Lean กับพัฒนาบริการอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน


Lean เป็นเครื่องมือขจัดความสูญเปล่า ให้การบริการที่เพิ่มคุณค่า

    1. เหตุผลการพัฒนา Reason for Action

หน่วยผู้ป่วยนอกอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ให้บริการผู้ป่วยอุบัติเหตุ และฉุกเฉิน มีการบริการ 12 ขั้นตอนหลักและมีขั้นตอนย่อยๆกว่า 40 ขั้นตอน รวมระยะเวลาที่ให้บริการนานที่สุดกว่า 18 ชั่วโมง ในการบริการประกอบด้วยบุคลากรหลายระดับ เส้นทางการรับบริการของผู้ป่วยซับซ้อน ซึ่งในมุมมองของผู้ป่วยไม่สร้างคุณค่าและรู้สึกว่ารอคอยนาน  Lean เป็นคำตอบการบริการและเป็นเครื่องมือขจัดความสูญเปล่า ให้การบริการที่เพิ่มคุณค่า เพิ่มความปลอดภัย ส่งมอบ ลดต้นทุน และสร้างขวัญกำลังใจของทีมบริการอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน

  2 . สภาพการณ์ปัจจุบัน Initial state

   การบริการ12 ขั้นตอนได้แก่

 1.พยาบาลคัดแยกผู้ป่วย                   

2.จ.น.ท.เวชระเบียนทำบัตรตรวจโรค

3.แพทย์ตรวจ

4.พยาบาลทำหัตถการ

5.แพทย์ทำหัตถการเบื้องต้น

6.เอกซเรย์

7.ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ

8.ปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง

9.แพทย์ทำหัตการเฉพาะทาง

10.ทีมพยาบาลดำเนินการจำหน่าย

11.ตรวจสอบสิทธิ์การรักษาพยาบาล/ชำระค่ารักษา

12.รับยา

นำขั้นตอนดังกล่าว มาสร้างแบบบันทึกเวลาบริการในแต่ละขั้นตอน มอบหมายบุคลากรเก็บข้อมูล

พบว่า ใช้เวลา  นานทุกขั้นตอน รวมระยะเวลาที่ใช้ 1,126 นาที

3. เป้าหมาย Target state

3.1 พัฒนาบริการหน่วยผู้ป่วยนอกอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน

3.2 ลดระยะเวลารอคอยในการเข้าพบแพทย์ การทำหัตถการ การนอนโรงพยาบาลและการจำหน่าย

3.3 ลดระยะเวลาการรับบริการทั้งหมดให้น้อยกว่า 3 ชั่วโมง

4. การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา Gap analysis

5. แนวทางในการแก้ไข Solution approach

5.1.ปรับเปลี่ยนบริเวณคัดแยก ย้ายมาอยู่ที่สามารถนำผู้ป่วยเข้าออกได้สะดวก

5.2.ปรับให้มีระบบ Pull system ของพยาบาลคัดแยก

5.3.จัดระบบการติดตาม / ค้นหาบัตรตรวจโรค  

5.4.ติดตั้งระบบการสื่อสารโดยใช้เครื่องขยายเสียง

5.5.พัฒนา Standardize work สำหรับทีมการรักษา และปรับระบบการบริการ

5.6.จัดทำ 5ส. เพิ่มการสื่อสารต่อผู้รับบริการ

5.7.พัฒนาระบบการจำหน่าย

6. การดำเนินการแก้ปัญหา Solution of experiment

6.1 การคัดแยก : คุณบุบผา คุณพนอ คุณสุนทราพร และคุณปองกมล

6.2 การติดตามบัตรตรวจโรค  : คุณสุพันธ์

6.3 5ส : คุณอัมรา

6.4 ระบบการสื่อสาร : น.พ.ศุภฤกษ์

6.5 จัดระบบการบริการในห้องตรวจ : คุณสุมนาและคุณพรเพียร

6.6 พัฒนาระบบจำหน่ายและส่งต่อ : หอผู้ป่วยอุบัติเหตุ ฉุกเฉินและหน่วยEMS

7. กิจกรรมที่ต้องทำต่อไป Out standing action

  7.1 ปฏิบัติการ 7 กิจกรรมให้บรรลุวัตถุประสงค์

  7.2 อยู่ในระหว่างพัฒนาระบบการจำหน่ายและส่งต่อ

8. ผลลัพธ์ Result

หลัง Lean พบว่า ลดระยะเวลารอคอยในแต่ละขั้นตอน              

ลดระยะเวลาบริการจาก 1,126  นาที เป็น    694   นาที

9. สรุปบทเรียน Lesson learnt

  “Lean” ทำให้บุคลากรสามารถปรับเปลี่ยนบริการ ที่คิดว่ายาก ให้เป็นไปได้ เพราะทีมร่วมแรงร่วมใจ จึงทำให้งานสำเร็จ นำมาซึ่งความสุขและความภาคภูมิใจ

  “หลายความคิดต่อให้ติดคิดทำ Lean”

 งานนี้ต้องขอขอบคุณ ที่ปรึกษา

 รศ.นพ.อภิชาติ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาล ฝ่ายคุณภาพ และ

คุณทวนทอง พันธะโร ผช.ผู้อำนวยการ รพ. ฝ่ายคุณภาพ ที่คอยให้กำลังใจ และ

รศ.นพ. ชาญชัย พานทองวิริยะกุล ผู้อำนวยการ รพ. ผู้ อนุมัติงบประมาณสนับสนุน

ขอขอบคุณ รศ.นพ.เชิดชัย จาก รพ.ศิริราช ที่มาเป็นวิทยากร/ที่ปรึกษาให้

และขอขอบคุณ Dr.Kavin Loh,

คุณทัศนียา อัตตนนท์ และ

นพ.อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล ที่ปรึกษา

จาก สรพ.ที่มาเยี่ยมชมผลการดำเนินงาน พร้อมให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์

 

คำสำคัญ (Tags): #lean#opdae#kku#srinagarind hos
หมายเลขบันทึก: 340035เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2010 06:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ชีวิตครับ ถึง จุดเปลี่ยน เพื่อ การพัฒนา แล้วหละ ท่าน

สวัสดีครับ

พัฒนาตน พัฒนาคน พัฒนางาน ดีใจกับทีมงานที่เข้มแข็งของ รพ.ศรีนครินทร์ สู้ๆๆๆ ครับ

สวัสดีค่ะ อ .jj อ.เพชรากรและพี่อุบล ที่เคารพ

งานนี้ ยังมีเรื่องต้องปรับเปลี่ยนอีกมาก แต่ต้องค่อยเป็นค่อยไปตามที่มีแรงกาย ใจ สติปัญญาและงบประมาณ

ขอขอบคุณที่มาให้กำลังใจทีมงานฉุกเฉินของเรา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท