97. กำหนดการแข่งขันหุ่นยนต์ สพฐ. โอลิมปิก ประเทศไทย ปี 2553


    เมื่อวันที่ 8-9 กุมภาพันธ์ 2553 ผู้เขียนได้รับมอบหมายจากศูนย์หุ่นยนต์ สพฐ. จังหวัดเลย ให้เข้าร่วมการประชุมและกำหนดแนวทางการดำเนินงานของศูนย์หุ่นยนต์ประจำจังหวัด และการจัดทำกติกาการแข่งขันหุ่นยนต์ สพฐ.โอลิมปิก ประเทศไทย  ประจำปี 2553 ณ KU HOME มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ถนนพหลโยธิน กรุงเทพฯ

    งานนี้มีกำหนดการจัดกิจกรรม และสรุปผลการประชุมโดยสังเขป ดังนี้
    วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2553
      - พิธีเปิดและบรรยายพิเศษเกี่ยวกับแนวคิดการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนโดยใช้นวัตกรรมด้านหุ่นยนต์
      - การประชุมระดมความคิดแนวทางการพัฒนาการเรียนรู้ และกติกาหุ่นยนต์
      - การพิจารณากำหนดแนวทางการดำเนินงานการจัดการเรียนการสอนหุ่นยนต์ในสถานศึกษา
      - การจัดทำเอกสารแนวทางการดำเนินงานของศูนย์หุ่นยนต์ประจำจังหวัด ทั้ง 50 ศูนย์
     วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2553
      - การระดมสมองและแบ่งกลุ่มเพื่อชี้แจงการจัดทำกติกาการแข่งขันหุ่นยนต์
      - แนวทางการดำเนินงานของศูนย์หุ่นยนต์ประจำจังหวัด
      - จัดทำกติกาการแข่งขันทุกระดับ

       ซึ่งสรุปผลการประชุมในกำหนดการจัดกิจกรรมของศูนย์หุ่นยนต์ประจำจังหวัด และการแข่งขันหุ่นยนต์ แบ่งการแข่งขันเป็น 3  ระดับ  คือ
      1) ระดับประถมศึกษา
      2) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
      3) ระดับประถมศึกษาตอนปลาย
จำแนกการประกวดและการแข่งขันเป็น 2  กลุ่ม คือ 
  • การประกวดหุ่นยนต์ (หุ่นยนต์ความคิดสร้างสรรค์) แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
      1) การประกวดโครงงานหุ่นยนต์ทำมือ
      2) การประกวดโครงงานหุ่นยนต์อัตโนมัติ หรือ โครงงานระบบอัตโนมัติ 
  • การแข่งขันหุ่นยนต์ (การแข่งขันทำภารกิจบนสนามไม้) แบ่งเป็น 2 ประเภท  คือ
      1) การแข่งขันหุ่นยนต์บังคับมือ ประกอบด้วย 6 กติกา  คือ
         1.1) หุ่นยนต์พลังช้าง
         1.2) หุ่นยนต์วิ่งสองขา
         1.3) หุ่นยนต์วิ่งสองขา ไตรกีฬา มหาสนุก
         1.4) หุ่นยนต์ต่อสู่ 1 ตัว
         1.5) หุ่นยนต์สำรวจดาวนพเคราะห์
         1.6) หุ่นยนต์ต่อสู้ 2 ตัว
      2) การแข่งขันหุ่นยนต์อัตโนมัติ

 

ซึ่งมีกำหนดการแข่งขัน ดังรายละเอียดในแผนภูมิ ดังนี้

      ...การนำหุ่นยนต์มาเป็นสื่อและเครื่องมือในการพัฒนาการเรียนการสอน และให้ความสำคัญกับการพัฒนาการคิดสร้างสรรค์ และการออกแบบเทคโนโลยี การนำความรู้เกี่ยวกับแมคานิค ทางกลศาสตร์ และเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์มาบูรณาการกับสาระวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ศิลปะ และสาระวิชาอื่นๆ อีกมากมายในการจัดการเรียนการสอนด้วยโครงงานหุ่นยนต์ โครงงานสิ่งประดิษฐ์สร้างสรรค์  เพื่อส่งเสริมความเป็นอัจฉริยะของนักเรียนด้านเทคโนโลยีในโครงการพัฒนาการคิดสร้างสรรค์ ส่งเสริม นวัตกรรมการเรียนรู้ด้วยหุ่นยนต์ให้ก้าวสู่สากล ต่อไป...

  

หมายเลขบันทึก: 336755เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2010 16:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีครับ

  • ผมมารับข้อมูลที่เป็นประโยชน์
  • ลูกชายครูจ่อยเคยเข้าประกวดโครงงานหุ่นยนต์ทำมือ
  • โชคดีมีสุขครับท่าน
  • ศูนย์หุ่นยนต์ควรดำเนินการจัดอบรมให้ความรู้แก่ครู และนักเรียนที่สนใจเพื่อเตรียมความพร้อมในการแข่งขันต่อไป
  • ขอบคุณมาก
  • ขอบคุณ คุณJOY (จ่อย)  ที่เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้คะ ปีนี้...ก็ขอให้ลูกชาย คุณJOY (จ่อย) โชคดี มีโอกาสเป็นตัวแทนไปเข้าร่วมการแงขันในระดับประเทศต่อไปนะคะ
  • ขอบคุณ ผอ.บรรจง ปัทมาลัย  ที่เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาเพิ่มประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับนักเรียนคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท