Approaches to Health Development


แนวทางการพัฒนาสุขภาพประชากร

ปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพ

กฎบัตรออตตาวาได้จำแนกแนวทางวิธีปฏิบัติ ในการส่งเสริมสุขภาพออกเป็น 5 ประการคือ

1. สร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ (Build healthy public policy)

การส่งเสริมสุขภาพออกไปนอกขอบเขต การบริบาลทางสุขภาพ (Health care) การส่งเสริมสุขภาพนำสุขภาพ เข้าไปอยู่ในวาระของผู้กำหนดนโยบาย ในทุกภาค และทุกระดับ เป็นการนำให้เขาเหล่านั้น ได้ตระหนักถึงผลที่เกิดขึ้น จากการตัดสินใจของเขา และให้เขาได้รับว่า เป็นความรับผิดชอบเพื่อสุขภาพ นโยบายส่งเสริมสุขภาพรวมแนวทางหลายแนว ที่เสริมซึ่งกันและกัน คือ การออกกฎหมาย มาตรการการเงิน การจัดเก็บภาษี และการเปลี่ยนแปลงองค์กร เป็นการดำเนินการประสานกัน ซึ่งนำไปสู่สุขภาพ รายได้ และนโยบายสังคม ซึ่งก่อให้เกิดความเสมอภาคมากขึ้น ปฏิบัติการร่วมกัน ช่วยให้เกิดสินค้า และบริการ ที่ปลอดภัยกว่า และเอื้อต่อสุขภาพมากกว่า และสภาพแวดล้อมที่สะอาดกว่า และน่าอภิรมย์กว่า นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ต้องการแสวงหาอุปสรรคต่างๆ ในภาคที่มิใช่สุขภาพ

(Non-health sectors) และวิธีการที่จะขจัดอุปสรรคเหล่านี้ เป้าหมายต้องเป็นว่า ทำให้การเลือกเพื่อสุขภาพของผู้กำหนดนโยบาย เป็นการเลือกที่ง่ายด้วย

2. สร้างสรรค์สภาพแวดล้อม ที่สนับสนุนสุขภาพ (Create supportive environment for health)

สังคมของเรามีความสลับซับซ้อน และมีปฏิสัมพันธ์กัน สุขภาพไม่อาจแยกจากเป้าหมายอื่นได้ ความเชื่อมโยงกันอย่างแน่นหนา ระหว่างประชาชน กับสภาพแวดล้อมของเขา เป็นรากฐานของแนวทางสังคม-นิเวศวิทยา ต่อสุขภาพ หลักการโดยทั่วไปของโลก ของชาติ ของภาค และของชุมชนที่เหมือนกัน คือ จำต้องสนับสนุนให้เกิดการดำรงอยู่ร่วมกัน คือ ต้องดูแลซึ่งกันและกัน ดูแลชุมชนของเรา และสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติของเรา การอนุรักษ์สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ทั่วโลก จะต้องได้รับการเน้นหนัก ให้เป็นความรับผิดชอบของโลกใบนี้

การเปลี่ยนแปลงในลีลาชีวิต งาน และการพักผ่อนหย่อนใจ มีผลกระทบอย่างสำคัญต่อสุขภาพ งาน และการพักผ่อนหย่อนใจ ควรจะเป็นแหล่งเพาะสุขภาพของประชาชน วิธีการบริหารงานของสังคม ควร สร้างสรรค์ สังคมที่มีสุขภาพดี การส่งเสริมสุขภาพก่อให้เกิดสภาพความเป็นอยู่ และสภาพการทำงานที่ปลอดภัย เร้าใจ พอใจ และน่าอภิรมย์

การประเมินอย่างเป็นระบบของผลกระทบ ต่อสุขภาพจากสภาพแวดล้อม ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (โดยเฉพาอย่างยิ่ง ในเรื่องของเทคโนโลยี งาน การผลิตพลังงาน และความเป็นเขตเมือง) เป็นเรื่องสำคัญ และจะต้องติดตามด้วยปฏิบัติการ ซึ่งจะมีผลเป็นบวกต่อสุขภาพ ของสาธารณะ การปกป้องสภาพแวดล้อม ทั้งที่เป็นธรรมชาติ และที่สร้างขึ้น และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ จะต้องอยู่ในกลยุทธ์ของการส่งเสริมสุขภาพ

 

 

3. สร้างความเข้มแข็งให้แก่ปฏิบัติการชุมชน (Strength community action)

การส่งเสริมสุขภาพทำได้ โดยผ่านทางปฏิบัติการชุมชนที่มั่นคง และมีประสิทธิผล ในการจัดลำดับความสำคัญ การตัดสินใจ การวางแผนกลยุทธ์ แล้วดำเนินการเพื่อให้เกิดสุขภาพที่ดีขึ้น แล้วดำเนินการเพื่อให้เกิดสุขภาพที่ดีขึ้น หัวใจของขบวนการนี้คือ การเพิ่มอำนาจให้ชุมชน ให้มีความเป็นเจ้าของ และควบคุมกิจกรรม และโชคชะตาของชุมชนเอง การพัฒนาชุมชนเป็นการดึงเอาทรัพยากรบุคคล และวัตถุในชุมชน มาเสริมการพึ่งพาตนเอง และการสนับสนุนทางสังคม และเพื่อพัฒนาระบบที่ยืดหยุ่น ในการสร้างความเข้มแข็ง ในการให้สาธารณะมีส่วนร่วม และชี้นำในเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับสุขภาพ ทั้งนี้ต้องมีการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร อย่างเต็มที่ และต่อเนื่อง เข้าถึงโอกาสที่จะเรียนรู้เรื่องสุขภาพ รวมทั้งการสนับสนุนในเรื่องทุน

4. พัฒนาทักษะส่วนบุคคล (Develop personal skill)

การส่งเสริมสุขภาพสนับสนุนการพัฒนาบุคคล และสังคม โดยการให้ข้อมูลข่าวสาร การศึกษาเพื่อสุขภาพ และการเสริมทักษะชีวิต ด้วยการกระทำเหล่านี้ การส่งเสริมสุขภาพจึงเพิ่มทางเลือก ให้ประชาชนใช้ควบคุมสุขภาพของตนเอง และสิ่งแวดล้อมของเขา นอกจากนั้น ยังสามารถเลือกสิ่งที่เป็นคุณต่อสุขภาพอีกด้วย เป็นเรื่องจำเป็นที่จะทำให้ประชาชน มีความสามารถจะเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อเตรียมตนเองสำหรับช่วงต่างๆ และเพื่อเผชิญกับโรคเรื้อรัง และการบาดเจ็บ สิ่งเหล่านี้ต้องทำให้เกิดมีขึ้น ในโรงเรียน บ้าน สถานที่ทำงาน และที่ตั้งชุมชน ปฏิบัติการนี้ต้องการ องค์กรศึกษา วิชาชีพ พาณิชย์ และอาสาสมัคร และภายในของสถาบันเอง

5. ปรับเปลี่ยนบริการสุขภาพ (Reorient health services)

ในบริการสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพเป็นหน้าที่ซึ่งแบ่งกันรับผิดชอบ โดยบุคคล กลุ่มชุมชน นักวิชาชีพสุขภาพ สถาบันบริการสุขภาพ และรัฐบาล ทุกฝ่ายต้องทำงานร่วมกัน เพื่อระบบบริบาลสุขภาพ ซึ่งนำมาซึ่งสุขภาพดี บทบาทของภาคสุขภาพต้องเคลื่อนมากขึ้น ไปในทิศทางของการส่งเสริมสุขภาพ นอกเหนือจากการให้บริการทางคลินิก และการรักษาบริการสุขภาพ จำต้องรับเอาภารกิจ ซึ่งขยายกว้างออกไป ด้วยความเอาใจใส่ และเคารพต่อความต้องการทางวัฒนธรรม ภารกิจนี้ควรสนับสนุนความต้องการของปัจเจกบุคคลและชุมชน เพื่อชีวิตที่มีสุขภาพดีกว่า และเปิดช่องทางติดต่อระหว่างภาคสุขภาพ และองค์ประกอบทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และสภาพแวดล้อม การปรับเปลี่ยนบริการสุขภาพ ยังต้องการความเอาในใส่อย่างมากในการวิจัยสุขภาพ และการเปลี่ยนแปลงในการศึกษา อบรมวิชาชีพ เรื่องนี้ต้องนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในเจตนคติ และการจัดองค์กรของบริการสุขภาพ ซึ่งต้องเปลี่ยนจุดมุ่ง ไปยังความต้องการทั้งหมด ของปัจเจกบุคคลในฐานะคนทั้งคน

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #approaches to health development
หมายเลขบันทึก: 337486เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2010 19:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 12:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท