์         /   ส่องดาว

ระยะที่ 1.

  1. ม.ค. – ก.พ.53 มอบหมายให้คณะกรรมการพยาบาลชุมชนที่ปฏิบัติงานใน CUP และ ใน PCU ทบทวนองค์ความรู้ด้านการพยาบาลและด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง จัดทำยกร่างแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 10 กลุ่มโรค ดำเนินการยกร่าง CNPG
  2. วันที่ 15 ก.พ.53 จัดประชุมนำเสนอร่าง CNPG โดยมีพยาบาลชุมชนที่ปฏิบัติงานใน CUP และ ใน PCU ทุกอำเภอในเขตจังหวัดสกลนคร เป็นผู้พิจารณาและให้ความเห็นเพิ่มเติม
  3. วันที่ 25 ก.พ.53 รวบรวม CNPG 10 กลุ่มโรคที่ปรับแก้ไขครั้งที่ 1 เพื่อใช้เป็นฉบับร่างสำหรับใช้เป็นคู่มือดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 10 กลุ่มโรคในชุมชน ของจังหวัดสกลนคร

ระยะที่ 2.

มี.ค. – พ.ค.53 พยาบาลชุมชนทุกหน่วยบริการ นำแนวปฏิบัติที่จัดทำขึ้นไปทดลองใช้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 10 กลุ่มโรคในพื้นที่บริการที่ตนเองรับผิดชอบ มอบหมายให้ทุกหน่วยบริการพัฒนา CNPG และปรับใช้ให้สอดคล้องกับบริบทของตนเอง

ระยะที่ 3.

 

10 – 12 พ.ค.53 จัดประชุมวิชาการเรื่อง การจัดบริการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 10 กลุ่มโรคในชุมชน และปรับ CNPG ให้เป็นมาตรฐานกลางฉบับที่ 1 ของจังหวัดสกลนคร

ระยะที่ 4.

ก.ค.53 จัดประชุมเครือข่ายบริการปฐมภูมิและชมรมพยาบาลชุมชนเพื่อสังคมสุขภาพดี เพื่อจัดการความรู้และถอดบทเรียนผลการดำเนินงาน ( ได้รับสนับสนุนงบจากโครงการจัดการความรู้ของ สปสช.เขต 8 อุดรธานี ) และเผยแพร่เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ในเวทีจัดการความรู้เสมือนจริง ใน Weblog

ระยะที่ 5.

พ.ย.53 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการนำเสนอผลงาน “การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 10 กลุ่มโรคในชุมชน” ของเครือข่ายพยาบาลต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมอบเกียรติบัตรหน่วยบริการที่มี Good Practice

รายละเอียดกิจกรรมระยะที่ 3.

  • วันที่ 10 – 12 พ.ค.53 ประชุมวิชาการเรื่อง การจัดบริการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 10 กลุ่มโรคในชุมชน
  • สถานที่จัดประชุม : โรงแรมในเขตเทศบาลเมืองสกลนคร
  • หน่วยคะแนนการศึกษาต่อเนื่อง : ขอความอนุเคราะห์จากคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นสถาบันหลักที่ขอหน่วยคะแนน CNEU ให้ โดยจังหวัดสกลนครจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายดำเนินการเอง
  • วิทยากร : ขอรับการสนับสนุนวิทยากรจากคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 2-4 ท่านดังนี้
  1. ผศ.ดร.เสาวมาศ เถื่อนนาดี ขอเชิญเป็นเกียรติบรรยาย เรื่อง “บทบาทของสภาการพยาบาลต่อการส่งเสริมและพัฒนาวิชาชีพพยาบาลและความก้าวทางวิชาชีพของพยาบาลชุมชนที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิและตติยภูมิ” จำนวน 2 ชั่วโมง และร่วมเวทีเสวนากับผู้แทนพยาบาลในพื้นที่ ในประเด็น “การเสริมสร้างเอกลักษณ์และการสร้างเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการพยาบาล” จำนวน 3 ชั่วโมง
  2. วิทยากรบรรยาย เรื่อง “กระบวนการจัดการความรู้ทางการพยาบาล” จำนวน 3 ชั่วโมงและฝึกปฏิบัติสุนทรียสนทนาในรูปแบบ World Café ในประเด็น “สิ่งดีๆที่ได้จากการพัฒนา CNPG ฉบับพยาบาลผู้ปฏิบัติงาน” จำนวน 3 ชั่วโมง
  3. วิทยากรบรรยาย เรื่อง “Learning by doing และกระบวนการสร้างแนวปฏิบัติทางการพยาบาลจากประสบการณ์การทำงาน ” จำนวน 3 ชั่วโมง และประชุมกลุ่มระดมสมองเพื่อพัฒนาCNPG:“แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง10กลุ่มโรคในชุมชน” จำนวน 3 ชั่วโมง
  • สถานที่จัดอบรม / อาหาร / ที่พัก : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนครเป็นผู้ประสานและจัดเตรียม
  • การประชาสัมพันธ์ /ลงทะเบียน / เตรียมเอกสารประกอบการอบรม : ชมรมพยาบาลชุมชนเพื่อสังคมสุขภาพดี จังหวัดสกลนคร เป็นทีมงานดำเนินการ
  • การนำเสนอ Poster Presentation : เรื่องเล่าจากพยาบาลชุมชน ประเด็น “บันทึกความดีสู่การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 10 กลุ่มโรคในชุมชน”

สวัสดีคะพี่ๆ หนูเป็นพยาบาลชีพ ที่ทำงานใน สอ. โนนทอง จ.อุดรคะ พวกหนูก็กำลังเริ่มก่อตั้งชมรมพยาบาลชุมชนเพื่อสุขภาพดี แต่ตอนนี้อยู่ช่วงรวมกลุ่มกัน ระดับอำเภอคะ โซน หนูได้รับมอบหมายเรื่อง CPG โรคเรื้อรัง แต่พวกหนูยังไม่ได้ทำอย่างครอบคลุมแบบสกลนะคะ พวกหนูลองแค่โรค เบาหวาน-ความดันและไตวายก่อนคะ เลยอยากรบกวนพี่ๆ ขอมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังในชุมชน สามโรคนี้ ให้ดูเป็นตัวอย่าง บ้างได้ไหมค่ะ ..นะคะนะคะ..จะขอบคุณอย่างสูงเลย เห็นแต่ชีพน้อยๆ หน้าดำๆ เอ้ย..ตาดำๆ..ที่ต้องนำงานไปนำเสนอ วันพฤหัสนี้ด้วยเถอะคะ....plese.....

สุวรรณา นาควัชรางกูร

หนูด้วยค่ะ พยาบาลวิชาชีพในรพสต.ค่ะ แต่อยู่จังหวัดชลบุรี ไม่ใช่สกลนคร เห็นชมรมนี้แล้วชื่นชมสุดๆๆๆ เก่งกันจัง แชร์ให้ชลบุรีบ้างได้ม๊ายคะ อยากได้ อยากได้น้ำลายหก ประชาชนชาวไทยได้รับบุญกุศลครั้งนี้ด้วยนะคะ....ขอบพระคุณงามๆๆๆ มาร ที่นี่ก่อนล่วงหน้าเลยค่ะ..............

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท