จากบัญชียาหลักแห่งชาติจากสมุนไพร สู่บัญชียาสมุนไพรโรงพยาบาลสอง


บัญชียาหลักแห่งชาติจากสมุนไพร กับการพัฒนาสมุนไพรไทย

จากบัญชียาหลักแห่งชาติจากสมุนไพร สู่

บัญชียาสมุนไพรโรงพยาบาลสอง

           บัญชียาจากสมุนไพร เป็นความพยายามของกระทรวงสาธารณสุขที่จะผลักดันยาสมุนไพรให้เข้าสู่ระบบบริการสาธารณสุขของรัฐและเอกชนอย่างเป็นทางการ โดยประกาศบัญชียาจากสมุนไพรเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2542 และประกาศในครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2549 

          ก่อนหน้านี้ยาสมุนไพรเป็นยาที่สั่งจ่ายโดยผู้ประกอบการโรคศิลปะแพทย์แผนไทยเท่านั้น มีผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันน้อยรายที่จะสั่งจ่ายยาสมุนไพรแก่ผู้ป่วย ทั้งที่ไม่มีกฎหมายใดห้ามไว้ทั้งนี้ด้วยเหตุผล 4 ประการ คือ

          1.ก่อนหน้านี้กระทรวงสาธารณสุขไม่เคยประกาศให้มีบัญชียาจากสมุนไพร เพื่อใช้ในระบบบริการสาธารณสุขแผนปัจจุบันของรัฐอย่างเป็นทางการ
          2. ก่อนหน้านี้การใช้ยาสมุนไพรไม่สามารถเข้าสู่ระบบสวัสดิการเพื่อใช้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นระบบสิทธิของราชการ สิทธิของการประกันสังคม และสิทธิ 30 บาทรักษาทุกโรค
          3. ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันได้รับการศึกษาอบรมมาทางด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพอันเป็นศาสตร์ของแผนตะวันตก มิได้เรียนรู้ศาสตร์การแพทย์แผนไทย จึงขาดศรัทธา และขาดความรู้ในการใช้ยาสมุนไพร จึงไม่สั่งจ่ายยาสมุนไพรแก่ผู้ป่วย
          4. ระบบธุรกิจยาแผนปัจจุบันมีอิทธิพลต่อการสั่งจ่ายยาในสถานพยาบาลแผนปัจจุบัน

          ปัจจุบันเมื่อมีการประกาศใช้บัญชียาจากสมุนไพรในระบบบริการสาธารณสุขของรัฐและเอกชน ก็เท่ากับได้ปลดล็อคเงื่อนไขข้อ 1 และข้อ 2 ออกไป แต่เงื่อนไขข้อที่ 3 และข้อที่ 4 ยังเป็นอุปสรรค แต่ก็สามารถขจัดอุปสรรคนี้ออกไปโดยการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนผู้บริโภครับทราบอย่างกว้างขวางว่า "ยาจากสมุนไพรได้รับการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุขให้สั่งจ่ายในโรงพยาบาลแผนปัจจุบันได้แล้ว" และที่สำคัญคือข้าราชการสามารถใช้สิทธิเบิก และประชาชนทั่วไปสามารถใช้สิทธิในระบบประกันสังคม และสวัสดิการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

"นอกจากยาสมุนไพรจะมีพิษข้างเคียงน้อยกว่ายาจากเภสัชเคมีแล้ว ยังเป็นยาที่สามารถผลิตจากวัตถุดิบสมุนไพรที่มีอยู่ในประเทศ ช่วยลดการนำเข้ายาจากต่างประเทศ และอาจช่วยประหยัดเงินตรา มิให้รั่วไหลออกนอกประเทศ ได้ปีละหลายพันล้านบาท หากคนไทยนิยมใช้สมุนไพรกันมากขึ้น"

              ดังนั้นการให้ความรู้อย่างถูกต้องแก่ประชาชนเกี่ยวกับ ข้อบ่งใช้ ขนาดและวิธีใช้ ข้อห้ามใช้ ฯลฯ ของยาจากสมุนไพร เพื่อให้เกิดความเข้าใจและความมั่นใจในการใช้ยาจึงต้องทำอย่างเร่งด่วน และรายชื่อยาจากสมุนไพรทุกตำรับทุกตัวที่มีอยู่ในบัญชียาจากสมุนไพร ล้วนผ่านการศึกษามาอย่างดีจากผู้เชี่ยวชาญด้านยาว่ามีสรรพคุณตามข้อบ่งใช้และมีความปลอดภัยสูง ขอให้ผู้บริโภคศึกษาบัญชียาจากสมุนไพรให้ละเอียดถี่ถ้วน

 เอกสารอ้างอิง:

1. บัญชียาพัฒนาจากสมุนไพร

2. บัญชียาจากสมุนไพร ฉบับพัฒนาสำหรับประชาชน พ.ศ. 2549

3.บัญชียาหลักแห่งชาติจากสมุนไพร.http://www.thaihof.org/page/บัญชียาหลักแห่งชาติจากสมุนไพร.มูลนิธิสุขภาพไทย.

 

หมายเลขบันทึก: 337658เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2010 11:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 14:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • เป็นข้อมูลที่ดีมากค่ะ
  • ชื่นชมจากใจจริง

ขอบคุณค่ะ สำหรับคำชม จะพัฒนาแผนไทย รพ.สองต่อไปนะคะ

From..panthai .song.

สู้ๆ ค่ะเป็นกำลังให้ทุกคนน่ะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท