องค์กรพยาบาล-ศูนย์8
กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 8

แลกเปลี่ยนเรื่อง "ครอบครัวศึกษา"


ความรัก ความเข้าใจในครอบครัว นำพาให้เกิดความสุขในครอบครัว

    "ร่วมคิด ร่วมเรียนรู้ สู้วิกฤตครอบครัวไทย"  เป็นหัวข้อที่ได้รับมาจากหนังสือเชิญเข้าร่วมประชุม....เห็นเรื่องก็สนใจแล้ว พอดูมาถึงรายละเอียดกิจกรรม และศึกษาเจตนาอันมุ่งมั่นของทีมผู้จัด ..มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว ที่จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 เมื่อก.พ.ที่ผ่านมา   วันที่ไปร่วมงานก็เดินทางเช้าจากนครสวรรค์ ไปถึงสถานทีจัดงาน..มสธ.นนทบุรี งานเริ่มตรงเวลาดี รูปแบบเรียบง่าย และมีเอกสารแจกฟรีเยอะมากๆ กิจกรรมแต่ละห้องย่อยมีการแลกเปลี่ยนแบบเป็นกันเอง ทั้งๆที่เป็นเวทีนำเสนอผลงานวิจัยเชิงคุณภาพของนักศึกษาสถาบันต่างๆ และช่วงบ่ายเป็นเวทีแลกเปลี่ยนในเรื่องครอบครัวแต่ละประเด็นให้เลือกเข้าฟังตามที่สนใจ  เลยนำมาฝากได้บางประเด็นที่ได้เข้าไปรับฟังมา

      สถานการณ์การแต่งงานที่เปลี่ยนแปลง

1.ชะลอเวลาในการเริ่มสร้างครอบครัว

2.โสดมากขึ้น

3.รูปแบบการแต่งงานเริ่มท้าทาย (อยู่ก่อนแต่ง)

4.การหย่าร้างเพิ่มขึ้น : ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว

   จากข้อมูลนี้อนาคต..จะเกิดปัญหาอะไร ? เด็กรุ่นลูกเราๆก็แบกรับผู้สูงอายุที่อายุยืนยาวขึ้น และไม่มีลูกหลานมาดูแลตัวเอง เพราะโสดมากขึ้น

   อ.ศิวพร ปกป้อง พูดถึง  ครอบครัวสุขภาวะ

ที่ควรหยุด 4 เรื่องหลัก คือ อบายมุข หนี้สิน ความรุนแรง และการนอกใจ

และสร้าง 4 เรื่องหลัก คือ สื่อสารดี มีเวลาร่วมกัน แบ่งปันใส่ใจ และห่วงใยสุขภาพ

  ความรัก และความเข้าใจ ในครอบครัว = ความสุขในครอบครัว  

  ความเข้าใจ = การสื่อสาร ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันและกัน

     นพ.สุริยเดว ทรีปาตี  บรรยายถึง "ต้นทุนชีวิต"  หมายถึง ปัจจัยสร้างหรือคุณลักษณะที่ดีที่ประกอบด้วยด้านจิตใจ สังคม วัฒนธรรมที่ส่งผลต่อกระบวนการคิด การตัดสินใจ และแสดงออกในรูปแบบพฤติกรรมต่างๆ ซึ่งเป็นผลมาจากการได้รับการเสริมสร้างให้เกิดขึ้นตั้งแต่แรกเกิดจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งการเสริมสร้างต้นทุนชีวิตเด็กและเยาวชนนี้ย่อมมาจากการได้รับอิทธิพลจากปัจจัยในตัวเด็กเอง และจากปัจจัยภายนอก อันได้แก่ ครอบครัว โรงเรียน เพื่อนและชุมชน ซึ่งหากสามารถควบคุมปัจจัยและเสริมสร้างปัจจัยให้เหมาะสมจะส่งผลต่อต้นทุนชีวิตที่ดีให้กับเด็ก

  อาจารย์มีแบบประเมินแนบมาให้ เพื่อให้ประเมินต้นทุนชีวิต ในแต่ละด้าน

  •พลังตัวตน

  •พลังครอบครัว

  •พลังสร้างปัญญา

  •พลังชุมชน

  •พลังเพื่อนและกิจกรรม

 เมื่อทดสอบรู้จุดแข็ง จุดอ่อนก็นำมาวางแผนร่วมกันกำหนดกิจกรรมสร้างสรรค์ต่างๆ ที่ควรเป็นกิจกรรมเชิงบวก เพราะทุกคน ทุกวัย มีพลังและศักยภาพในตนเอง

  จุดเปลี่ยนในวงจรชีวิตเด็ก 3 ช่วงสำคัญ

  •แรกเกิด-6 ปี  : สถาบันครอบครัว เป็นหัวใจสำคัญ

  • 6-12 ปี    : สถาบันครอบครัวและสถาบันการศึกษา เป็นหัวใจสำคัญ

  •12-25 ปี   : เพื่อน และชุมชน เป็นหัวใจสำคัญ

  .................................................

เด็กวัย 3 ขวบปีแรก พ่อแม่รู้ทุกอย่าง

5 ปี           พ่อแม่รู้เกือบทุกอย่าง

8 ปี           พ่อแม่รู้เป็นส่วนใหญ่

12 ปี         พ่อแม่ก็รู้บ้างเหมือนกัน

15 ปี         พ่อแม่ไม่รู้อะไรเลย 

20 ปี         พ่อแม่ไม่ค่อยฉลาดนัก     เราต้องสอนพ่อแม่

   สรุปก็คือ จะสอนลูกก็ควรรีบสอนซะตั้งแต่ยังเล็ก โดยเฉพาะวัย 12 ปีแรกของชีวิต เพราะลูกยังเกี่ยวพันกับครอบครัว และศรัทธาในพ่อแม่ตนเอง

 

คำสำคัญ (Tags): #ครอบครัว#พยาบาล
หมายเลขบันทึก: 341791เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2010 19:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • มีน้องที่ต้องมาทำงานแล้วให้คุณยายเลี้ยงลูกจนกระทั่งตอนนี้ก็เริ่มกังวลเรื่องลูกติดยายมากกว่าแม่ซะแล้ว และกังวลกลัวลูกไม่ทันเด็กในเมือง เพราะเลี้ยงอยู่ที่บ้านนอก (คำพูดนี้น้อง เค้าพูดเองจ้ะ)
  • สมาชิกในห้องเลยได้โอกาสระบายประสบการณ์ที่แต่ละคนอยากบอกเล่าเพื่อผ่อนคลายให้น้อง และในทางเดียวกันผ่อนคลายตัวเองด้วย

ตัวเรา :  ก็ถูกเลี้ยงมาจากยายแบบครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวเลย เพราะพ่อกับแม่เลิกกันตั้งแต่เรายังเป็นเด็กน้อย ติดยายไม่ติดแม่เลย มาสนิทกับแม่มากขึ้นก็สมัยทำงานแล้ว มีครอบครัวเป็นของตัวเองนี่ล่ะ มุมดีๆที่ได้จากยายก็มีมาก มุมดีๆที่ได้จากเป็นเด็กบ้านนอกก็ดีที่ได้ประสบการณ์ตรงของชีวิต ลงมือทำเอง ไม่ติดเกม ไม่ติดทีวี ไม่ติดเพื่อน เพราะบ้านนอกจะสงบ ชีวิตจะเรียบง่าย สบายๆ ไม่กดดัน  แต่นี่คือบ้านนอกในอดีตเนาะ

พี่คนที่ 1 : ก็พูดถึงวิธีการเลี้ยงลูกของตนเองที่ค่อนข้างกำหนด เข้มงวด แล้วเจอว่าลูกต่อต้านด้วยการเฉย  นิ่งเงียบ พี่เค้าก็เริ่มได้จุดประกายจากประเด็นการสื่อสารอย่างเข้าใจ ที่จะต้องกลับไปลองใช้ดู

น้องคนที่ 2 : อีกท่านก็เล่าถึงชีวิตตัวเองวัยเด็กที่ถูกเลี้ยงมาอย่างเข้มงวด โตขึ้นก็เลยติดมาเป็นบุคลิกปัจจุบัน แล้วยังเผลอไปเข้มงวดกับหลานอีกด้วย ปัญหาคือเมื่อเข้มงวดมาก เมื่อมีปัญหาก็จะไม่กลับไปเล่าให้ผู้ใหญ่ฟัง

ตัวเรา : นึกถึงสมัยเป็นเด็กเราจะถูกสอนให้เป็นเด็กดี ทำดี และเมื่อทำดีผู้ใหญ่ก็ชม แต่เมื่อทำไม่เหมาะเมื่อไหร่ผู้ใหญ่ก็จะเสียใจ และตำหนิเรา แต่สมัยเราเด็กๆ โดยเฉพาะสมัยมัธยมก็อดไม่ได้ที่อยากทำอะไรผิดระเบียบบ้าง เพราะมันรู้สึกว่าเท่ห์ดี  แต่เรื่องแบบนี้เราก็จะไม่เล่าให้พ่อแม่ฟัง เพราะไม่อยากให้พ่อแม่เสียใจ สรุปเราก็จะไปเล่าสู่กันฟังกับเพื่อนในกลุ่ม  เมื่อย้อนกลับมาดูรุ่นลูกหลานเราถ้าเมื่อไหร่ที่ลูกทำตัวออกนอกลู่ทางนิดหน่อย เราก็ควรรับฟังมุมดื้อ มุมนอกกรอบของลูกเรา เพื่อที่ให้ลูกกล้าพอที่จะเล่าให้เราฟังในทุกเรื่องทั้งมุมดี และไม่ดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท