ยาหอม สรรพสมุนไพรจากภูมิปัญญา …ที่วิทยาศาสตร์พิสูจน์ได้


ยาหอม สรรพสมุนไพรจากภูมิปัญญา …ที่วิทยาศาสตร์พิสูจน์ได้

ยาหอม สรรพสมุนไพรจากภูมิปัญญา…ที่วิทยาศาสตร์พิสูจน์ได้

        คงปฏิเสธได้ยากว่า ภาพลักษณ์ของ ยาหอม ในความรู้สึกของคนยุคนี้ คือ " ความแก่ ชรา โบร่ำโบราณ "

ดอกบัว

           แต่ทราบไหมว่าสิ่งที่ซ่อนอยู่ภายใต้เปลือกแห่งความเก่าเก็บนี้ กลับเต็มเปี่ยมไปด้วยคุณค่าแห่งภูมิปัญญา ของคนรุ่นก่อนที่สั่งสมมาตั้งแต่สมัยอยุธยามาจนกระทั่งปัจจุบัน


             ปัจจุบันเรามียาหอมมากกว่า 500 ตำรับ ซึ่งแต่ละตำรับประกอบไปด้วยสมุนไพรมากมายหลายสิบชนิด อาทิ  "ขิง ดีปลี สะค้าน ช้าพลู เจตมูลเพลิงแดง แห้วหมู เทียน กระวาน กานพลู จันทร์ เปราะ เกสรบัวหลวง ฯลฯ  โดยสันนิษฐานกันว่าที่มาของชื่อยาหอมนี้น่าจะมาจากกลิ่นของสมุนไพรในตำรับ ยา เช่น จันทน์เทศ จันทน์แดง  จันทร์ขาว ดอกพิกุล บุนนาค สารภี ใบพิมเสน เกสรบัวน้ำ เปราะหอม " เป็นต้น


ดอกพิกุล    

  ในส่วนของสรรพคุณ นอกจากยาหอมจะช่วยแก้อาการปวดดมึนศีรษะ เป็นลม วิงเวียน หน้ามืด ใจสั่น อย่างที่ เรารู้ๆ กันแล้ว ยังช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย นอนไม่หลับ ปวดศีรษะข้างเดียว ความดันโลหิตต่ำ รวมทั้ง บำรุงประสาทและบำรุงหัวใจอีกด้วย ที่สำคัญคือ ปัจจุบันมีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถพิสูจน์ได้ถึง สรรพคุณต่างๆ ของยาหอมมีส่งผลต่อระบบต่างๆ ในร่างกายของเราด้วย


สรรพคุณที่วิทยาศาสตร์…พิสูจน์ได้

             โครงการวิจัยวิธีการเตรียมสารสกัดและการควบคุมคุณภาพทางกายภาพและเคมีของ ตำรับยาหอม เป็นหนึ่งใน โครงการบูรณาการนำร่องงานวิจัยด้านการพัฒนาสมุนไพร ที่ได้รับทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยเมื่อ ปี 2546 –2547 ที่ รศ.พร้อมจิต ศรลัมพ์ แห่งภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  บอกว่า ข้อมูลศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์นี้ น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นในการดึงศักยภาพของตำรับยาแผนโบราณให้ กลับเข้ามาอยู่ในกระแสสังคมอีกครั้ง และเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาและการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนได้ จึงได้คิด ทำวิจัยนี้ขึ้นมา โดยมี รศ.ดร.นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ เป็นหัวหน้าโครงการ และได้เลือกทำการศึกษาเปรียบเทียบ ตำรับยาหอม 3 ตำรับคือ ยาหอมนวโกฐ ยาหอมอินทรจักร ซึ่งเป็นยาในชื่อบัญชียาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ ของกระทรวงสาธารณสุข 2 ตำรับ มีสมุนไพรเป็นส่วนประกอบกว่า 50 ชนิด และยาหอมของภาคเอกชน 1 ตำรับ  ซึ่งยาหอมทั้ง 3 ตำรับนี้จะมีสมุนไพรที่ทับซ้อนกันอยู่ประมาณ 40 ชนิด วิธีการวิจัยก็คือ เตรียมสารสกัดของ สมุนไพรแต่ละตัวออกมาก่อน ซึ่งการสกัดที่ดีจะได้สารที่ออกฤทธิ์ที่เข้มข้น สามารถกำจัดเชื้อโรคที่ปนเปื้อน และ สามารถนำไปทดสอบกับสัตว์ทดลองได้ จากนั้นจึงนำไปทดสอบสรรพคุณทางเภสัชวิทยา โดยผลจากการวิจัย ครั้งนี้ทำให้เรารู้ว่าสารสกัดยาหอมทั้ง 3 ตำรับนี้มีฤทธิ์ต่อระบบต่างๆ ในร่างกายเรา คือ



    ยาหอมมีฤทธิต่อหัวใจ คือสามารถเพิ่มความแรงการบีบตัวของหัวใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งสารสกัดยาหอม อินทร- จักร

    มีฤทธิ์เพิ่มความดันโลหิต โดยเฉพาะในขนาด 4 กรัมผงยาหอม/กิโลกรัม มีฤทธิ์เพิ่มความดันเลือด systolic,  diastolic และความดันเลือดเฉลี่ย โดยมีผลต่อความดันเลือด systolic มากกว่า ความดันเลือด diastolic และ ความดันเลือดเฉลี่ย  

อัตราการไหลเวียนเลือด

  มีฤทธิ์ต่ออัตราการไหลเวียนในหลอดเลือดสมอง พบว่า หลอดเลือดเล็กที่ไปเลี้ยงสมองขยายตัว และปริมาณ เลือดที่ไปเลี้ยงสมองเพิ่มขึ้น

           
  มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง หรือส่งผลต่อการนอนหลับ ได้ โดยสารสกัดยาหอมของเอกชนและ อินทจักรมีฤทธิ์กดต่อระบบประสาทส่วนกลางเมื่อให้สัตว์ทดลองได้รับเฉพาะแต่ สารสกัด แต่ถ้าให้สารสกัดยาหอม ทั้ง 2 ชนิดนี้ร่วมกับ entobarbital ซึ่งเป็นยานอนหลับ จะพบว่าสารสกัดทั้งสองชนิดทำให้ระยะเวลาการออกฤทธิ์ ของยานอนหลับยาวนานขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะสารสกัดยาหอมนวโกฐมีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง มากกว่า 2 ชนิดแรก

 

  • ฤทธิ์ต่อระบบทางเดินอาหาร สารสกัดยาหอมนวโกฐจะมีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งกรดของกระเพาะอาหาร ซึ่งพบว่า  "ยาหอมนวโกฐมีผลยับยั้งการหดตัวของลำไส้เล็กได้มากกว่าอีก 2 ตำรับ "


  • ฤทธิ์แก้อาการคลื่นไส้/อาเจียน สารสกัดยาหอมอินทรจักรสามารถต้านการอาเจียนได้

 

     จากผลการวิจัยนี้จะเห็นว่ายา "หอมแต่ละตำรับ แม้จะให้ผลโดยรวมคล้ายกัน แต่มีน้ำหนักในสรรพคุณต่างๆ ที่ ต่างกัน ซึ่งเราสามารถเลือกใช้ได้ เช่น ยาหอมนวโกฐทำให้หลับสบาย แก้ปวดท้องได้ดีกว่า ขณะที่ยาหอมอินทร- จักรแก้คลื่นไส้ได้ดีกว่า "

       นอกจากนี้ ในงานวิจัยนี้ยังได้ทดสอบความเป็นพิษของยาหอมทั้ง 3 ชนิดด้วยว่าเป็นอย่างไร ซึ่งผลที่ได้ไม่พบ ว่ามีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต ค่าเคมีของเลือด รวมทั้งการทำงานของระบบตับและไตของของหนูที่ทำการทดลอง…ซึ่งนั่นหมายถึงความ ปลอดภัยในการใช้นั่นเอง

      อย่าง ไรก็ตาม แม้คุณค่าที่ซุกซ่อนอยู่ในตำรับยาหอมจะได้รับการพิสูจน์ด้วยวิธีทางวิทยา ศาสตร์แล้วว่าส่งผลต่อการระบบต่างๆ ในร่างกายเราอย่างไร แต่การที่ยาหอมจะกลับมามีที่อยู่ที่ยืนในสังคมไทยได้มากน้อยแค่ไหนนั้นก็ ขึ้นอยู่กับคุณ ๆ แล้วละค่ะ

           ตอนนี้ ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพเเผนไทย โรงพยาบาลสอง อำเภอสอง จังหวัดเเพร่ ไ้ด้ผลิต ยาหอมนวโกฐ ซึ่งเป็นยาสมุนไพรในบัญชียาหลักเเห่งชาติ ขึ้นมาเพื่อรองรับการรักษา ผู้ป่วย ในงานผู้ป่วยใน เเละผู้ป่วยนอก


เอกสารอ้างอิง:

โดย กองบรรณาธิการจดหมายข่าวเพื่อนธรรมชาติ ฉบับพิเศษ 2 เมษายน-มิถุนายน 2552

หมายเลขบันทึก: 342040เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2010 15:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ชื่อก็หอม แล้วยังช่วยรักษาโรคด้วย ดีจังจ้า / pattarin_om

ยินดีด้วยน่ะค่ะ เพราะ ความตั้งใจเเละทุ่มเทของพี่ๆ กลุ่มงานเเพทย์แผนไทย โรงพยาบาลสองทุกคน น่ะคะ ที่มีความพยายามเป็นอย่างดี ของชื่นชม พี่ๆทุกคน เเละเป็นกำลังใจให้ ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท