ธรรมหรรษา
รศ.ดร. พระมหา หรรษา นิธิบุณยากร

เมื่อจุฬาโลก พบจุฬาธรรม


ท่านรองอธิการฯ ของจุฬาฯ ยอมรับกับคณะทำงานว่า "ขับรถวิ่งผ่านไปมาระหว่างบ้านเกิดกับแถวสิงห์บุรีกับกรุงเทพฯ ระหว่างถนนพหลโยธิน และ ทุกครั้งที่เห็นมหาจุฬาฯ เข้าใจมาตลอดสามปีว่า ที่นี่คือวัด ไม่ใช่มหาวิทยาลัย ซึ่งสอดคล้องกับชาวบ้านในระแวงมหาวิทยาลัยที่ผู้เขียนได้มีโอกาสพบปะและพูด คุย ทุกคนจะเข้าใจคล้ายๆ กันว่า ที่นี่คือ วัด" ฉะนั้น แต่ละท่านจึงคิดว่า ไม่ควรเข้าไปยุ่งในวัด และควรให้พระดำเนินกิจกรรมทางสงฆ์ต่อไป แต่ความจริงคือ "นี่ืคือจุฬาธรรม" ซึ่งมีฆราวาสญาติโยมจำนวนมากตัดสินใจเ้ข้ามาศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาถึงปริญญาเอก

       คณะทำงานด้านการดำเนินกิจกรรม KM ของมหาจุฬาฯ ประกอบด้วย ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ เลขานุการทั้ง ๔ คณะ คือ พุทธศาสตร์ ครุศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษย์  ผู้อำนวยการกองวิชาการ ฝ่ายเทคโนโลยี ฝ่ายการเงิน ฝ่ายแผน และฝ่ายบริหารได้ร่วมกำหนดกรอบ และทิศทางในการทำงาน ตามคำสั่งของมหาวิทยาลัย และสภาวิชาการโดยแบ่งทีมงานในด้านการประกันคุณภาพออกเป็น ๓ ทีม คือ (๑) ทีมกำหนดแนวทางในการทำงาน และการบริหารงาน (๒) ทีมงานที่กำกับและควบคุมฐานข้อมูลของมหาวิทยาลัย เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และแบ่งปันร่วมกัน และ (๓) ทีมประสานงานและดำเนินกิจกรรมในประเด็นต่างๆ เช่น การเงิน การบัญชี แผนงาน เทคโนโลยี และวิชาการ

 

      รองศาสตราจารย์ ดร.ธนิต ธงทอง รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เดินทางมาเยี่ยมที่ มจร วังน้อย และอธิบายกรอบและทิศทางในการทำงานมหาจุฬาวิชาการ ปี ๕๓  และผู้เขียนก็เพิ่งทราบว่า จุฬาวิชาการปีที่ผ่านมานั้น ใช้เงินในการจัดงาน ทั้งสิ้น ๓๒ ล้านบาท บทบาทหลักในการดำเนินการนั้น จะเป็นหน้าที่ของนิสิตในคณะต่างๆ  แต่มหาจุฬาฯ มีเงิน ๑ ล้านบาทในการจัดงาน ทีมงานเลยหาทางออกร่วมกันว่าจะจัดอย่างไร จึงจะสอดรับกับความเป็นมหาจุฬาฯ และสอดรับกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองเช่นนี้

      ข่วงแรกของการสนทนา ท่านรองอธิการฯ ของจุฬาฯ ยอมรับกับคณะทำงานว่า "ขับรถวิ่งผ่านไปมาระหว่างบ้านเกิดกับแถวสิงห์บุรีกับกรุงเทพฯ ระหว่างถนนพหลโยธิน และทุกครั้งที่เห็นมหาจุฬาฯ  เข้าใจมาตลอดสามปีว่า ที่นี่คือวัด ไม่ใช่มหาวิทยาลัย ซึ่งสอดคล้องกับชาวบ้านในระแวงมหาวิทยาลัยที่ผู้เขียนได้มีโอกาสพบปะและพูดคุย ทุกคนจะเข้าใจคล้ายๆ กันว่า ที่นี่คือ วัด" ฉะนั้น  แต่ละท่านจึงคิดว่า ไม่ควรเข้าไปยุ่งในวัด และควรให้พระดำเนินกิจกรรมทางสงฆ์ต่อไป

      เมื่อท่านรองฯ เข้าใจแจ่มชัดในทุกๆ เรื่อง ทุกกิจกรรมแล้วว่า จุฬาธรรม หรือมหาจุฬาฯฯ เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐเช่นเดียวกันจุฬาโลก  การบริหารจัดการขึ้นตรงกับกระทรวงศึกษาธิการ ได้รับการสนับสนุนงบประเมินประมาณจากรัฐบาลและ มี พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย บริหารและจัดการโดยอธิการบดี รองอธิการบดี และคณบดีคณะต่างๆ ดีแล้ว

      หลังจากนั้น คณะทำงานจึงได้รับการชี้ขุมทรัพย์ที่ทรงคุณค่าในการบริหารจัดการมหาวิทยลัย โดยได้นำประสบการณ์จาก "จุฬาโลก" มานำเสนอต่อ "จุฬาธรรม" หรือมหาจุฬาฯ ว่า แต่ละแห่งมีจุดอ่อนจุดแข็งอย่างไร  โดยได้ชี้ว่า จุดแข็งของมหาจุฬาฯ คือ "จุฬาธรรม" ในฐานะที่รัชการที่ ๕ ได้สถาปนาจุฬาธรรมก่อนจุฬาโลกนั้น เราควรเน้นมหาจุฬาฯ ไปสู่การพัฒนา "วินัย" โดยการนำ "คุณธรรม" มาเป็นจุดแข็ง เพราะสังคมขาด "คุณธรรมและจริยธรรม"  มหาจุฬาฯจะนำ "ธงธรรม" ไปปักในมุมต่างๆ ของประเทศไทยได้อย่างไร ซึ่งประเด็นเหล่านี้ มหาจุฬาฯ ได้ดำเนินการมาโดยตลอด ซึ่งเป็นการจัดการศึกษาที่ "เชื่อมโลกและธรรมเข้าด้วยกัน"

     วิชาการต่างๆ ที่เน้นสอนอยู่ในมหาวิทยาลัยในปัจจุบันนี้ จะเน้นเรื่อง "ทำมาหากิน" หรือเน้นวิชาที่นำไปเป็น "เครื่องมือในการทำมาหากิน"  ในขณะที่มหาจุฬาฯ ได้เน้นสอนทั้งวิชาการที่นำไป "เลี้ยงกาย และเลี้ยงใจ" ไปพร้อมๆ กัน เพื่อแสดงให้เห็นว่า "โลกก็ไม่ช้ำ ธรรมก็ไม่เสีย"  ซึ่งเป็นการสร้างดุลยภาพ ทั้งทางกายและทางใจไปด้วยกัน  ตามวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยที่ว่า "ศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนา บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนาจิตใจและสังคม" http://www.mcu.ac.th/site/index.php

      ก่อนเดินทางกลับจุฬาโลก  ผู้เขียน และเลขานุการคณะต่างๆ ในฐานะ "จุฬาธรรม" ที่เป็นคณะกรรมการ KM ได้ร่วมกันมอบของที่ระลึกแก่รองศาสตราจารย์ ดร.ธนิต ธงทอง รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

      ผู้เีขียนในฐานะทีมงานของจุฬาโลกต้องขออนุโมทนาขอบคุณท่านรองฯ ที่ได้เสียสละเวลาอันมีค่าเดินทางมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเล่าประสบการณ์ดีๆ จากการทำงาน เพื่อให้จุฬาธรรมได้ใช้เป็นแนวทางในการทำงานในโอกาสต่อไป

หมายเลขบันทึก: 336506เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2010 17:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

 นมัสการครับ 

ผมชอบตรงนี้จังเลยครับ

 

โลกก็ไม่ช้ำ ธรรมก็ไม่เสีย

 

    ผมขออนุญาตเสริมหน่อยครับ ว่า

    

*   Slow  life  by  Dhamma

 

 *  สมดุลย์ของชีวิต ควรต้องติดเบรกธรรม

 

    นมัสการด้วยความเคารพครับ

ท่านรองฯ

  • เสริมคำคมต่อยอดให้อาตมาอีกแล้ว
  • สมดุลย์ของชีวิต ควรต้องติดเบรคธรรม
  • ขออนุญาตินำไปเผยแพร่ให้ผู้บริหารและนิสิตฟังน่ะ
  • เจริญพรขอบใจท่านรองมาก

กราบนมัสการพระคุณเจ้า เจ้าค่ะ

ตั้งใจไปปฏิบัติธรรมที่ฮอด 7 วัน ตามโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเจ้าค่ะ

คิดว่าควรเตรียมตัวก่อนไปด้วยการทำPre-Learning

ทั้งเติมความรู้ และเจริญสติเจ้าค่ะ

"โลกไม่ช้ำ  ธรรมไม่เสีย"

ดูว่าจะเข้ากันกับบรรยากาศชีวิตของครูต้อยในขณะนี้เจ้าค่ะ

อีกทั้งปักธงธรรม

คงเป็นในที่ๆสมควรปักกระมั๊งคะ

กราบนมัสการด้วยความเคารพเจ้าค่ะ

 

 

 

อนุโมทนาบุญครูต้อย อย่าลืมนำคุณงามความดีมาฝากพวกเราน่ะ เจริญพร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท