เรียบร้อยโรงเรียนเขมร พลังงานแสงอาทิตย์ใหญ่ที่สุด


อย่าช้า เขมรลุยแหลก เผลอๆไทยชื้อไฟเขมร ใครจะรู้

 กัมพูชา -  บริษัทเอกชนต่างชาติ 10 บริษัทจาก 8 ประเทศได้รับอนุมัติให้เข้าลงทุนในโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในกัมพูชา หลังจากที่รัฐบาลยกเลิกภาษีนำเข้าสินค้าที่จำเป็นในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ 15% เมื่อเดือนส.ค. ที่ผ่านมา ทั้งนี้เป็นการเปิดเผยของนายสาท สะมี (Sat Samy) รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรม เหมืองแร่ และพลังงานกัมพูชา      
            "เราได้รับข้อเสนอเพื่อรอการอนุมัติอยู่หลายฉบับ และตอนนี้เราให้พวกเขาไปศึกษาตลาดด้านพลังงานไฟฟ้าภายในประเทศ มี 2 บริษัทจากญี่ปุ่นและมาเลเซียที่ใกล้จะเริ่มต้นพัฒนาโครงการลงทุนพลังงานแสงอาทิตย์แล้ว" รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมฯ กล่าว       
            ส่วนบริษัทอื่นๆ ที่เหลือซึ่งสนใจจะลงทุนในด้านพลังงานแสงอาทิตย์เช่นเดียวกันนั้น มาจากประเทศสหรัฐฯ จีน แคนาดา ออสเตรเลีย เกาหลีใต้และสิงคโปร์ ซึ่งแต่ละบริษัทได้วางแผนที่จะพัฒนาโครงการให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 10-50 เมกะวัตต์      
            นอกจาก 10 บริษัทที่รอรับการอนุมัติจากรัฐบาลกัมพูชา ล่าสุดยังมีผู้สนใจลงทุนในโครงการไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์จากประเทศเนเธอร์แลนด์ด้วยมูลค่าการลงทุน 300 ล้านดอลลาร์

                   รัฐบาลกัมพูชาวางแผนที่จะสำรองพลังงานไฟฟ้าให้เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศ ภายในปี 2563 โดยการพัฒนาแหล่งพลังงานหมุนเวียนทดแทน ในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ และพลังงานชีวมวล (Biomass) 
       
             ตามรายงานของธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) ประจำเดือนพ.ย. ระบุว่า ความต้องการด้านพลังงานในกัมพูชาคาดว่าจะเติบโตขึ้นอีก 3.7% ต่อปี ตั้งแต่ปี 2548 ถึงปี 2573 เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่มีมากขึ้นและจากการเชื่อมต่อไฟฟ้าไปยังบ้านเรือนประชาชน  
       
             ในปัจจุบัน มีบ้านเรือนของประชาชนในกัมพูชาเพียงแค่ 20% ที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบไฟฟ้าของประเทศ ซึ่งส่วนมากจะแยกไปใช้ไฟฟ้าที่แยกผลิตในแต่ละจังหวัด หรือตามเมืองต่างๆ ซึ่งการลงทุนด้านการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนี้ จะทำให้ครัวเรือนที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้จะสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น เนื่องจากพลังแสงอาทิตย์จะมีศักยภาพที่ดีกว่าในประเทศเช่นกัมพูชา ซึ่งปริมาณการใช้ไฟฟ้ายังไม่มากเท่าไทยหรือเวียดนามที่พัฒนามากและต้องการไฟฟ้าในปริมาณสูง
       
             ทางด้านนายชิต สัม อาต (Chhith Sam Ath) ประธานองค์กรพัฒนาเอกชน ยินดีกับแผนการลงทุนดังกล่าว แต่ระบุว่ารัฐบาลต้องผลักดันบริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนให้ขายไฟฟ้าในราคาที่คนยากจนในชนบทสามารถจ่ายได้

        
             นายสาท สะมี กล่าวว่า เขาคาดว่าไฟฟ้าที่ได้จากพลังงานแสงอาทิตย์นี้น่าจะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 0.12-0.15 ดอลลาร์ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง ซึ่งมีราคาสูงกว่าไฟฟ้าที่ผลิตได้จากเชื่อนไฟฟ้าพลังน้ำที่กำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างตามแม่น้ำในประเทศ อย่างไรก็ตามค่าไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์นี้ก็ยังมีราคาถูกกว่าค่าไฟฟ้าที่ประชาชนในกัมพูชาใช้ในปัจจุบัน

หมายเลขบันทึก: 339461เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2010 19:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ผมขอแจ้งหน่อยว่า การอบรมเรื่องการติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์ ที่เรา เปิดอบรมฟรี 2 วัน มีอาหารพร้อม โดยจิตสำนึกของเรา ท่านมาฟรีได้เลย รอบละ 15 คน ไม่เกิน 20 คน และท่านจะเห็นว่าของฟรี มี ในโลก เดือนละ 1 รอบเท่านั้นครับ เพราะเป็นโครงการที่แผนกพลังงานทดแทนของโรงเรียน มีงบให้ท่าน อย่าให้โอกาศดีๆแบบนี้หลุดมือไป มาอบรมแล้ว ไม่ทำแต่ไปบอกต่อ ผมก็ดีใจแล้วครับ ที่ช่วยให้โลกลดร้อนไปได้ อีก 15 คน/เดือน และคงมีหลายๆท่านในแต่ละรอบที่มาด้วยใจรัก กลับไปทำไฟ จากแสงอาทิตย์ ใช้ หรือจะพัฒนา สูบน้ำในสวนเกษตรก็ได้สบายมากครับ โทรมาถามที่ 081-8241332 ครับ หรือที่โรงเรียนศูนย์ฝึก 02-8943134 0819040617 ก็ได้ครับ (จะรู้ว่าของฟรี มีจริงในโลกนี้)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท