Share..Care..Fair..กุญแจแห่งความสำเร็จ..จริงหรือ?


Share + Care + Fair => กุญแจแห่งความสำเร็จของคนในโลกยุคศตวรรษที่ 21

              เรียนเพื่อนชาวBlog ช่วงนี้ไม่ได้เขียนงานมาให้ชาวBlog วันนี้พอมีเวลาขอพูดคุยเรื่อง Five minds for the Future  ซึ่ง Howard Gardner      นักวิชาการ  ด้านการศึกษา แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ผู้เขียนเรื่อง Frame of Minds และ Changing Minds  โดยพี่เปิ้นได้เรียนแนวคิดของท่าน ผ่านจากท่านอาจารย์ ดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์  มาพูด/สอนให้ที่มหาวิทยาลัย  พอสรุปได้ดังนี้ “จิตสาธารณะ” ทุนของมนุษย์ในโลกยุคใหม่  “บุคคลจะสามารถเอาตัวรอดและประสบความสำเร็จทั้งในด้านการทำงาน และการดำเนินชีวิตในโลกยุคศตวรรษที่ 21 ได้จะต้องมีจิตสาธารณะทั้ง 5 ประการ  ประกอบรวมอยู่ในตัวของคน ๆ นั้น นอกจากนี้ จิตสาธารณะทั้ง 5 ประการ ยังจะ ช่วยจรรโลงให้สังคมโลกในอนาคตเป็นสังคมที่น่าอยู่มากยิ่งขึ้น” จะต้องมีจิตสาธารณะทั้ง 5 ประการ ซึ่งได้แก่

     1. จิตแห่งวิทยาการ (Disciplined Mind) หมายถึง “การเรียนรู้ตลอดชีวิต คิดเป็น ทำเป็น”

     2. จิตแห่งการสังเคราะห์ (Synthesizing Mind) หมายถึง “การสั่งสม ต่อยอด และสร้างนวัตกรรมความรู้”

     3. จิตแห่งการสร้างสรรค์ (Creating Mind) ที่เชื่อว่า “ความคิดสร้างสรรค์สร้างด้วยการหมั่นฝึกฝน”

     4. จิตแห่งความเคารพ (Respectful Mind) หมายถึง “การเปิดใจกว้างพร้อมรับฟังทุกความคิดเห็น”  

     5. จิตแห่งคุณธรรม (Ethical Mind) สรุปได้ว่า “ความรู้คู่ คุณธรรม นำการพัฒนา”

 

    Gardner ยังได้ เน้นว่าจิตทั้ง 5 นั้น มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อมนุษย์ในโลกยุคใหม่ และจะต้องมีครบทั้ง 5 จิต จะขาดจิตใดจิตหนึ่งไปเสียไม่ได้เพราะ จิตทั้ง 5 มีผลต่อการพัฒนาตัวบุคคลทั้งในแง่ การทำงานและการดำเนินชีวิต ซึ่งจะส่งผลให้สังคมมีคนที่มีคุณภาพ โดยจะกลายเป็นพลังในการที่จะขับเคลื่อน องค์กร สังคม และประเทศชาติให้ก้าวไปสู่จุดมุ่งหมาย และยืนหยัดอยู่ภายใต้การแข่งขันในโลกยุคใหม่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน  ถึงความจำเป็นในการเร่งพัฒนาทุนมนุษย์ของประเทศไทยว่า โลกในปัจจุบันได้เปลี่ยนจากสังคมเกษตรกรรมมาสู่สังคมฐานความรู้ซึ่ง กุญแจแห่งความสำเร็จในสังคมฐานความรู้ นั้นประกอบไปด้วย

     1. รู้หรือไม่ว่าในโลกนี้มีอะไร (Knowing)

     2. รู้แล้วนำมาคิดต่อยอดได้หรือไม่ (Thinking)

     3. นำความคิดนี้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้หรือไม่ (Serving)

     4. นำความรู้ที่มีและได้มานั้นมาเป็นประสบการณ์ได้หรือไม่ (Experiencing)

 

 ซึ่งทั้ง 4 ข้อนี้คือองค์ประกอบที่สำคัญของสังคมฐานความรู้ แต่ในสังคมหลังฐานความรู้จะมีองค์ประกอบที่สำคัญอีก 4 ข้อ ==> เข้ามาเพิ่มเติม ซึ่งประกอบไปด้วย

 

     1. ความเชื่อมั่นและความไว้วางใจต่อกัน (Trusting)

     2. ความใส่ใจต่อผู้อื่น (Caring)

     3. การแบ่งบันกับผู้อื่น (Sharing)

     4. ความร่วมมือร่วมใจกับผู้อื่น (Collaborating)
 

   สรุป ได้ว่าในโลกยุคสังคมหลังฐานความรู้จะเป็นการรวมกันขององค์ประกอบหลัก จากสังคมทั้งสองยุค แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของโลกว่ากำลังย้อนกลับไปสู่ค่านิยมในเรื่องของจิตใจที่ดีงามในยุคของสังคมเกษตรกรรม แต่ในขณะเดียวกันมนุษย์ก็ได้นำเอาเทคโนโลยีการสื่อสารมาใช้ให้เกิดเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ซึ่งองค์ประกอบจากสังคมทั้ง 2 ยุคสอดคล้องกับกับแนวคิดเรื่อง “จิตทั้ง 5” ของ Gardner อย่างลงตัว และมีเป้าหมายเดียวกันกับนโยบายการบริหารประเทศ ใน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ที่มุ่งเน้นในเรื่องของ “การเตรียมความพร้อมของคนไทย เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะต้องเผชิญในอนาคต”
     นั่นก็หมายถึงว่านอกจากเราจะสร้างความรู้ให้กับคนแล้ว ยังจะต้องสร้างและพัฒนา ความคิด ทัศนคติ มุมมองต่อโลกและสังคม ในแง่ของ “จิตใจ” ตามแนวทางการพัฒนา “ความรู้คู่คุณธรรม” ให้เกิดขึ้นกับคนในสังคมและประเทศชาติ “โลกในยุคสังคมหลังฐานความรู้จะมุ่งเน้นไปสู่เรื่องของการใส่ใจและการแบ่งปัน คือการที่คนเรามีค่านิยมในเรื่องของจิตสาธารณะก็จะทำให้คนเราเกิดความใส่ใจและห่วงใยกัน แต่ในขณะเดียวกันเราก็นำเอาความรู้หรือข้อมูลต่างๆที่มีออกไปเผยแพร่และแบ่งปันกัน ซึ่งทั้งหมดนี้ก็คือ หัวใจหลักของการพัฒนาทุนมนุษย์”  เพื่อน ๆอ่านแล้วรู้สึกอย่างไรบ้างคะ...... แนวคิดนี้ลงสู่การปฏิบัติได้ อย่างเป็นรูปธรรม และ Disciplined Mind =>  การเรียนรู้ตลอดชีวิต คิดเป็น ทำเป็น =>ความรู้คู่คุณธรรม =>นำการพัฒนา=> ของตัวท่าน=> ครอบครัว=> หน่วยงานและองค์การ คิดได้ ทำได้ พี่เปิ้นคิดว่า“จิตสาธารณะ” ก็เกิดแล้วนะคะ  ยิ่งลงมือทำ => OK ใช่เลยละค่ะ 

 

   ขอบคุณที่ให้เกียรติอ่านบทความ

   Somsri Nawarat

 

 

 


                 ขอบคุณนะคะที่ให้เกียรติอ่านบทความ

                 Somsri Nawarat

                 0819435033

                 รพ.บ้านลาด  จ.เพชรบุรี

หมายเลขบันทึก: 340497เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2010 21:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

สวัสดีคะ พี่เปิ้ล...

รูปนี้ถ่ายที่ไหนคะ

ขอบคุณบทความดีๆ นะคะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ Paula...ที่ปรึกษา(หัวใจ)ที่น่ารัก

  - ขอบคุณนะคะที่ให่เกียรติอ่าน

  - รูปถ่ายที่ประเทศญี่ปุ่นคะ(ตึกฟองเบียร์)

 - สรพ.ก็เป็นสถาบันที่เป็นการส่งเสริมให้เกิด "จิตสาธารณ" ที่น่ายกย่องชมเชยอย่างยิ่งนะคะ(ไม่ได้พูดเอาใจ ท่านอจ. นพ.อนุวัฒน์และ ท่นอจ. ดวงสมรหลอกนะคะ)

 - ขอยกย่อ อจ.Paula อย่างใจจริงนะคะ

 

ขอบคุณคะ

 Somsri (พี่เปิ้น)

คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ
สวัสดีวันหยุดยาวค่ะ..ไปเที่ยวไหนรึปล่าวค่ะ..เอากล้วยบัวมาฝากด้วยค่ะ..เคยเห็นมั้ยเอ่ย..

ดีจังเลยคะ คุณสมศรี ชอบมากคะ บทความประเภทนี้ กำลังฝึกทำ Spiritaul KM ที่ทำงาน หวังไปสู่ Humanization health care ถ้ามีก็ฝากลงแบ่งปันอีกนะคะ

ขอบคุณคะ Suparom

พยาบาลจิตเวช

สวัสดีคะ คุณครูNewบันเทิง

  - ขอบคุณมากที่ให้กำลังใจนะคะ

  - ทำAnimation เจ็งมาก ๆนะคะ(เก่งมากๆ)

  - วันสำคัญทางพุทธศาสนา ไปเวียนเทียนกลับครอบครัวคะ

  - ขอความสุขทั้งกาย+ใจมาสู่ อจ.New เช่นกันนะคะ

    พี่ ฝากขนมของญี่ปุ่นมากฝากนะคะ

    สมศรี นวรัตน์

 

 เรียนน้อง Tuy ที่น่ารักม๊าก ๆ

- ขอบคุณมาก สำหรับคำชมนะคะ

- วันที่9-12มีนา53 พี่เปิ้นนำเสนอผลงาน ที่อิมแพค เมืองทอง มีเวลาเชิญ บูลของรพ.บ้านลาด พี่เปิ้นนำเสนอ 2 เรื่องใน Poster คือ

   1. เรื่อง การดูแลวัยใสอย่างไร้รอยในModel "รุก-รับ-ลับ-ลึก"

   2. เรื่อง "สืบสานวัฒนธรรมหนุนนำบุคคล 3 วัยสดใสด้วยสุขภาพดี"

- และพูดเรื่องนี้อีกครั้ง "สืบสานวัฒนธรรมหนุนนำบุคคล 3 วัยสดใสด้วยสุขภาพดี" ในวันที่ 12 มีค.53 เวลา10.30-12.00 ในแนว HPH (จำห้องไม่ได้)

- พูดในแนว Humanize Health Care ท่านผู้อำนวจการของรพ.พี่เปิ้นท่านพูดในวันที่ 10 มีค.53 เวลา10.30-12.00(จำห้องไม่ได้)

- ถ้าน้องมีเวลาไปเยี่ยมพี่ที่ บอร์ด Poster ของ รพ.บ้านลาด นะคะ

ขอบคุณนะคะ

Nawarat Somsri

 

....ในสังคมหลังฐานความรู้จะมีองค์ประกอบที่สำคัญอีก 4 ข้อ ==> เข้ามาเพิ่มเติม ซึ่งประกอบไปด้วย

     1. ความเชื่อมั่นและความไว้วางใจต่อกัน (Trusting)

     2. ความใส่ใจต่อผู้อื่น (Caring)

     3. การแบ่งบันกับผู้อื่น (Sharing)

     4. ความร่วมมือร่วมใจกับผู้อื่น(Collaborating)


แชร์ แคร์ แฟร์ .. ยังทันสมัยอยู่เสมอ เลยนะคะ

ปชช. ชอบเล่นแชร์ คุณแม่ทุกหัวระแหงชอบใช้ แป้งเด็ก แคร์ คนรุ่นใหม่ชอบไปร่วมกิจกรรมงาน แฟร์

อิ อิ ภาษา พาลากไป .. แก้ตัวใหม่ด้วย Cheers ... Share Care Fair ตัวจริง เสียงจริง ขอบคุณค่ะพี่เปิ้ล

 

Ico48

 

น้อง Poo ที่รัก

- เชื่อเลย.....คิดได้อย่างไร....สุดยอดเลย...น้องสาวเรา

- ความคิดถึง....กำลังเดินทาง...นะคะ

 

 

เพื่อนๆๆค่ะ....เราจะ ตอบคำถามเหล่านี้  ได้อย่างไรค่ะ

     1. ความรู้..........ในโลกนี้มีอะไร (Knowing)

     2. เราจะนำความรู้นั้น.....มาคิดต่อยอดได้หรือไม่ (Thinking)

     3. นำความคิดนั้น....ไปใช้ได้หรือไม่ (Serving)

     4. นำความรู้ที่มีและได้มานั้น....เป็นประสบการณ์ได้หรือไม่ (Experiencing)

 

 

กชพรรณ มีประดิษฐ

โดนใจมากค่ะ

ขอบคุณที่ให้ความรู้ตรงใจมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท