"การศึกษา" ตามทัศนะของ กฤษณมูรติที่หุบเขาฤาษี


 

K101K102

 

 

       ก่อนอ่านบันทึกนี้อยากขอให้ท่านทั้งหลายพิจารณาด้วยใจอย่างใคร่ครวญว่า ....

 

"การใส่ใจ" แตกต่างจาก "การจดจ่อ" อย่างไร ?

 

       อยากขอให้ท่านนำเอาคำตอบของท่านไปทดลองปฏิบัติดูให้เห็นด้วยตนเอง โดย ทดลองใส่ใจกับอะไรสักอย่างประมาณ 1 นาที แล้วสลับเปลี่ยนมาเป็นการ"จดจ่อ" อยู่กับสิ่งนั้นอีก 1 นาที แล้วสลับกันไปมาอยู่อย่างนั้น จนกระทั่งท่านมั่นใจว่าได้สัมผัสและเห็นถึงความแตกต่างของ "การใส่ใจ" กับ "การจดจ่อ"

       ผมเองมีความเข้าใจคำว่า "การมีสติอยู่กับปัจจุบัน" ชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อได้อ่านหนังสือ "กฤษณมูรติที่หุบเขาฤาษี" ท่านได้อธิบายทำนองว่า การมีสติอยู่กับปัจจุบันไม่ใช่การจดจ่อ แต่เป็นการเฝ้าดู การเอาใจใส่ในปัจจุบันขณะ  เพื่อให้เห็นความงานของสรรพสิ่งต่าง ๆ รอบข้าง จนนำไปสู่การเข้าใจความจริงแห่งชีวิต

 

Ka

 

     ในหนังสือเล่มนี้ท่านได้ให้ความหมายของ "การศึกษา" ไว้อย่างน่าสนใจมาก จนตัวผมแล้วรู้สึกว่า นั่นน่าจะเป็นความหมายที่แท้จริงของการศึกษา

 

...การศึกษาไม่ใช่การสอบผ่าน ได้ปริญญาบัตรและมีงานทำ แต่งงานและตั้งหลักปักฐาน แต่ยังหมายถึงความสามารถที่จะฟังเสียงนกร้อง มองดูท้องฟ้า เห็นความงามประหลาดของต้นไม้ เส้นสันทิวเขา รู้สึกไปกับมัน สัมผัสมันได้โดยตรงและอย่างแท้จริง เมื่อพวกเธอเจริญวัยขึ้น ความรู้สึกที่จะฟังจะเห็นอย่างนั้นจะหายไปอย่างน่าเสียดาย เพราะว่าพวกเธอกังวล พวกเธอต้องการเงินทองมากขึ้น รถยนต์ยี่ห้อหรูขึ้น พวกเธอจะกลายเป็นคนขี้ริษยา ทะเยอทะยาน ละโมบ อิจฉา พวกเธอจึงได้สูญเสียสัมผัสแห่งความงามของแผ่นดิน

...พวกเธอเองก็ได้รับการศึกษาที่สอดประสานกับสิ่งที่เอ่ยมานี้ พวกเธอรู้หรือไม่ว่า โลกกำลังบ้าคลั่ง การต่อสู้ การทะเลาะเบาะแว้ง การข่มเหงเบียดเบียนทำร้ายซึ่งกันและกัน นี่คือความบ้าคลั่งทั้งมวล และเธอเองก็เติบโตขึ้นเพื่อที่จะเหมือนและกลมกลืนกับสิ่งเหล่านี้

...เธอจะต้องเข้าไปอยู่ในโครงสร้างที่เรียกว่า "สังคม" ไม่ว่าจะเต็มใจหรือไม่ก็ตาม

...บางคนในหมู่พวกเธออาจจะพยายามหนีจากสังคม แต่การหนีสังคมอย่างนั้น ก็หาได้มีความหมายอย่างใดไม่ เธอต้องเปลี่ยนแปลงสังคม สังคมก็คือเธอกับฉัน

...จะยอมรับคุณค่าเก่าทั้งหมดกระนั้นหรือเธอรู้ไหมว่าระบบคุณค่าเหล่านี้คืออะไร เงินทอง ตำแหน่ง ชื่อเสียง เกียรติยศ อำนาจ นั้นคือสิ่งที่มนุษย์ทั้งหมดต้องการ และสังคมก็ต้องการให้เธอกลมกลืนแบบแผนคุณค่าเหล่านั้น

...

 

สิ่งที่ได้เรียนรู้

  • การศึกษากระแสหลักมีโอกาสจะหลงทางสูงมาก เพราะส่วนใหญ่เน้นเอาวิชาเป็นตัวตั้ง ไม่ได้เอาชีวิตที่แท้จริงป็นตัวตั้ง หลาย ๆ หลักสูตรเน้นผลิตบัณฑิตตามความต้องการของตลาดและสังคม เน้นสอนให้บรรลุตามศาสตร์ของตนเป็นหลักใหญ่ไม่สนใจการเข้าถึงชีวิตที่แท้จริง โดยหารู้ไม่ว่า ความต้องการของตลาดและสังคมนั้นมีปัญหามากขึ้น ๆ ทุก ๆ วัน หมายความว่า ตลาดและสังคมไม่ต้นแบบแห่งความดี ไม่ใช่ต้นแบบของชีวิตที่แท้จริง แต่เป็นการเอาตัวรอดแบบเห็นแก่ตัวที่เราต้องจำยอม...
  • การศึกษาที่แท้จริงนั้น นอกจากการสอบผ่าน ได้ปริญญาบัตรและมีงานทำ แต่งงานและตั้งหลักปักฐาน แต่ยังหมายถึง ...การเรียนรู้ที่จะรู้จักตนเองอย่างแท้จริงเพื่อการเข้าถึงชีวิตที่แท้จริงด้วย...

 

 

Ahfm8wjz1jra-rezu1redg

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 338282เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2010 23:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

เรียนท่านอาจารย์ที่เคารพ

ค่อนข้างจะเป็นภาระหนักนะคะที่จะชี้ให้เห็นความงามของสรรพสิ่งในขณะที่โลกกำลังบ้าคลั่ง..แต่เชื่อว่าครู..พยายามทำอยู่ค่ะ ขอบพระคุณอาจารย์ที่แนะนำหนังสือดีค่ะ

เรียนท่านภูฟ้าครับ

จะลองทำดูครับ  ใส่ใจกับสิ่งรอบตัว

สวัสดีครับท่านอาจารย์ ภูฟ้า

เป็นจริงครับ หลายสิ่งหลายอย่างนึกว่าเหมือน นึกว่าเป็นสิ่งเดียวกัน

แต่พอแยกแยะมันคนอย่างกัน ใส่ใจ และจดจ่อ

มัธยัทย์ กับขี้เหนียว ดูเหมือนคล้ายครับ

 

เรียน อ. ษษมา

  • เป็นภาระที่หนักเอาการเลยครับ พระท่านว่า ...อย่านึกว่าง่าย อย่าหมายว่ายาก... ความเพียรพยายามอยู่ที่ไหน ความพยายามอยู่ที่นั่น ครับ
  • ถ้า ครู ทำ ผมว่าอานิสงส์จะตกอยู่กับลูกศิษย์ที่เราสอนอีกหลายร้อยคนเลยนะครับ
  • ขอบคุณที่แวะมา ลปรร ครับ

 

 

 

เรียน ท่านพลาย

 

จะลองทำดูครับ  ใส่ใจกับสิ่งรอบตัว

 

  • การฝึกของผม ในตอนเช้าจะออกไปเดิน (จงกรม) ออกกำลังกาย สมัยแต่ก่อนผมจะเน้นที่กายเป็นหลัก แต่คราวนี้ลองมาเน้นที่ใจ โดยการปล่อยวางใจ แล้วฟังเสียงนกแบบไม่คิด อาจดูว่า เราได้ยินเสียงนกกี่ตัว แค่นี้เราก็อาจเข้าสู่สภาวะได้แล้วครับ ทำบ่อย ๆ ครับ

 

 

 

 

เรียน ท่าน วอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei--

 

  • ทราบข่าวจากลูกศิษย์ว่า ท่านวอญ่า มาเยี่ยมถิ่นอีสานที่ จ.ยโสธร เสียดายที่ผมไม่ทราบข่าวล่วงหน้า ไม่เช่นนั้นคงได้ชวนท่านมากินส้มตำไก่ย่างที่มหาสารคามเป็นแน่แท้ครับ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า คงได้ต้อนรับท่านใหม่ในโอกาสต่อไปครับ

 

แวะมาใส่ใจกับบันทึกอาจารย์ก่อนไปวิจัยลมขอรับ..

กราบนมัสการพระอาจารย์

  • กระผมเองก็แวะเวียนไปน้อมนำธรรมเข้าสู่ใจที่บันทึกของพระอาจารย์อยู่เป็นประจำครับ

 

(กราบ 3 หน)

เรียนท่านอาจารย์ที่เคารพ

การจัดการศึกษาไทยที่ผ่านมา ถูกออกแบบเพื่อสังคมอุตสาหกรรมมาตลอดค่ะ

จึงไม่แปลกนะคะที่เราคุ้นเคยกับการเรียนเเบบทองจำ เรียนสูตรสำเร็จตาม "หลักสูตร"

เน้นที่ "รูปเเบบ" เมื่อจบออกมาแล้วจึงเหมือนสินค้าที่ผลิตจากโรงงาน ทุกชิ้นเหมือนกันหมดค่ะ

เเละวิ่งหางานทำเหมือนสินค้าวิ่งหาผู้ซื้อ เมื่อไม่มีคนซื้อก็ขายไม่ออก

เช่นกันค่ะเมื่อขายไม่ออกก็ตกงาน เพราะไม่มีคนจ้าง

เมื่อไม่มีคนจ้างก็ คิดงานเองไม่เป็น เพราะการศึกษาไม่ได้สอนให้คิดงานเอง

แต่สอนให้ไปรับจ้าง ไม่ได้สอนให้บูรณาการชีวิตทุกส่วนเข้าด้วยกันค่ะ

สถาบันการศึกษาส่วนใหญ่ยังคงพอใจกับการจัดการศึกษาแบบอุตสาหกรรม

ไม่รู้ร้อนรู้หนาวว่าโลก หรือแม้กระทั่งชุมชนของเราเปลี่ยนไปอย่างไร

ไม่ต้องไปดูงานต่างประเทศหรอกค่ะ เพียงแค่สร้าง เป้าหมายการเรียนรู้

ที่ชัดเจน แสวงหาความรู้ที่หลากหลาย ทั้งเนื้อหา สาระ กระบวนการ วิธีการ

ไม่ยึดติดกรอบและสูตรสำเร็จแต่หาความรู้ใหม่ที่จะนำไปสู่การปฎิบัติที่เกิดผลดีแก่ชีวิตค่ะ

เป็นการเอาเอาชีวิตที่แท้จริงป็นตัวตั้ง จริงๆค่ะอาจารย์

ด้วยความเคารพค่ะ

ศศินันท์(ร้อยเอ็ด7)

 

สวัสดีครับ อาจารย์

 

  • เป็นข้อคิดเห็นที่ชัดเจนและน่าสนใจยิ่งครับ ...การศึกษาเพื่อสังคมอุตสาหกรรม...
  • เสียดายที่ผู้คนจำนวนไม่น้อย เข้าไม่ถึงความจริงนี้ครับ

 

 

 

ความเชื่อที่หลากหลายคือเสน่ห์ของไทยครับ


ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับท่านเบดูอิน

 

เรียนท่านอาจารย์ภูฟ้าครับ

การวิ่งเหยาะเพื่ออกกำลังในยามเช้า

สามารถฝึกไปด้วยได้ไหมครับ

 

สวัสดีครับ

 

การวิ่งเหยาะเพื่ออกกำลังในยามเช้า

สามารถฝึกไปด้วยได้ไหมครับ

 

  • เราสามารถฝึกสติในชีวิตประจำวันได้ทุกเมื่อครับ
  • อย่างตอนผมเข้ารับการฝึกจิตวิวัฒน์นั้น อ.ใหญ่ ก็พาไปเดินที่สวนสาธารณะทุกเช้า ในวันแรกก็ให้เดินตามสไตล์สบาย ๆ ที่แต่ละคนทำมา
  • แต่ในวันที่สอง อ.ใหญ่ ให้ฝึกเป็นขั้นเป็นตอน ผมพบว่า ผมสามารถเข้าสู่สมาธิมีสัมปะชัญญะได้อย่างรวดเร็ว
  • นั่นแสดงว่า หนทางขึ้นเขานั้น ขึ้นได้หลายทาง

 

 

 

 

พบเวปเพจท่านโดยบังเอิญ...ตอนค้นหาปรัชญาของท่านกฤษณะมูรติ... ชื่นชม...ดีใจ...ที่มีคนใส่ใจกับชีวิต มากกว่าการจดจ่ออยู่กับชีวิต...

ใส่ใจ VS จดจ่อ สาธุ สาธุ หนอ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท