สรุปสาระสำคัญ:พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547


ข้อสอบครูผู้ช้วย

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

ประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับกฤษฎีกาเล่ม 121 ตอนพิเศษ 79  ก 

วันที่ 23  ธันวาคม  2547โดยมีผลบังคับใช้วันที่ 24  ธันวาคม  2547

มาตรา 1 การเรียกชื่อ พรบ.นี้ มาตรา 2 ให้ใช้บังคับวันถัดจากประกาศ มาตรา 3 การยกเลิก พรบ. 2523

พ.ศ. 2547

มาตรา  ในพระราชบัญญัตินี้

"ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา" หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งตามพระราชบัญญัตินี้ให้รับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนในกระทรวงศึกษาธิการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงวัฒนธรรม หรือกระทรวงอื่น

"ข้าราชการครู" หมายความว่า ผู้ที่ประกอบวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาของรัฐ

"คณาจารย์" หมายความว่า บุคลากรซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาของรัฐ

"บุคลากรทางการศึกษา" หมายความว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา รวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการ หรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดระบวนการเรียนการสอน การนิเทศการบริหารการศึกษา และปฏิบัติงานอื่นในหน่วยงานการศึกษา

"วิชาชีพ" หมายความว่า วิชาชีพครู วิชาชีพบริหารการศึกษา และวิชาชีพบุคลากรทางการศึกษาอื่น

"เขตพื้นที่การศึกษา" หมายความว่า เขตพื้นที่การศึกษาตามประกาศกระทรวง

"หน่วยงานการศึกษา"   หมายความว่า……….ออกสอบ

(๑) สถานศึกษา

(๒) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

(๓) สำนักงานการศึกษานอกโรงเรียน

(๓) สำนักงานการศึกษานอกโรงเรียน

(๔) แหล่งการเรียนรู้ตามประกาศของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

(๕) หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ หรือตามประกาศกระทรวง หรือหน่วยงานที่ ก.ค.ศ. กำหนด

"สถานศึกษา" หมายความว่า สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน ศูนย์การศึกษาพิเศษ ศูนย์การศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย ศูนย์การเรียน วิทยาลัย วิทยาลัยชุมชน สถาบันหรือสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติและตามประกาศกระทรวง............ออกสอบ อบต.2547

"หัวหน้าส่วนราชการ" หมายความว่า ปลัดกระทรวง เลขาธิการ อธิบดี หรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่า

มาตรา ๕  บรรดาคำว่า "ข้าราชการพลเรือน" ที่มีอยู่ในกฎหมาย ประกาศ ระเบียบ และข้อบังคับอื่นใดให้หมายความรวมถึงข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาด้วย เว้นแต่จะได้มีกฎหมาย ประกาศ ระเบียบหรือข้อบังคับอื่นใดที่บัญญัติไว้สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยเฉพาะ

หมวด ๑
คณะกรรมการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 

มาตรา ๗   "คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา" เรียกโดยย่อว่า "ก.ค.ศ."
มีจำนวน  21  คน  เป็นคณะกรรมการระดับนโยบาย  ประกอบด้วย

(๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานกรรมการ

(๒) ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นรองประธานกรรมการ

(๓) กรรมการโดยตำแหน่งจำนวนห้าคน ได้แก่ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เลขาธิการคุรุสภา และเลขาธิการ ก.พ.    (หมายเหตุ................ไม่มีเลขาธิการสภาการศึกษา)

(๔) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนเจ็ดคน  ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากบุคคลที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงทางด้านการศึกษา ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านกฎหมาย ด้านการบริหารการจัดการภาครัฐด้านการบริหารองค์กร ด้านการศึกษาพิเศษ และด้านการบริหารธุรกิจ หรือด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านละหนึ่งคน

(๕)  กรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาซึ่งมาจากการเลือกตั้ง จำนวนเจ็ดคน  
ประกอบด้วย ผู้แทนผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวนหนึ่งคน ผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษา
หรือผู้บริหารสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นในหน่วยงานการศึกษา ตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด จำนวนหนึ่งคน  ผู้แทนข้าราชการครู จำนวนสี่คน และผู้แทนบุคลากรทางการศึกษาอื่น จำนวนหนึ่งคน

  เลขาธิการ ก.ค.ศ. เป็นเลขานุการ  และให้เลขาธิการ ก.ค.ศ. แต่งตั้งข้าราชการในสำนักงาน ก.ค.ศ.
เป็นผู้ช่วยเลขานุการไม่เกินสองคน (เลขา ก.ค.ศ. เป็นเพียงเลขานุการที่ประชุมเท่านั้น ไม่มีสิทธิออกเสียง

มาตรา ๘  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้

(๑)   มีสัญชาติไทย

(๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์ และไม่เกินเจ็ดสิบปีบริบูรณ์

(๓) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

(๔) ไม่เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น

(๕) ไม่เป็นเจ้าหน้าที่ ที่ปรึกษา หรือผู้มีตำแหน่งบริหารในพรรคการเมือง

(๖) เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับในเรื่องความซื่อสัตย์ ความยุติธรรม และไม่เคยมีประวัติเสื่อมเสีย

มาตรา ๙  กรรมการผู้แทนผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

(๑) มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพและไม่เคยถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพมาก่อน

(๒) เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับในเรื่องความซื่อสัตย์ ความยุติธรรม และไม่เคยมีประวัติเสื่อมเสีย

 

 

มาตรา ๑๐  กรรมการผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้บริหารสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นในหน่วยงานทางการศึกษา ตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด  ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

 

 

(๑) มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพและไม่เคยถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพมาก่อน

 

 

(๒) มีประสบการณ์ด้านการบริหารในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้บริหารสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นในหน่วยงานการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี

 

 

(๓) เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับในเรื่องความซื่อสัตย์ ความยุติธรรม และไม่เคยมีประวัติเสื่อมเสีย

 

 

มาตรา ๑๑  กรรมการผู้แทนข้าราชการครูต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

 

 

(๑) มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และไม่เคยถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพมาก่อน

 

 

(๒) มีประสบการณ์ด้านปฏิบัติการสอนในวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าครูชำนาญการหรือเทียบเท่า หรือมี
ประสบการณ์การสอนเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบห้าปี

 

 

(๓) เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับในเรื่องความซื่อสัตย์ ความยุติธรรม และไม่เคยมีประวัติเสื่อมเสีย

 

 

มาตรา ๑๒  กรรมการผู้แทนบุคลากรทางการศึกษาอื่นต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

 

 

(๑) มีวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี

 

 

(๒) มีประสบการณ์ด้านสนับสนุนการศึกษา ซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการ หรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ การบริหารการศึกษา และปฏิบัติงานอื่นในหน่วยงานการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบห้าปี

 

 

(๓) เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับในเรื่องความซื่อสัตย์ ความยุติธรรม และไม่เคยมีประวัติเสื่อมเสีย

 

 

มาตรา ๑๓  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และกรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี และเลือกใหม่ได้อีก แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินกว่าสองวาระมิได้

 

 

ถ้ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหรือกรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาว่างลง
ให้ดำเนินการแต่งตั้งหรือสรรหากรรมการแทนตำแหน่งที่ว่างภายในหกสิบวัน เว้นแต่วาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการผู้นั้นเหลือไม่ถึงเก้าสิบวัน จะไม่ดำเนินการแต่งตั้งหรือสรรหากรรมการแทนก็ได้ และให้กรรมการซึ่งแทนกรรมการในตำแหน่งที่ว่างลง มีวาระอยู่ในตำแหน่งเท่ากับระยะเวลาที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน

 

 

เมื่อครบกำหนดตามวาระ หากยังไม่มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และเลือกกรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาขึ้นใหม่ ให้กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้น อยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่ 

 

 

มาตรา ๑๔  นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ

 

 

(๑) ตาย

 

 

(๒) ลาออกโดยยื่นหนังสือลาออกต่อประธานกรรมการ

 

 

(๓) เป็นบุคคลล้มละลาย

 

 

(๔) เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ

 

 

(๕) ขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๘

 

 

(๖) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก  เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำ
โดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

 

 

(๗) คณะรัฐมนตรีมีมติให้ออก 

 

 

มาตรา ๑๕  นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากร
ทางการศึกษาพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ

 

 

(๑) ตาย

 

 

(๒) ลาออกโดยยื่นหนังสือลาออกต่อประธานกรรมการ

 

 

(๓) พ้นจากการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

 

 

(๔) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๙ มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ หรือมาตรา ๑๒

 

 

(๕) ถูกถอดถอนโดยรัฐมนตรีตามมติของ ก.ค.ศ. ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวน
กรรมการทั้งหมด  

 

หมายเลขบันทึก: 338006เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2010 10:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 05:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท