ชีวิตวิจัยของคนธรรมดา (4)


ใช้จ่ายให้มีประโยชน์

การทำงานวิจัยทางเกษตรเมื่อปี 2518-20 นั้น มีการฝึกฝนให้ใช้จ่ายเพื่อการทำวิจัยทั้งในแปลงทดลองของมหาวิทยาลัยและแปลงทดลองที่ร่วมกับเกษตรอย่างมีประโยชน์ เพื่อการเรียนรู้และเพื่อให้เข้าใจความเป็นไปของระบบเกษตรในพื้นที่ของแต่ละหมู่บ้านตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และพุทธศาสตร์

 

งบประมาณวิจัยที่ดำเนินการนั้นได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิฟอร์ด (http://www.fordfound.org/) ท่านอาจารย์เทอด และ ศ.ดร. อารันต์ ได้นำงบประมาณที่ได้ส่วนหนึ่งเป็นค่าจ้างผู้ช่วยวิจัย และนักศึกษาช่วยวิจัย (ได้รับเงินเดือน ๆ ละ 400 บาท)

 

เมื่อออกทำงานในแปลงเกษตรกรนี้ พวกเราได้จัดเตรียมอาหารกลางวันไปด้วย และเป็นส่วนเสริมกับที่เกษตรกรเจ้าของแปลงร่วมรับทานกับพวกเราด้วยทุกคน อาหารหลักมื้อกลางวันได้แก่ ข้าวเหนียว ส้มตำ ไก่ย่าง เนื้อย่าง ปลาแห้งย่าง แมลงทอดตามฤดูกาล และถังน้ำดื่ม

 

พวกเราจำต้องเตรียมอุปกรณ์ปรุงอาหารไปด้วยในรถยนต์บันทุกประจำการออกสนาม ได้แก่ ครกและสาก ไห่ปลาร้า (สำหรับคนที่ชอบ) น้ำปลา ผงอร่อย ส่วนมะละกอ พริกสด กระเทียม และผักสดกับแกล้มนั้นใช้วิธีการไปหาจากพื้นที่ที่เข้าทำงาน

 

ที่สำคัญมาก ได้แก่ พ่อครัวจำเป็น ในแต่ละครั้งที่ออกทำงานในภาคสนามโดยเฉพาะในช่วงฤดูกาลเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวงานทดลอง ต้องมีคนงานที่มีความสามารถในการปรุงอาหารประจำไปด้วยหนึ่งคน (กองทัพเดินด้วยท้อง หน่วยวิจัยเคลื่อนที่ก็ย่อมมีสภาพเหมือนกัน)

 

หมายเลขบันทึก: 33675เขียนเมื่อ 11 มิถุนายน 2006 15:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
    เป็นชีวิตที่เป็นชีวิตมากเลยครับ อาจารย์ ขอบคุณอาจารย์มากเลยครับที่ให้แนวคิดอะไรหลายๆ อย่าง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท