การพูด


การพูด

 

ข้อแนะนำ  10  ประการ ในการฝึกฝนตนเองเป็นนักพูดที่ดี

          1.   พูดเรื่องที่เรารู้ดีที่สุด
          2.   เตรียมตัวให้พร้อม  ความพร้อมทำให้ไม่ประหม่า หรือถ้าเคยประหม่ามากก็จะประหม่าน้อยลง
          3.   สร้างความเชื่อมั่นให้กับตนเอง บอกกับตัวเองว่า  “เรื่องนี้ หัวข้อนี้ สำหรับที่นี่ ฉันรู้ดีที่สุด”  แล้วพูดไปเลย
          4.   ถ้าทำทั้งสามข้อแล้วยังไม่หายประหม่า  มีข้อแนะนำคือ
                       สูดลมหายใจลึก ๆ หรือดื่มน้ำสักแก้ว
                       บอกตัวเองในใจว่า  “วันนี้สู้ตาย”  อย่าบอกว่า  “วันนี้ต้องตายแน่ ๆ”
                       รวบรวมสติและกำลังใจ  พูดเสียงดังตั้งแต่คำแรก หรือประโยคแรก แล้วทุกอย่างจะดีขึ้น
          5.   แต่งกายให้สะอาด  เรียบร้อย  เหมาะสม
          6.   ปรากฏกายอย่างกระตือรือร้น ทำตนให้สดชื่น กระปรี้กระเปร่า แสดงถึงความพร้อม ความเต็มใจที่     จะพูด  นอกจากจะทำให้คนฟังรู้สึกอยากฟังแล้ว  ยังช่วยโน้มนำจิตใจของเราให้อยากพูด อยากแสดงออกมาอีกด้วย
          7.   ใช้กริยาท่าทางประกอบการพูดไปด้วย  อย่ายืนนิ่ง ๆ  และอย่าให้มือเกะกะวุ่นวาย  ใช้ให้พอเหมาะและตรงกับเรื่องที่พุด  กริยาท่าทางต้องใช้เสริมการพุด  ไม่ใช่ขัดขวางหรือทำลายความสนใจในการพูด  “จงพูดจากความรู้สึกที่จริงใจ  แล้วท่าทาง  มือไม้ของท่านจะเป็นไปเองตามธรรมชาติ”
          8.   พยายามสบสายตากับผู้ฟัง  การสบสายตาเป็นวิธีหนึ่งที่จะดึงความสนใจของผู้ฟัง   ถ้าเรามองหน้าผู้ฟัง  ผู้ฟังก็จะมองเรา  เวลาพูดอย่าหลบตาผู้ฟัง  อย่ามองพื้น มองเพดาน มองต้นฉบับ หรือมองข้ามผู้ฟังออกไปข้างนอก  เมื่อใดการสื่อสารทางสายตาขาดหายไป  การสื่อสารทางจิตใจก็ขาดลง
          9.   ใช้น้ำเสียงให้เป็นไปตามธรรมชาติ  คือ  พูดให้เหมือนกับการคุยกัน  อย่าดัดเสียงให้ผิดไปจากธรรมชาติ  เสียงของนักพูดที่ดีมิได้หมายความว่า  ต้องหวาน กังวานไพเราะเหมือนเสียงนักร้อง  แต่หมายความว่าต้องเป็นเสียงที่ออกมาจากความรู้สึกที่จริงใจ  เต็มไปด้วยพลัง  มีชีวิตชีวา สามารถตรึงผู้พูดเอาไว้ได้  “ธรรมชาติของเสียงเราปรับปรุงไม่ได้  แต่บุคลิกภาพของเสียงสามารถปรับปรุงได้”   ดังนี้
              พูดให้เสียงดังฟังชัด  จังหวะการพูดอย่าให้ช้าหรือเร็วเกินไป
              จังหวะการพูดอย่าให้ช้าเกินไป จะทำให้น่าเบื่อ และอย่ารัวหรือเร็วเกินไป จะทำให้ฟังไม่ทัน พูดให้ได้จังหวะพอดี
             อย่าพูดเอ้อ – อ้า  ทำให้เสียเวลา เสียรสชาติของการพูด  ทำให้ผู้ฟังรำคาญ   “เอ้อ..เสียเวลา   อ้า…เสียคน”
              อย่าพูดเหมือนอ่านหนังสือ หรือท่องจำ
              ใส่ความกระตือรือร้นลงไปในน้ำเสียง ใส่อารมณ์  ความรู้สึก  อย่าพูดราบเรียบ   ขณะพูด  ใช้เสียงหนัก– เบา  ใช้เสียงสูง – ต่ำ มีการเว้นจังหวะการพูด การทอดเสียง การเว้นจังหวะ การรัวจังหวะการพูด การหยุดหายใจเล็กน้อยก่อนหรือหลังคำพูดที่สำคัญ ๆ
            10.   การพูดที่ดีต้องมีการยกตัวอย่างประกอบเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น  พยายามหาเรื่องสนุกสนานมาสอดแทรก  แต่อย่าให้ตลกโปกฮาเสียจนขาดเนื้อหาสาระ  ให้มีลักษณะ  “ฟังสนุก และ มีสาระ”  บ้า



|  ความหมายและความสำคัญของการพูด   |  องค์ประกอบของการพูด  |   การเตรียมตัวพูด   |  
|  ข้อแนะนำ 10 ประการในการเป็นนักพูดที่ดี   |   เกณฑ์ในการประเมินการพูด   |  

 

 

คำสำคัญ (Tags): #การพูดที่ดี
หมายเลขบันทึก: 337492เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2010 20:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 12:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท