โรคหลอดเลือดแดงแข็ง


โรคหลอดเลือดแดงแข็ง
(Atherosclerosis)

 

ความหมายของโรคหลอดเลือดแดงแข็ง

          โรคหลอดเลือดแดงแข็ง หมายถึง โรคที่เกิดจากการสะสมของไขมัน และสารอื่นๆ ในผนังหลอดเลือด  ทำให้ผนังหลอดเลือดหนาขึ้นจนเกิดเป็นตะกรัน และเมื่อตะกรันมีขนาดใหญ่ขึ้น จะทำให้เกิดการตีบตันของหลอดเลือดและทำให้หลอดเลือดมีความยืดหยุ่นลดลง

           หากเกิดการฉีกขาดของตะกรันลิ่มเลือดที่หลุดออกมาอาจจะไปอุดตันหลอดเลือด และทำให้เกิดหัวใจขาดเลือด หรือ หากมีการอุดตันบริเวณสมองก็จะก่อให้เกิด หลอดเลือดสมองอุดตัน และอาจถึงแก่ชีวิตได้

ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็ง

           ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็ง คือ ไขมันตัวร้าย (LDL-cholesterol) ซึ่งไม่ควรเกิน   130 mg/dl ถ้ามีปริมาณมาก จะสะสมอยู่ในหลอดเลือดแดง และเป็นต้นเหตุของโรคหลอดเลือดแดงแข็ง

ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็ง

1.ผู้ชายอายุ  40 ปีขึ้นไป

2.ผู้หญิงอายุ 55 ปีขึ้นไป

3.มีโรคเบาหวาน

4.มีความดันโลหิตสูง

5.มีไขมันในเลือดสูง

6.สูบบุหรี่

7.เครียด

8.น้ำหนักเกิน

9.ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

10.มีประวัติสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคของหลอดเลือด

อาการเริ่มแรกของโรคหลอดเลือดแดงแข็ง

  1.เจ็บหน้าอก

  2.เจ็บแขนซ้ายหรือกราม

  3.อึดอัด หายใจไม่ออก

  4.อ่อนเพลีย เหงื่อออกง่าย

  5. เวียนศีรษะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะที่หัวใจต้องทำงานหนัก เช่น ระหว่างการออกกำลังกาย

โดยปกติจะไม่ปรากฏอาการผิดปกติใด ๆ จนกระทั่งเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นแล้ว และภาวะนี้สามารถเกิดได้กับหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย

ผลกระทบของโรคหลอดเลือดแดงแข็งต่ออวัยวะของร่างกาย

โรคหลอดเลือดแดงแข็งต่ออวัยวะสำคัญของร่างกาย 3 ส่วน ดังนี้
1. กรณีเกิดที่หลอดเลือดหัวใจ : ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด มีอาการเจ็บหน้าอกด้านซ้าย หรือเกิดภาวะหัวใจวายฉับพลัน (Heart Attack)
2. กรณีเกิดที่หลอดเลือดสมอง : ทำให้ผู้ป่วยเป็นอัมพฤกษ์ หรือ อัมพาต (แขน ขา อ่อนแรง หรือขยับไม่ได้, พูดไม่ชัด)
3. กรณีเกิดที่หลอดเลือดแดงที่แขนหรือขา : ทำให้เกิดอาการปวดน่องเวลาเดิน แขนหรือขาอ่อนแรง หรือเป็นอัมพาต

การตรวจวินิจฉัย

          การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดแดงแข็ง นอกจากการซักประวัติเพื่อพิจารณาปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค แล้วยังสามารถใช้เครื่องมือเพื่อการวินิจฉัยความหนาของหลอดเลือดแดง ซึ่งเครื่องมือนั้นคือ เครื่องมือสำหรับการตรวจ Carotid Intimate-Media Thickness (CIMT) มีวิธีการตรวจด้วยการอัลตราซาวด์เส้นเลือดบริเวณคอ เพื่อตรวจดูความหนาของผนังหลอดเลือดแดงว่ามีตะกรันหรือไขมันมาสะสมมากน้อยเพียงใด พร้อมทั้งยังสามารถตรวจสอบ Flow การไหลของเลือดว่าเป็นปกติหรือไม่

การรักษาและแนวทางป้องกัน ประกอบด้วย

1.การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต

-หยุดสูบบุหรี่

-ควบคุมความดันโลหิต

-ควบคุมระดับไขมันในเลือด

-การออกกำลังกาย

-การคุมน้ำหนัก

-การตรวจร่างกายประจำปี

-การรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ

-ผ่อนคลายความเครียด

-การดื่มสุราอย่างพอเหมาะการให้ยาลดระดับไขมันที่จำเป็น 

2.การให้ยาลดระดับไขมันที่จำเป็น

          ร่างกายสามารถสังเคราะห์ไขมันโคเลสเตอรอลได้ที่ตับ ดังนั้นในบางกรณี แม้ว่าท่านจะควบคุมอาหารอย่างเต็มที่แล้วก็ตามระดับไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดก็อาจจะไม่ต่ำลงมาอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องการ ในกรณีเช่นนี้จึงจำเป็นต้องรับประทานยาเพื่อช่วยลดระดับไขมันโคเลสเตอรอลที่ร่างกายสร้างขึ้น
ในปัจจุบันยาลดไขมันที่ใช้มีหลายกลุ่ม  ได้แก่ chelating agent (resin) ยาที่ลดการสร้างโคเลสเตอรอล คือ statins  และยาที่เพิ่มการเผาผลาญโคเลสเตอรอล และ ไตรกลีเซอไรด์ ได้แก่ statins,  fibrates และ nicotinic acid ส่วน probucol นั้น เพิ่มการเผาผลาญโคเลสเตอรอลโดยไม่มีผลต่อไตรกลีเซอไรด์

คำสำคัญ (Tags): #โรค
หมายเลขบันทึก: 335447เขียนเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2010 00:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท