เผชิญความตายอย่างสงบ


ถทำความเข้าใจและน้อมใจยอมรับความตายอย่างกล้าหาญ ว่าเป็นความจริงของชีวิต
เผชิญความตายอย่างสงบ

วันที่จัด

ประเภทอบรม

วิทยากร

บริจาคร่วมกิจกรรม

19–21 กพ.53 ขั้นพื้นฐาน พระไพศาล วรรณา สุชาดา กานดาวศรี 4,500 บาท
2-4 เมย. 53 ขั้นพื้นฐาน พระไพศาล ปรีดา พูลฉวี กานดาวศรี 4,500 บาท
21-23 พค. 53 ขั้นพื้นฐาน พระไพศาล ธวัชชัย วรรณา สุชาดา กานดาวศรี 4,500 บาท
17-19 กค. 53 ขั้นพื้นฐาน พระไพศาล ปรีดา พูลฉวี กานดาวศรี 4,500 บาท
11-14 พย. 53 ขั้นทักษะนำทางจิตวิญญาณ
(ต้องผ่านการอบรมขั้นพื้นฐานมาก่อน)
พระไพศาล ปรีดา พูลฉวี กานดาวศรี ธวัชชัย วรรณา สุชาดา พูลฉวี 5,900 บาท
17-19 ธค. 53 ขั้นพื้นฐาน(เฉพาะผู้ที่อยู่ภาคเหนือเท่านั้น) พระไพศาล หมอโรจนศักดิ์ ปรีดา พูลฉวี อยู่ระหว่างประสาน

จำนวนรับสมัคร

36 ท่าน ต่อครั้ง ดาวน์โหลดใบสมัคร

สถานที่จัด

แสนปาล์ม เทรนนิ่งโฮม กำแพงแสน จ.นครปฐม แผนที่

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่

เสมสิกขาลัย สำนักงานรามคำแหง
จงรักษ์ แซ่ตั้ง หรือ สาวิตรี กำไรเงิน
โทรศัพท์ 02-314 7385 ถึง 6 e-mail: อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

เกริ่นนำ

การเผชิญความตายอย่างสงบ อาจไม่ใช่เรื่องง่ายดายที่เราจะคิดและทำให้จิตสงบได้ในทันทีทันใด เพราะในทัศนะของเราความตายเป็นสิ่งที่จะมาพรากเอาทุกอย่างที่รักและมีอยู่ไป ไม่มีอะไรที่เราจะยึดเอาไว้ได้อีกต่อไป แม้แต่ร่างกายและตัวตนของเรา ดังนั้นเราจำต้องฝึกฝนและลงมือสร้างปัจจัยต่างๆ ที่เอื้อต่อความมั่นคงทางใจให้ถึงพร้อม อย่างไรก็ตาม การตายอย่างสงบก็ไม่ใช่เรื่องที่ยากเกินความสามารถของมนุษย์ทุกผู้คน

การเรียนรู้เกี่ยวกับ “ความตาย” ทำให้เราปรับทัศนคติในการใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท ฝึกฝนจิตให้ตั้งมั่นในความตระหนักรู้อยู่เสมอทุกลมหายใจ หากเราสามารถทำความเข้าใจและน้อมใจยอมรับความตายอย่างกล้าหาญ ว่าเป็นความจริงของชีวิต พร้อมกับการสร้างบรรยากาศของความสงบและปล่อยวางจากภาระที่คั่งค้างใจ เพื่อให้ความตายที่จะมาถึงไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวอีกต่อไป แต่กลับเป็นโอกาสทองในการพัฒนาทางจิตวิญญาณให้คลายความยึดมั่นทั้งปวง และแน่วแน่สู่ความแจ่มชัดในธรรมะขั้นสูงต่อไป

นี่จึงเป็นโอกาสสำคัญที่แพทย์ พยาบาลและเจ้าหน้าที่ทุกคนในโรงพยาบาล จะได้กลับมาทำความรู้จัก เรียนรู้ “เรื่องความตาย ในอีกความหมายหนึ่งของชีวิต” ที่นอกจากจะเกิดประโยชน์ต่อตัวผู้เรียนเอง หากสิ่งเหล่านี้ยังจะสามารถนำไปช่วยเหลือ เยียวยา เอื้อประโยชน์ต่อผู้ป่วยและญาติที่ต้องการคนที่เป็นที่พึ่งพิงทั้งกายและใจเช่นท่านอีกด้วย

เนื้อหา

  1. ทำความเข้าใจเรื่อง “แนวคิดพื้นฐานและการปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องความตาย”
  2. ทำ พิธีกรรมเพื่อแสดงออกถึงผู้ที่จากไป เช่น เขียนความในใจถึงผู้ล่วงลับ และอุทิศส่วนกุศล เพื่อน้อมนำสู่การพิจารณาหลักไตรลักษณ์หรือการปลงสังขาร
  3. ฝึกทดลองเตรียมตัวตายอย่างมีสติและการดำเนินชีวิตอย่างไม่ประมาท
  4. ทำวิสัยทัศน์ชีวิตและสมดุลชีวิต เพื่อรูปธรรมในการใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาทและเกิดสมดุลแห่งชีวิตตามหลักพุทธธรรม
  5. ฝึกฝนการทำสมาธิภาวนา
  6. ฝึกทักษะการดูแลและให้สติผู้ป่วยระยะสุดท้ายผ่านสถานการณ์จำลอง และฝึกภาวนาร่วมกับผู้ป่วย

วิทยากร

พระ ไพศาล วิสาโล กานดาวศรี ตุลาธรรมกิจ ปรีดา เรืองวิชาธร พูลฉวี เรืองวิชาธร ธวัชชัย โตสิตระกูล วรรณา จารุสมบูรณ์ สุชาดา โตสิตระกูล นพ.เต็มศักดิ์ พึ่งรัศมี สุรีย์ ลี้มงคล และนพ.พรเลิศ ฉัตรแก้ว
(วิทยากรหลักนำโดยพระไพศาล วิสาโล และท่านอื่นๆ จะสลับหมุนเวียนแต่ละครั้งของการอบรม)

ตารางการอบรม

วันที่ 1 ของการอบรม
07.00 *** นัดเจอกันที่ท๊อปซูปเปอร์มาร์เก็ต ตรงข้ามมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(บางเขน)
08.30 – 09.00 รับประทานอาหารเช้า และลงทะเบียนที่ห้องประชุม
09.00 – 12.15 กิจกรรมแนะนำตัว กิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ ความคาดหวัง ข้อตกลงร่วม และบอกเล่าความรู้สึกนึกคิดต่อเรื่องความตายในสังคมปัจจุบัน
12.15 – 13.15 อาหารกลางวัน
13.15 – 14.00 ผ่อนพักตระหนักรู้ (นอนภาวนา)
14.00 – 17.00 แบ่งปันความรู้สึกนึกคิดของคนในสังคมปัจจุบันต่อเรื่องความตาย
  และภาวะใกล้ตาย และเหตุปัจจัยที่กำหนดความรู้สึกนึกคิดนั้น
18.00 – 19.00 อาหารเย็น
19.00 – 19.30 สมาธิภาวนา
19.30 – 21.30 แลกเปลี่ยน “สภาพการตายที่พึงปรารถนาในมิติต่างๆ” และทำความเข้าใจ
  เรื่องภาวะใกล้ตายและคติใกล้ตาย ทั้งทางกายภาพและจิตวิญญาณ
 
วันที่ 2 ของการอบรม
07.00 – 08.00 ทำบุญอุทิศส่วนกุศลเพื่อน้อมนำสู่การพิจารณาหลักไตรลักษณ์
  หรือการปลงสังขารและสมาธิภาวนา
08.00 – 08.45 อาหารเช้า
08.45 – 09.05 สมาธิภาวนา
09.05 – 12.15 หลักการการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่นำไปปฏิบัติได้จริง
  และฝึกทักษะการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายผ่านสถานการณ์จำลอง
12.15 – 13.15 อาหารกลางวัน
13.15 – 14.00 ผ่อนพักตระหนักรู้ (นอนภาวนา)
14.00 – 17.00 กิจกรรมสื่อความในใจถึงผู้ล่วงลับ
18.00 – 19.00 อาหารเย็น
19.00 – 19.30 สมาธิภาวนา
19.30 – 20.00 เขียนพินัยกรรมชีวิต
20.00 – 21.30 พิจารณามรณสติ (ตายก่อนตาย)
 
วันที่ 3 ของการอบรม
07.30 – 08.45 อาหารเช้า
08.45 – 09.05 สมาธิภาวนา
09.05 – 12.15 ฝึกภาวนาโพวา และฝึกทักษะการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (ต่อ)
  พร้อมทั้งสรุปหลักการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
12.15 – 13.15 อาหารกลางวันและเดินทางไปโรงพยาบาลศูนย์นครปฐม
14.00 – 17.00 ฝึกภาวนาทองเลน เยี่ยมผู้ป่วยในโรงพยาบาลศูนย์นครปฐมเพื่อรับฟังให้กำลังใจและภาวนาร่วมกัน สรุปประเมินผลการอบรม
   
หมายเหตุ กำหนดการอบรมอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

 

สิ่งที่ต้องเตรียม

1. เสื้อกันหนาว (ห้องประชุมมีเครื่องปรับอากาศ)

2. ยารักษาโรคส่วนตัว (ถ้ามี)

3. ชื่อของบรรพบุรุษหรือผู้ที่ต้องการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ และมีพิธีถวายสังฆทานร่วมกัน ท่านสามารถนำของมาทำบุญตามกำลังสมควร

หมายเลขบันทึก: 336242เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2010 15:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 10:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท