สวนพนาวัฒน์.....บายศรีของคุณครูวิรัตน์


ความตั้งใจของน้องครูวิรัตน์ที่ฉันเรียกชื่อสั้นๆคำเดียวว่าน้องวิ

 สร้างความประหลาดใจให้ฉันมาก

แต่ก่อนที่จะเล่าเหตุที่ทำให้ประหลาดใจก็ขอย้อนเหตุการณ์นิดหนึ่งค่ะ

 เมื่อเรากลับจากไปเก็บตะวันยามเช้า

ของวันแรกที่มาถึงไว้ในกล้องของแต่ละคนแล้ว

 ก็ไปรับประทานอาหารเช้าพร้อมกัน

ทุกคนได้รับคำแนะนำว่ารับประทานอาหารแล้ว

ควรเดินเพื่อช่วยให้ระบบการย่อยอาหารทำงานได้ดี

อีกทั้งยังได้ใช้เวลาทัศนาธรรมชาติ เป็นการเรียนรู้สถานที่..บ้านใหม่ของเรา

เมื่อเดินมาถึงที่พัก ฉันพักเรือนเทพธิดา เรือนเดียวกับน้องวิ

แต่อยู่กันคนละชั้น เรือนพักเป็นตึกคล้ายหอนักศึกษา

แต่สภาพภายในสะอาดตา เจริญใจยิ่งนัก

กลิ่นหอมอ่อนๆของดอกไม้ยามเช้าช่วยให้พวกเรากระปรี้กระเปร่าขึ้นมาทันที

อาการเมื่อยล้าจากการนั่งนอนมาบนรถวีไอพีที่ทางวัดจัดให้นั้น

แม้จะสบายเพียงใดฉันก็ยังรู้สึกอึดอัด

เพราะได้ที่นั่งด้านหน้าสุดซ้ายมือมือขับ

เหตุที่อึดอัดเพราะเมื่อตั้งเก้าอี้ตรงทีไร

ก็จะได้ยินเสียงดังโป๊กทันที

เมื่อศีรษะกระทบเพดานรถ จึงต้องกึ่งนั่งกึ่งนอนมาตลอดทางจนถึงฮอด

โดนเข้าไปสองครั้ง จึงต้องเตือนสติว่าระวังนะ

..ก้มศรีษะไว้...เป็นเช่นนี้ก็เป็นการฝึกสติไปในตัว..ดีเหมือนกัน 

เมื่อเดินมาถึงหน้าเรือนพัก น้องวิก็บอกให้รอเดี๋ยว...ว่างั้นนะ

ไม่ถึง2 นาที เธอก็เดินหน้าบานมา

แล้ววางห่อใบตองตรงหน้า

ค่อยๆหยิบชิ้นงานประดิษบ์ที่ทำด้วยใบตองสวยงามจริงๆ

แล้วร้องบอกให้ฉันช่วยเอาน้ำมันมะกอดทาชิ้นใบตองที่เธอประดิษฐ์จากมหาชัย

ปากก็อธิบายเมื่อฉันสงสัยว่าเอาน้ำมันทาใบตองทำไม

เธอตอบว่าก็ช่วยให้ใบตองเงางาม...เออจริงซิฉันนึกตาม

แล้วประโยชน์อย่างอืช่นมีอีกไหมน้อง...เธอตอบว่า

มีซิพี่คนโบราณนะเขาเก่งนะพี่น๊ะ เขาใช้น้ำมันรักษาใบตองให้สด

ไม่เหี่ยวง่ายนะพี่...ฉันร้องอ๋อ แล้วพลันนึกไปถึงผิวที่แห้งเหี่ยวของตัวเอง เออ...

จริงซิ ฉันไม่เคยเหลียวแลมันเลย ปล่อยมันให้ร่วงเหี่ยวไปตามกาลเวลา

คิดได้อย่างนั้นแล้วฉันก็ถามเธอเบาๆว่า..นี่ใช่น้ำมันมะกอกไหมน้อง

เธอพยักหน้า..ฉันนึกในใจอิอิ..เสร็จเรา

หลังจากเธอสอนให้ฉันนำชิ้นใบตองประดิษฐ์

มาจัดวางในโฟมรูปถ้วยก็ได้งานใบตองที่สวยงามมาๆ 1 คู่

และบอกว่าเดี๋ยวเราเอาไปถวายไว้ที่โต๊ะหมู่บูชาในห้องปฏิบัติธรรมกัน

ฉันจึงขอเธอถ่ายภาพไว้เป็นที่ระลึกและนำฝากเด็กน้อยที่โรงเรียน

ก่อนจะพากันเดินเข้าห้องปฏิบัติธรรมเพื่อร่วมพิธีเปิดตามธรรมเนียม

บายศรีที่คุณครูวิรัตน์ทำมานั้นเหมือนบายศรีปากชาม

ตัวแม่มี 5 ลูก จำนวน 3 ด้าน

แต่ไม่มีไข่ต้ม ครูวิบอกว่าเธอตั้งใจนำมากราบไหว้พระอาจารย์

ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ในการปฏิบัติธรรมครั้งนี้

ฉันรู้สึกชื่นชมเธอมาก และรู้สึกว่าตัวเองนี่ไม่เอาไหนเลย ห่างวัด ห่างวา

จึงต้องอาศัยเธอเป็นเพื่อนชี้แนะ เรียกว่างานนี้ฉันมีคู่หูปฏิบัติก็แล้วกันนะคะ

แม้บายศรีจะเป็นเครื่องบูชาของพราหมณ์ก็ตาม

แต่ด้วยเจตนาอันบริสุทธิ์ และเจตนาแสดงความเคารพต่อพระอาจารย์แล้ว

ฉันก็เห็นคล้อยตามเธอ

ด้วยทุกประการที่จะได้บูชาครูอาจารย์

เธอใช้ดอกบัวตูมสีขาวเสียบยอดกรวยของบายศรี

ฉันทำตามเธอแนะนำ ได้มีโอกาสใช้น้ำมันทาจนทั่วองค์บายศรี

ขณะทาใจก็คิดถึงความงดงามของจิตใจคนเรา

หากได้ทาถูๆด้วยข้อปฏิบัติธรรมบ่อยๆ

ก็คงจะงดงามเป็นเงาวาว

ไม่แพ้บายศรีของครูวิแน่เลย

ฉันเองไม่สันทัดเรื่องนี้เลย

ได้มาเรียนรู้แบบสบายๆในบรรยากาศของกัลยาณมิตรดีๆก็สุขใจโขทีเดียวค่ะ

เชิญอ่านความรู้เรื่องบายศรีเพิ่มเติมที่เว็บข้างล่างนี้นะคะ

http://www.mai95.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=99288&Ntype=2

และพานบายศรีสู่ขวัญที่นี่ค่ะ

http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/sakolnakorn/niwait-s/sec03p01.html

เรื่องของพิธีบายศรีสู่ขวัญค่ะ

http://th.wikipedia.org/wiki

 

มาเล่นเกมสนุก ทายกันว่าคนไหนคือคุณครูวิรัตน์ ผู้มีฝีมือในการทำบายศรีชุดนี้ค่ะ

ขอบคุณทุกท่านที่อ่านค่ะ

หมายเลขบันทึก: 341879เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2010 23:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สวัสดีค่ะพี่ต้อยติ่ง ชอบภาพนี้ค่ะ ทำบายสีเก่งจังค่ะ

ครูต้อย

  • ขอบคุณสำหรับความรู้ดี และมีสาระที่ครูนำมาฝากพวกเรา
  • เคยได้รับการบายศรี ตอนบวชเป็นเณร เป็นพระ
  • บรรยากาศและความรู้สึกในขณะนั้นดีมาก
  • สาระสำคัญหลักประการหนึ่ง คือ การเติมเต็มกำลังใจ รวมไปถึงการสร้างขวัญและกำลัังใจที่ดี
  • เจริญพร
  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาเยี่ยมเยียน กับวันทำงานดี ๆ ด้วยช่อดอกไม้สวย ๆ ค่ะ

P

-ขอบคุณค่ะน้องเกด

บรรยากาศต่างประเทศเป็นไงบ้างคะ

บายศรีสวยมากค่ะ

พี่เองก็เพิ่งมีโอกาสเรียนรู้จากน้องครูเช่นกัน

น้องเกดไม่ทายหรือคะว่าคนไหนคือคนทำบายศรี

แต่ไม่ใช่พี่แน่นอนค่ะ

อิอิ

 

P

กราบนมัสการพระคุณเจ้า เจ้าค่ะ

  • สาระสำคัญหลักประการหนึ่ง คือ การเติมเต็มกำลังใจ
  • รวมไปถึงการสร้างขวัญและกำลัังใจที่ดี
  • อนุโมทนาค่ะ

    งั้นเป็นกุศลจิตและเป็นพลังบวก.....

    ครูต้อยมีประสบการณ์การทำบายศรี..เล็กน้อย

    หากระหว่างที่ได้ใช้น้ำมันมะกอกทาใบตองนั้น

    ครูต้อยรับรู้ว่าใจสงบ และสมาธิอยู่ที่การทาน้ำมัน

    อีกทั้งได้พินิจ  พิจารณาการพับใบตองประกอบเป็นลูกบายศรี

    และเมื่อได้ประกอบบายศรีในชาม

    กลับรู้สึกว่ามันไม่ง่ายจนเกินไป แต่ต้องมีสมาธิ

    ความตั้งใจที่แน่วแน่ประคองและจัดไม่ให้บายศรีล้มลงมา

    แล้วก็นึกต่อไปอีกว่าผู้ที่ทำบายศรีนั้นต้องเป็นผู้ที่มีความชำนาญ

    ช่างสังเกต และจดจำ เพื่อประโยชน์ในการทำบายศรีครั้งต่อไป

    เหมือนตอนที่เริ่มฝึกทำเข็มกลัดเสื้อด้วยข้าวเปลือก

    เอาข้าวเปลือกมาเรียงเม็ดให้มีขนาดเท่ากัน

    หันหน้าข้าวเปลือกไปทางเดียวกัน

    อันนี้ต้องมีความสังเกต และจดจำลักษณะของข้าวเปลือก

    ว่าข้าวเปลือกจะกลับหลังหันชนกันหรือเรียงตามกันไป

    การวางระยะของข้าวเปลือกก็ต้องรู้จักผ่อนและตึงระยะให้พอเหมาะ

     เพื่อให้เมล็ดที่เรียงมาบรรจบครบ 1 รอบ

    แล้วจะขึ้นแถวใหม่ได้อย่างไรจึงจะพอเหมาะมองดูแล้วสวยงาม

    เป็นสิ่งที่สันทัดมากกว่าการทำบายศรี

    แต่ก็เข้าใจว่าไม่ว่าจะทำอะไร ก็ต้องมีความตั้งใจที่จะทำให้สำเร็จ

    และจะให้สำเร็จแบบไหน ก็ต้องใช้การสังเกต จดจำ จนเป็นนิสัย

    เป็นความชำนาญ อันนี้คงต้องรวมอารมณ์สุนทรีย์เข้าไปด้วยมั๊งคะ

    ผลงานการประดิษฐ์จึงจะดูมีชีวิตชีวา

    กราบนมัสการขอบพระคุณเจ้าค่ะ

     

    P

    ขอบคุณค่ะ

    ช่อดอกไม้สวยมากค่ะ

    สวยเหมือนคนให้เลยนะคะ

    รูปนี้พี่ถ่ายตอนตี 4 ค่ะ

    ก่อนเข้าไปทำสมาธิและรอทำวัตรเช้าพร้อมกัน

    ขอบคุณค่ะ

    สวัสดีค่ะครูพี่ต้อย ... บายศรี งาม ประณีตมากๆ ค่ะ

    เคยลองทำช่วงอยู่อิสานแล้วแบบ กว่าจะได้สักชิ้น ยากค่ะ

    .. เอาน้ำมันมะกอกทาด้วย ว้าว  ว่าทำไมแวว สวยจังค่ะ

    P

    น้องPooคะ

    พี่ขอโทษด้วยค่ะที่แจ้งข่าวผิด

    ขอแก้ไขจากกระพังงาเป็นกระบี่นะน้อง

    ขอโทษๆๆๆค่ะ

    สงสัยตัวไปกระบี่

    แต่ใจอยู่พังงาเสียแล้วละมั๊ง อิอิ

    สำหรับการทาน้ำมันให้บายศรี นั้น

    น้องครูวิบอกว่าจะช่วยให้ใบตองสด

    และไม่เหี่ยวเร็วเกินไป

    เป็นจริงด้วยค่ะ

    เพราะตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติธรรมนั้น

    พี่สังเกตบายศรีไม่เหี่ยวเลยเป็นเวลา 7 วัน

    ยกเว้นดอกบัวเท่านั้นที่เหี่ยวเร็วกว่ากำหนด

    อาจเป็นเพราะไม่ได้น้ำ

    เลยคิดต่อไปว่าถ้าจะให้ดอกบัวไม่เหี่ยวเร็ว

    จะทำอย่างไร

    ขอบคุณค่ะ

    P

    ขอบคุณค่ะ

    เป็นความประทับใจนะคะ "เรามีกัน วันนี้ เพราะมีครู"

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท