กก


ภาษาถิ่นคำแรกที่จะเสนอในวันนี้คือคำว่า"กก"

กก  เขียนเป็นภาษาไทยว่า   กก   อ่านว่า  กก
สำเนียงภาษาถิ่น(อีสาน) ออกเสียงให้มีสระ   " โ "  คือ  โก๋ก   เน้นเสียงจัตวา  จะเหมือนที่สุด  โกก  โก่ก  โก้ก  โก๊ก    โก๋ก
ความหมาย  กก (ส่วนของลำต้นไม้)
                     กก (พืชชนิดหนึ่งคล้ายต้นหญ้าผิวมันสีเขียว นำมาใช้ใน
                           การทอเสื่อกก)
                     กก  (ส่วนอวัยวะของร่างกาย  เช่น  กกขา(ต้นขา)  กกคอ(ต้นคอ)  กกแขน(ต้นแขน) 
                     กก (ส่วนต้น หรือส่วนหัว ของพืช)
                     กก (ส่วนหัวแถว  ตรงข้ามกับหางแถว  เรียก  กกแถว  ซึ่ง
                           ตรงข้ามหางแถว  หรือใช้กับอย่างอื่นทำนองนี้)
                     กก  (ลำดับแรก  หรือลำดับที่หนึ่ง  เช่น  ลูกคนแรก เรียก
                            ว่า  ลูก กก  เมียคนแรก  เรียกว่า  เมียกก  เป็นต้น)
บางที "กก" ก็เป็นคำกริยา เช่น  กกไข่ (อาการของไก่กำลังฟักไข่)
กกเมีย(นอนหรืออยู่ไม่ห่างเมีย  : กกลูก  กกไข่  ) 

หมายเลขบันทึก: 33677เขียนเมื่อ 11 มิถุนายน 2006 15:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ภาษาถิ่นของเเต่ละภาค

ช่วยหาให้หน่อยครับ

เช่น   เป็นห่วง   ภาคใต้เเปลว่าขวยใจ

                         ภาคเหนือเเปลว่า

                        ภาคอีสานเเปลว่า

2 ภา๕หลังผมจำไม่ช่วยหามาในรูปเเบบนี้

ประมาณ10คำ ขอวันนี้นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท