การสร้างองค์การที่มีศักดิ์ศรีและจริยธรรม


การสร้างองค์การที่มีศักดิ์ศรีและจริยธรรม

บันทึกนี้ ผู้เขียนขอตั้งหัวข้อว่า "การสร้างองค์การที่มีศักดิ์ศรีและจริยธรรม" สืบเนื่องมาจากในสภาพปัจจุบันรัฐได้มีการเปลี่ยนแปลงด้านการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ ทำให้ภายในองค์การมีกลุ่มคนที่ได้ปฏิบัติงานมีความหลากหลายกลุ่มประเภท หลากหลายความคิด ทำให้การปฏิบัติงานในบางองค์การเป็นไปแบบทุรักทุเร บางองค์การก็เป็นไปแบบราบรื่น ซึ่งถือว่าน้อยมาก ส่วนใหญ่ องค์การบางองค์การได้บริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ ซึ่งขัดกับการบริหารจัดการแบบเดิม ทำให้ถึงกับสะดุดเหมือนกัน ผู้เขียนจึงนำเรื่อง "การสร้างองค์การที่มีศักดิ์ศรีและจริยธรรม" มาฝากเพื่อเป็นข้อคิดและแนวทางในการปฏิบัติงาน ดังนี้ ค่ะ...

สืบเนื่องจากกระแสการบริหารภาครัฐแนวใหม่ที่มุ่งเน้น ถึงการสร้างความเป็นผู้ประกอบการรัฐกิจ (public entrepreneurship) ให้คุณค่า ความสำคัญต่อความมีประสิทธิผล ประสิทธิภาพและคุ้มค่าในการดำเนินงาน รวมถึง การประยุกต์ใช้เทคนิควิธีการบริหารจัดการสมัยใหม่ มักจะได้รับการวิพากษ์วิจารย์ค่อนข้างมากกว่าไม่เหมาะสมและอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อจริยธรรมและศักดิ์ศรี

จริยธรรม ไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องของการปราศจากทุจริตคอรัปชั่นเท่านั้น แต่ยังหมายความถึง ความประพฤติชอบหรือการกระทำอย่างถูกต้องดีงามอีกด้วย การบริหารรัฐกิจไม่เหมือนกับการบริหารธุรกิจ รวมทั้งยังได้ตั้งประเด็นว่า "ประสิทธิภาพและประสิทธิผล ที่ได้รับมานั้นอาจจะทำให้เราต้องเสีย จริยธรรม ไปในราคาที่ค่อนข้างแพงมาก"

ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา จึงทำให้เกิดข้อเรียกร้องให้สร้างสมดุลระหว่างสองขั้วกระแสแนวความคิด รวมถึงการวางหลักปฏิบัติ การฝึกอบรมและกระบวนการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจอย่างต่อเนื่องให้ข้าราชการและผู้บริหารราชการแผ่นดินสามารถตัดสินใจดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และสอดรับกับหลักจริยธรรม ตลอดจนเสนอแนะให้มีการออกแบบองค์การและระบบการบริหารจัดการ โดยให้คำนึงถึงปัจจัยเกี่ยวกับการมีศักดิ์ศรีและจริยธรรมเพื่อมุ่งสู่การสร้างความเป็นองค์การที่มีจริยธรรมสูง (Highly Ethical Organization)

เครื่องมือสำหรับสร้างศักดิ์ศรีและจริยธรรมภายในองค์กร

เครื่องมือหรือเทคนิควิธีการที่มีประสิทธิผล ซึ่งสามารถที่จะไปประยุกต์ใช้ในการสร้างศักดิ์ศรีและจริยธรรมให้เกิดขึ้นในระดับตัวบุคคลก่อนที่จะก้าวขึ้นไปสู่ในระดับของการเป็นองค์การที่มีศักดิ์ศรี ได้แก่

1. ผู้นำต้นแบบที่ดี (Leadership)

2. การฝึกอบรมจริยธรรม (Ethical Training)

3. ประมวลจริยธรรมและการปฏิญาณ (Codes & Oaths)

4. การตรวจสอบจริยธรรม (Ethecs Audits)

5. การบริหารทรัพยากรบุคคล (Human Resources)

บทสรุป

องค์การที่มีศักดิ์ศรีและจริยธรรมเป็นสถานที่หรือแหล่งรวมของบุคคลที่เข้ามาปฏิบัติงานร่วมกัน อย่างมีจิตสำนึกรับผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจริต ครองตนอยู่ในความดีงามถูกต้อง รวมถึงมีการปฏิบัติต่อกันด้วยความเอื้ออาทร เอาใจใส่ดูแลซึ่งกันและกัน อันเป็นผลทำให้องค์การดังกล่าวมีสภาพน่าอยู่และมีความสุข บุคลากรขององค์การมีความภาคภูมิใจและพึงพอใจ เกิดความริเริ่มและสร้างสรร มีความกระตือรือร้นและทุ่มเทสติกำลังความสามารถในการปฏิบัติงาน รวมทั้งสามารถผลักดันและผลิตผลงานที่ดีมีคุณภาพให้แก่องค์การ

ในการสร้างองค์การที่มีศักดิ์ศรีและจริยธรรมนั้น ผู้บริหารของแต่ละองค์การสามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือหรือเทคนิควิธีการต่าง ๆ เช่น การสร้างภาวะผู้นำต้นแบบ การฝึกอบรม การจัดทำประมวลจริยธรรมและการปฏิญานตน การตรวจสอบจริยธรรม และการบริหารทรัพยากรบุคคล อย่างไรก็ดี การใช้เครื่องมือแต่ละชนิดควรใช้ด้วยความเข้าใจอย่างแท้จริงและตรงกับจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง อีกทั้งต้องใช้ความพยายามที่จะบูรณาการเครื่องมือต่าง ๆ เข้าด้วยกันอย่างกลมกลืนเพราะต่างมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงซึ่งกันและกัน สิ่งที่ควรคำนึง ก็คือ ไม่มีเครื่องมือชนิดใดชนิดหนึ่งที่มีประสิทธิผลมากกว่ากัน เราจำเป็นต้องใช้เครื่องมือต่าง ๆ ร่วมกันจึงจะบังเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างแท้จริงค่ะ...

ท่านสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ด้านล่างนี้ค่ะ...

http://www.opdc.go.th/oldweb/Knowledge/File_download/1162977274-1.pdf

หมายเลขบันทึก: 339344เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2010 11:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2016 16:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท