รายงานผลการวิจัยเรื่องการใช้กิจกรรมดนตรีในการแก้ไขปัญหาการประสานสัมพันธ์ระหว่างตากับมือในเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านควนไทรงาม สพท.ระนอง สพฐ.


 

           การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้กำหนดวัตถุประสงค์  ขอบเขตการวิจัยเครื่องมือในการวิจัยวิธีดำเนินการวิจัย  ผลการวิเคราะห์ข้อมูล  สรุปผลการวิจัยและอภิปลายผลตามลำดับ  ดังนี้

จุดมุ่งหมายของการวิจัย

        1.  เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของการใช้ประสาทสัมผัสตาประสานกับกล้ามเนื้อมือ

        2.  เพื่อใช้ขบวนการทางดนตรีในการออกแบบกิจกรรมกาพัฒนาสายตาและการใช้กล้ามเนื้อมือ

        3.  เพื่อผู้เรียนได้ใช้การสัมผัสเกิดการเรียนรู้โดยสื่อวัสดุร่วมกับการพัฒนาเกี่ยวกับกิจกรรมพื้นฐานต่อพัฒนากล้ามเนื้อสายตากับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ

 

ความสำคัญของการวิจัย

 1.  เพื่อการปูพื้นฐานการจัดระบบการรับรู้ในการสร้างและเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่กระบวนการปฏิบัติ

 2 . เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนดนตรีของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่2

           3 . เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อให้มีความสัมพันธ์กับสายตาและการมองเห็น

           4 . เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความสามารถของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่2  ก่อนและหลังเรียน

ขอบเขตของการวิจัย

           การศึกษาครั้งเป็นการออกแบบฝึกและแก้ปัญหาการใช้กล้ามเนื้อกับการประสานกับสายตาโดยการใช้กิจกรรมการปฏิบัติเครื่องดนตรี กับนักเรียนปฐมวัยชั้นปีที่ 2   โรงเรียนบ้านควนไทรงาม เลขที่ 13/2  ต.นาคา    กิ่ง อ. สุขสำราญ    จ.ระนอง   ประจำปีการศึกษา2549   จำนวน 39 คน

 

 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย

    นักเรียนปฐมวัยปีที่ 2   โรงเรียนบ้านควนไทรงาม  ปีการศึกษา2549   จำนวน 39 คน

 ตัวแปรที่สำคัญต่อการวิจัยมี  2  ส่วนดังนี้

          ส่วนที่1  ตัวแปรอิสระ  การใช้กิจกรรมการเรียนดนตรี (การฝึกหัดการใช้มือและนิ้วมือ)

          ส่วนที่2  ตัวแปรตาม    ความสามารถการควบคุมนิ้วมือให้ประสานสัมพันธ์กับสายตากับการมองเห็น

 สรุปผลการศึกษาค้นคว้าอภิปรายผล

         เป็นกิจกรรมที่เป็นต้นแบบการใช้กฎแห่งการรับรู้ในการวางระบบรากฐานการเรียนรู้ในการจัดออกแบบเนื้อหากิจกรรมดนตรีมีองค์ความรู้ด้าน

1. ความรู้เชิงคุณค่า(Qualitative Knowledge)

2 .ความรู้เชิงปริมาณ (Quantitative  Knowledge)   

3. ความรู้เชิงปฏิบัติการ (Per formative  Knowledge)  ควบคุมการสร้างออกแบบนวัตกรรมส่งผลให้นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่2  โรงเรียนบ้านควนไทรงาม   ซึ่งการดำเนินการวิจัยพบว่าได้มีการพัฒนากล้ามเนื้อมือและการสัมพันธ์การใช้สายตาเท่านั้น  แต่ผลของการใช้นวัตกรรม จะส่งผลต่อการจัดระบบความพร้อมโดยตรงต่อสภาวะจากการรับรู้ (Perception)  เปลี่ยนผ่านพฤติกรรมผ่านกระบวนการเป็นการเรียนรู้  ผ่านการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนเครื่องดนตรี  เป็นความรู้เชิงปริมาณ   ความรู้เชิงปฏิบัติการ(วิธีการใช้กล้ามเนื้อ และหลักการปฏิบัติเครื่องดนตรี)    และ3. ความรู้เชิงคุณค่า โดยผ่านสภาวะทางสุนทรียภาพอันได้แก่ 1. การลำลึก   2. คุ้นเคย และ3. ซาบซึ้ง  เป็นการปรับพฤติกรรมการฝึกจิต โดยปฏิบัติที่เพลิดเพลินสู่สมาธิ  ซึ่งเป็นพื้นฐานในการรับรู้กิจกรรมและความรู้อื่นๆ

ปรากฏผลการวิจัยได้ดังนี้ 

 จำนวนนักเรียนที่มีลักษณะปัญหาในการปฏิบัติกิจกรรมดนตรีพัฒนากล้ามเนื้อมือประสานสัมพันธ์กับสายตาและการมองเห็น ที่ปรากฏในลักษณะต่างๆ 

    ตารางที่ 3 แสดงจำนวนนักเรียนที่มีลักษณะปัญหาในการปฏิบัติกิจกรรมดนตรีพัฒนากล้ามเนื้อมือประสานสัมพันธ์กับสายตาและการมองเห็น ที่ปรากฏในลักษณะต่างๆ

 

รายการ 

  จำนวนนักเรียนในชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนบ้านควนไทรงาม  ปีการศึกษา 2549

                                             จำนวน  39  คน

ก่อนฝึก

หลังฝึก

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

1.ด้านการบังคับกล้ามเนื้อ

       1.1 การยืดหยุ่นกล้ามเนื้อมือ

    1.2 การจำกับงอข้อมือ

    1.3 การสั่งการให้ปฏิบัติตาม

    1.4 การใช้กล้ามเนื้อถูกต้องตามการปฏิบัติ

 

2. การปฏิบัติเครื่องดนตรี

       2.1 การจับไม้ตีระนาด / การวางนิ้วบนลิ้มคีย์บอด

       2.2 การจำจำแห่นงเสียงลิ้มคีย์บอด

       2.3 การกดและการบังคับนิ้ว

3.การใช้สายตาการสัมพันธ์การใช้มือในการปฏิบัติเครื่องดนตรี

       3.1  ใช้ตาไม่สัมพันธ์กับมือ

      3.2  ทิศทางการเคลื่อนมือ

      3.3   การมองและวางมือผิดตำแหน่งเสียง

 

 

 

 

32

8

9

15

 

 

7

5

 

2

 

7

 

 

35

39

21

 

 

 

82.05

25.00

28.13

46.88

 

 

17.95

71.43

 

28.57

 

100

 

 

89.74

100

53.05

 

-

-

-

-

 

 

39

3

 

-

 

9

 

 

-

-

-

 

-

-

-

-

 

 

100

7.69

 

 

 

23.08

 

 

-

-

-

 

        จากข้อมูลจะเห็นได้ว่า  ก่อนฝึกจำนวนนักเรียนส่วนใหญ่มีข้อบกพร้องในการใช้กล้ามเนื้อการยืดหยุ่นกล้ามเนื้อมือคิดเป็นร้อยละ 82.05  เป็นส่วนใหญ่  และในรายการที่2 การจับไม้ตีระนาด / การวางนิ้วบนลิ้มคีย์บอด คิดเป็นร้อยละ 71.43  และหัวข้อปัญหาที่3   การใช้ตาไม่สัมพันธ์กับมือ   89.74  เป็นส่วนมาก ซึ่งจากเปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมดนตรีพัฒนากล้ามเนื้อมือประสานสัมพันธ์กับสายตาและการมองเห็นของนักเรียนชั้นอนุบาล 2   โรงเรียนบ้านควนไทรงาม  ประจำปีการศึกษา2549

รายการ

N

X

S.D.

t

คะแนนการทดสอบก่อนการทดลอง

 

คะแนนการทอสอบหลังการทดลอง

39

 

39

11.07

 

16.07

1.20

 

0.87

 

11.03**

                               ค่า t  จากตารางที่ระดับ  .01 = 3.291

            จึงสามารถสรุปได้ว่าการสร้างนวัตกรรมด้านกิจกรรมในครั้งนี้นั้น    พบว่าความสามารถในการฝึกปฏิบัติกิจกรรมดนตรีเพื่อการส่งเสริมและพัฒนากล้ามเนื้อมือประสานสัมพันธ์กับสายตาและการมองเห็นของนักเรียนชั้นอนุบาล 2   โรงเรียนบ้านควนไทรงาม        ปีการศึกษา  2549 มีการพัฒนาขึ้น  เป็นนวัตกรรมในการฝึกให้นักเรียนนั้นเป็นผู้มีกระบวนการทางความคิดอย่างเป็นลำดับขั้นตอน  และสร้างนิสัยเป็นผู้มีความอดทน และเป็นผู้ที่มีวิสัยรักศิลปะ ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวนั้น  เป็นพื้นฐานในการสืบสานวัฒนธรรมทางศิลปะของชาติต่อไป
ข้อเสนอแนะ

  ประโยชน์ / คุณค่าของนวัตกรรม  และการพัฒนาต่อยอด

                15.1 นักเรียนชั้นอนุบาล 2 มีทักษะกระบวนการในการพัฒนาทางการรับรู้ทางประสาทสัมผัสเป็นประสบการณ์ทางการรับรู้อันได้แก่  1.ทางด้านการเห็น     2. การฟัง                  และ  3. การเคลื่อนไหว

                15.2  เป็นการวิจัยในการจัดสร้างหลักสูตรการแก้ไขปัญหาการทางสติปัญญา  และการพัฒนาการของเด็ก

                15.3   เป็นการวางรากฐานความพร้อมในการจัดการศึกษา  ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ ทั้ง  8   กลุ่มต่อไป

          15.4  นักเรียนชั้นอนุบาล 2   มีทักษะกระบวนการในการเล่นดนตรีสูงขึ้น

          15.5  นักเรียนมีสมาธิที่ดีต่อการเรียนและมีความรักในการเรียนดนตรี

          15.6  ผู้ปกครองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพึงพอใจในกิจกรรมการเรียนการสอนดนตรี

 สอบถามรายละเอียดโทร.0825354867

 

หมายเลขบันทึก: 340251เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2010 02:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท