อรรถพล


มารยาทไทย

ปี ๒๕๔๙ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้จัดทำองค์ความรู้ เรื่อง มารยาทไทย ประกอบด้วย การกำหนด ความหมาย ขอบข่าย ลำดับความสำคัญ และการปรับปรุงรายละเอียดการปฏิบัติท่ามารยาทไทย เรื่องการแสดงความเคารพ ซึ่งจัดทำโดย คณะกรรมการดำเนินงานด้านมารยาทไทย ตามคำสั่ง สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ที่ ๖๓๕/๒๕๔๙ ลงวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๔๙ โดยมี นายพะนอม แก้วกำเนิด เป็นประธานในการดำเนินงาน และได้ประชุมปฏิบัติการเมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๔๙ ณ ห้องประชุมกองอำนวยการร่วม ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ทั้งนี้วัตถุประสงค์ของการจัดทำองค์ความรู้ดังกล่าว ก็เพื่อธำรงรักษาวัฒนธรรมด้านมารยาทไทยอันเป็นรูปแบบปฏิบัติของคนไทยให้คงอยู่คู่ชาติไทย ทั้งนี้ได้มีการปรับปรุงเนื้อหาและการปฏิบัติให้มีความเหมาะสมกับยุคสมัยมากยิ่งขึ้น รายละเอียดดังนี้

ความหมาย มารยาท

“ มารยาท ” หมายถึง กิริยา วาจาที่สุภาพเรียบร้อย ที่บุคคลพึงปฏิบัติในสังคมโดยมีระเบียบแบบแผน อันเหมาะสมตามกาลเทศะ

ขอบข่าย มารยาทไทย

มารยาทไทยครอบคลุมถึงกิริยา วาจาต่าง ๆ เช่น การยืน การเดิน การนั่ง การนอน การรับของส่งของ การทำความเคารพ การแสดงกิริยาอาการ การรับประทานอาหาร การให้และรับบริการ การทักทาย การสนทนา การใช้คำพูด การฟัง การใช้เครื่องมือสื่อสาร รวมทั้งการประพฤติปฏิบัติในพิธีการต่าง ๆ

ลำดับความสำคัญมารยาทไทย

มารยาทไทย เป็นเอกลักษณ์สำคัญของคนไทย ควรกำหนดขึ้นไว้เป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติ ดังนี้

๑ การแสดงความเคารพ ๒ การยืน ๓ การเดิน ๔ การนั่ง ๕ การนอน
๖ การรับของส่งของ ๗ การแสดงกิริยาอาการ ๘ การรับประทานอาหาร ๙ การให้และรับบริการ ๑๐ การทักทาย
๑๑ การสนทนา ๑๒ การใช้คำพูด ๑๓ การฟัง ๑๔ การใช้เครื่องมือสื่อสาร ๑๕ การประพฤติปฏิบัติในพิธีการต่าง ๆ

คำสั่ง สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ที่ ๖๓๕ /๒๕๔๙
เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานด้านมารยาทไทย

 

การยืน

การยืนโดยคำนึงถึงมารยาทจัดเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้

๑. การยืนเคารพธงชาติ

๒. การยืนถวายความเคารพสมเด็จพระสังฆราช

๓. การยืนถวายความเคารพพระมหากษัตริย์ และ พระบรมวงศ์

๔. การยืนในพิธีต่างๆ

๕. การยืนที่ไม่เป็นพิธี

๔. การยืนในพิธีต่างๆ

๔.๑ การยืนเคารพในพิธีที่มีการบรรเลงเพลงมหาฤกษ์ และเพลงมหาชัย

เพลงมหาฤกษ์ ใช้บรรเลงในการเปิดงานที่เป็นพิธีใหญ่ เช่น พิธีเปิดสถานทำการของรัฐบาล พิธีเปิดทางคมนาคมที่สำคัญๆ และงานที่เป็นมงคลทั่วไป

ใช้บรรเลงต้อนรับประธานของงานผู้มีเกียรติสูง นับตั้งแต่สมเด็จพระบรมราชกุมาร พระบรมวงศานุวงศ์ นายกรัฐมนตรี หรือเมื่อผู้เป็นประธานของงานกล่าวคำปราศัยจบก็จะบรรเลงเพลงมหาชัยเป็นพิเศษหรือบรรเลงในงานรับรองบุคคลสำคัญ งานสโมสรสันนิบาต เป็นต้น

เมื่อได้ยินเพลงมหาฤกษ์ หรือเพลงมหาชัย บรรเลง ให้ยืนตรงจนกว่าจะจบเพลง ในกรณีที่เป็นพิธีของทางราชการ ผู้ที่เป็นทหารหรือข้าราชการพลเรือน ที่อยู่ในเครื่องแบบให้ปฏิบัติตามระเบียบของราชการทหาร หรือราชการพลเรือนแล้วแต่กรณี

๔.๒ การยืนเคารพในพิธีให้เกียรติแก่ผู้ล่วงลับ ให้ยืนแสดงความเคารพเมื่อได้ยินเสียงแตรเดี่ยว เป่าเพลงนอน หรือเมื่อประธานวางเครื่องขมาหรือจุดเพลิงเผาศพ ไม่ว่าจะมีเพลงประโคมหรือไม่ก็ตาม และเมื่อการเชิญศพผ่านให้ยืนตรงแสดงความเคารพด้วย

๔.๓ การยืนเมื่อประธานในพิธีเดินผ่าน ทุกคนในที่นั้นลุกขึ้นยืนตรงหันหน้าไปทางประธานที่กำลังเดินผ่าน ปล่อยมือไว้ข้างตัว

๔.๔การยืนฟังโอวาท ให้ยืนตรง ชิดเท้า ปล่อยมือไว้ข้างตัว หันหน้าไปทางผู้ให้โอวาท ยกเว้นในกรณีที่ถือประกาศนียบัตร หรือเครื่องราชอิสริยาภรณ์ฯลฯ อยู่ ถ้าถือมือเดียวให้ถือด้วยมือขวาแนบไว้กับอกหรือระดับตั้งฉากกับลำตัว แล้วแต่ทางพิธีจะกำหนด ถ้าถือสองมือให้ถือระดับตั้งฉากกับลำตัว

๔.๕การยืนกล่าวคำปฏิญาณ โอกาสที่กล่าวคำปฏิญาณ เช่น กล่าวคำปฏิญาณต่อธงชัยเฉลิมพล ถวายสัตย์ปฏิญาณ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ยืนตรง ชิดเท้า หันหน้าไปทางธงหรือพระองค์ท่าน กล่าวคำปฏิญาณของครู นักเรียน และกลุ่มบุคคลต่างๆ อาทิ ไทยอาสาป้องกันชาติ ลูกเสือ เนตรนารี ให้ผู้ที่กล่าวคำปฏิญาณปฏิบัติตามพิธีที่กำหนดไว้ของสถาบันนั้นๆ

๕. การยืนที่ไม่เป็นพิธี

๕.๑ การยืนรับคำสั่ง ให้ยืนตรง ชิดเท้า หน้าตรง ปล่อยมือไว้ข้างตัว


การยืนรับคำสั่ง

๕.๒ การยืนให้เกียรติผู้ใหญ่ การยืนลักษณะนี้ใช้เมื่อเรานั่งสนทนากันอยู่แล้วมีผู้ใหญ่เดินเข้ามาหรืออยู่ร่วมสนทนาด้วย ให้ลุกขึ้นยืนตรง มือประสานกันอยู่ระดับเอว ค้อมตัวเล็กน้อย รอจนผู้ใหญ่นั่งลงแล้วจึงนั่งลง

๕.๓ การยืนสนทนากับผู้ใหญ่ ให้ยืนตรง ชิดเท้า ค้อมตัวเล็กน้อย มือประสานกันอยู่ระดับเอว ไม่ควรยืนชิดหรือห่างผู้ใหญ่จนเกินไป

๕.๔ การยืนคุยกับเพื่อน การยืนพักผ่อน และการยืนดูมหรสพ ควรยืนในลักษณะสุภาพ ไม่ก่อความรำคาญหรือเกะกะกีดขวางผู้อื่น เช่น ยืนพูดข้ามศีรษะ หรือยืนบังผู้อื่นในการยืนดูมหรสพหรือขบวนแห่ เป็นต้น

๕.๕ การยืนเข้าแถวคอย ลักษณะการยืนเช่นเดียวกับข้อ ๕.๔ แต่จะต้องเข้าแถวให้เป็นระเบียบ เรียงลำดับก่อนหลัง ไม่ควรแย่งกัน เช่นการยืนตามลำดับก่อนหลังในการเตรียมขึ้นรถโดยสาร ในการขึ้นเผาศพ ในการรดน้ำอวยพรคู่บ่าวสาว และในการตักอาหารแบบช่วยตัวเอง

๕.๖ การยืนปฏิบัติหน้าที่ ได้แก่การยืนประกาศ ยืนบรรยาย หรือยืนแสดงปาฐกถา ฯลฯ ควรยืนในลักษณะสุภาพ

๓. การยืนถวายความเคารพพระมหากษัตริย์ และ พระบรมวงศ์

๓.๑ การยืนรับเสด็จฯ นอกพระที่นั่ง อาคาร หรือแนวทางลาดพระบาทที่รับเสด็จฯถ้าเป็นข้าราชการจัดให้ยืนเรียงแถวตามลำดับยศ ตำแหน่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ซึ่งกำหนดการเฝ้าฯ เป็นงาน ๆ เช่น แต่งเครื่องแบบเต็มยศ ครื่งยศปกติ โดยปฏิบัติตามระเบียบของเจ้าหน้าที่ หรือผู้รับผิดชอบแนะนำ


ถ้าแต่งเครื่องแบบสวมหมวกทั้งชายหญิงให้ยืนถวายความเคารพด้วยการทำวันทยาหัตถ์ หากไม่สวมหมวกข้าราชการชาย ทหาร ตำรวจ พลเรือนและหญิงที่แต่งเครื่องแบบทหาร ตำรวจ ให้ถวายคำนับโดยก้มศีรษะลงช้า ๆ ต่ำพอสมควรกระทำครั้งเดียวแล้วยืนตรง ถ้าเป็นพยาบาล ที่แม้จะสวมหมวกให้ย่อเข่าที่เรียกกันทั่วไปว่า “ถอนสายบัว”ตามแบบข้าราชการฝ่ายในสำนักพระราชวัง

บุคคลทั่วไปที่มีโอกาสได้เฝ้าฯ แต่มิได้แต่งเครื่องแบบ ชายให้ถวายคำนับ หญิงถวายความเคารพแบบย่อเข่าที่เรียกว่าถอนสายบัว ในกรณีต่างจังหวัด ชนบทพสกนิกร ประชาชนจะยกมือประนม ก้มศีรษะไหว้แบบไทยก็ได้ทั้งชาย หญิง ถ้าสวมหมวกที่มิใช่เครื่องแบบที่ทางราชการกำหนด ให้ถอดหมวก แล้วถวายความเคารพเหมือนผู้ที่ไม่ได้แต่งเครื่องแบบ ยกเว้นผู้ที่โพกผ้าหรือสวมหมวกตามลัทธิศาสนาของตน

๓.๒ การยืนเฝ้าฯ รับเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถฯ สมเด็จพระบรมวงศ์

ให้ยืนถวายความเคารพตามข้อ ๓.๑ แล้วยืนตรงจนกว่าจะเสด็จฯ เลยไป เมื่อประทับพระราชอาสน์ หรือพระเก้าอี้เรียบร้อยแล้ว ถวายความเคารพอีกครั้งหนึ่ง แล้วจึงเคลื่อนที่ได้และลงนั่งเก้าอี้ตามลำดับตำแหน่ง

ในกรณีที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจงานพระราชพิธีต่าง ๆ เช่น เสด็จฯ ไปทรงจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย หรือพระราชทานพระบรมราโชวาท ให้ยืนตรงจนกว่าทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนั้นเสร็จ ประทับพระราชอาสน์ หรือพระเก้าอี้แล้ว จึงถวายความเคารพแล้วนั่งลง

ผู้ที่นั่งเฝ้าฯ อยู่ในงานพิธีการต่างๆ เมื่อมีกิจจำเป็นจะต้องไปจากที่นั้น ให้ยืนถวายความเคารพก่อนแล้วจึงออกไป เมื่อกลับมาต้องถวายความเคารพอีกครั้งแล้วจึงนั่งลง

ในกรณีการเฝ้า ฯ ที่ไม่ได้จัดให้นั่งเก้าอี้เฝ้าฯ เช่น งานสโมสรสันนิบาต งานเสด็จออกมหาสมาคม ผู้เฝ้า ฯ จะต้องยืนตลอดเวลาจนกว่าจะเสด็จ ฯ กลับ

๓.๓ การยืนเคารพในพิธีที่มีการบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี เพลงสรรเสริญพระบารมีบรรเลงเพื่อถวายความเคารพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถฯ สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร หรือผู้ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้แทนพระองค์

การยืนเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมีในกรณีที่มิได้อยู่ในที่เฝ้าฯ เช่น เมื่อเพลงสรรเสริญพระบารมีบรรเลงเป็นการเปิดหรือปิดงาน หรือเมื่อมหรสพเริ่มหรือเลิก ควรทำความเคารพด้วยการยืนตรง เมื่อเพลงจบให้คำนับโดยก้มศีรษะ ทั้งชายและ หญิง

๑. การยืนเคารพธงชาติ เพลงชาติ หรือธงชัยเฉลิมพลในที่สาธารณะ ให้ยืนตรงแสดงคารวะโดยหันหน้าไปทางธงชาติ เมื่อเพลงจบให้ค้อมศีรษะคำนับ และสำหรับบุคคลทั่วไปเมื่อจะผ่านธงชัยเฉลิมพลให้หยุด และยืนแสดงคารวะ หรือเมื่อมีการเชิญธงชัยเฉลิมพลผ่านก็ให้ยืนตรงแสดงความเคารพเช่นเดียวกัน

๒. การยืนถวายความเคารพสมเด็จพระสังฆราช

๒.๑ เมื่อสมเด็จพระสังฆราชเสด็จมาถึงมณฑลพระราชพิธีก่อน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้ที่มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอยู่ ณ ที่นั้น ถวายความเคารพโดยการยืนประนมมือไหว้ เมื่อเสด็จผ่านแล้วจึงนั่งลง

๒.๒ ในกรณีที่สมเด็จพระสังฆราชเสด็จมาถึงภายหลัง ให้ถวายความเคารพโดยวิธีนั่งประนมมือไหว้

 

 

 

การเดิน

การเดินโดยคำนึงถึงมารยาท อาจจัดเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้คือ

     ๑ . การเดินในกรณีที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์

    ๒. การเดินในพิธีทางศาสนา

     ๓. การเดินในพิธีต่างๆ

     ๔. การเดินผ่านผู้ใหญ่

     ๕ . การเดินนำหรือเดินตามผู้ใหญ่

     ๖. การเดินโดยทั่วไป

๑. การเดินในกรณีที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์

๑.๑ การเดินนำเสด็จฯ

๑.๑.๑ เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ หรือ สมเด็จพระบรมวงศ์ เสด็จฯมาถึง ประธานจัดงานหรือเจ้าภาพที่คอยรับเสด็จฯถวายความเคารพ กราบบังคมทูลแล้วถวายรายงานในโอกาสนี้จะเบิกผู้ที่สมควรเข้าเฝ้าด้วยก็ได้ แล้วจึงเดินนำเสด็จฯ ไปยังสถานที่ที่กำหนด โดยปฏิบัติดังนี้

เดินเยื้องไปข้างหน้าไว้ระยะห่างพอสมควร จะอยู่ด้านใดแล้วแต่สถานที่จะอำนวย แต่โดยปกติผู้นำเสด็จจะอยู่ด้านซ้ายของพระองค์ท่าน ในการเสด็จพระราชดำเนินบนลาดพระบาท ผู้นำเสด็จต้องไม่เดินบนลาดพระบาท

ขณะที่เดิน ผู้นำเสด็จจะต้องเดินในลักษณะสำรวม เมื่อถึงที่ประทับผู้นำเสด็จถวายความเคารพ ก่อนที่จะถอยออกไป ผู้นำเสด็จถวายความเคารพอีกครั้งหนึ่ง และเมื่อจะนั่งที่ต้องถวายความเคารพอีกครั้งหนึ่ง

หมายเหตุ การถวายความเคารพนั้น ให้ผู้นำเสด็จปฏิบัติตามความเหมาะสมแก่เครื่องแบบและเพศของตน

๑.๑.๒. ในกรณีที่ผู้นำเสด็จต้องกราบบังคมทูลถวายคำอธิบายให้ทรงทราบเรื่องเกี่ยวกับสถานที่หรือการแสดงควรปฏิบัติดังนี้

เดินเยื้องไปข้างหน้าระยะห่างพอสมควร พอได้ยินพระราชกระแสและกราบบังคมทูลชี้แจงในเรื่องที่ตรัสถาม ผู้นำเสด็จจะอยู่ด้านใดแล้วแต่สถานที่จะอำนวย แต่โดยปกติจะอยู่ด้านซ้ายของพระองค์ท่านในการนี้ผู้นำเสด็จควรศึกษาเรื่องราวมาล่วงหน้า หรือกราบบังคมทูลเบิกตัวผู้ใดผู้หนึ่งที่มีความรู้ในเรื่องนี้ให้ถวายคำอธิบาย

ผู้นำเสด็จจะต้องเดินในลักษณะสำรวม ไม่เดินเสมอพระองค์ท่าน

๑.๒ การเดินตามเสด็จ ทั้งชายและหญิงให้เดินเบื้องหลังพระองค์ท่าน ในลักษณะสำรวมไม่ยิ้มหัว ทักทายหรือทำความเคารพผู้อื่น ถ้ามีลาดพระบาทผู้ที่เดินตามเสด็จไม่ควรเดินบนลาดพระบาท

๑.๓ การเดินในบริเวณที่ประทับ โดยปกติถ้าพระองค์ท่านประทับอยู่ ไม่ควรเดินผ่านที่ประทับเว้นแต่มีความจำเป็นก็ต้องเดินอย่างสำรวมระวังที่สุด

๑.๓.๑ การเดินผ่านหน้าหรือหลังที่ประทับต้องอยู่ในระยะห่างและพึงกระทำในกรณีที่จำเป็นที่สุด โดยถวายความเคารพดังนี้

- ลุกจากที่นั่ง
- ผ่านที่ประทับ
- กลับเข้าที่ก่อนนั่งลง

๑.๓.๒ การเดินไปทำธุรกิจใดๆ ในบริเวณที่เฝ้าเช่น ยก หรือเลื่อนสิ่งของ พึงถวายความเคารพตามลำดับดังนี้:

- ลุกจากที่นั่ง
- ถึงที่จะทำกิจธุระ
- ทำกิจธุระเสร็จแล้วจะกลับที่นั่งเดิม
- กลับเข้าที่แล้ว ก่อนนั่งลง

๑.๓.๓ การเดินขึ้นและลงเมรุเผาศพ พึงถวายความเคารพตามลำดับดังนี้:

- ลุกจากที่นั่ง
- ผ่านที่ประทับแล้วขึ้นเมรุ
- ลงจากเมรุถึงพื้น
- ผ่านที่ประทับ
- ก่อนนั่ง ณ ที่ของตน

ทั้งสามกรณีดังกล่าว ผู้ปฏิบัติพึงระวังไม่หันหลังไปทางพระองค์ท่าน ยกเว้นเฉพาะผู้ยืนถวายอารักขาเท่านั้น

๒. การเดินในพิธีทางศาสนา

การเดินเวียนเทียนหรือทำประทักษิณ ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาหรือในโอกาสอื่นเพื่อแสดงคารวะต่อพระรัตนตรัย ปูชนียวัตถุ หรือปูชนียสถาน เดินเวียนขวา ๓ รอบ โดยให้มีปูชนียวัตถุ หรือปูชนียสถานอยู่ทางขวามือของผู้เดิน และพึงปฏิบัติดังนี้

๒.๑ เดินประนมมือโดยมีดอกไม้ ธูปเทียนพร้อม (ในถิ่นกันดารหาดอกไม้ ธูปเทียนยากจะเพียงประนมมือก็ได้)
๒ .๒ ขณะเดินควรระมัดระวังอย่าให้ธูปเทียนที่จุดไฟอยู่ไปถูกผู้อื่น
๒.๓ ขณะเดินควรระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ ที่แนะไว้นี้พอเป็นแนวปฏิบัติ แต่ถ้าผู้ใดจะบำเพ็ญจิตภาวนากำหนดกรรมฐานอย่างอื่น หรือ พรไตรลักษณ์คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็ได้ )

๓ .การเดินในพิธีต่างๆ

๓.๑ การเดินตามศพเวียนเมรุ ให้เดินในลักษณะสำรวม เดินเวียนซ้าย ๓ รอบ โดยให้เมรุอยู่ทางซ้ายของผู้เดิน
๓.๒ การเดินขึ้นและลงเมรุเผาศพ ให้เดินเรียงแถวตามลำดับอย่างมีระเบียบ ไม่แย่งกันชึ้นหรือลงรวมทั้งไม่แย่งกันรับของที่ระลึก
๓ .๓ การเดินในขบวนแห่ ได้แก่ขบวนแห่ในพิธีต่างๆ เช่น แห่องค์กฐิน แห่เทียนพรรษา และแห่พระศพ ฯลฯ ให้เดินอย่างมีระเบียบและถูกต้องตาม กฎจราจร
๓.๔ การเดินเข้า – ออกระหว่างการประชุม โดยมารยาททั่วไป ผู้ที่มีความจำเป็นต้องเดินเข้าหรือออกระหว่างที่กำลังมีการประชุม ควรแสดงความเคารพ ประธานของที่ประชุมทุกครั้งด้วยการไหว้หรือคำนับเมื่อลุกจากที่นั่ง และเมื่อเข้าสู่ที่ประชุม

๔. การเดินผ่านผู้ใหญ่ ขณะที่ผ่านผู้ใหญ่ไม่ควรเดินลงส้น หรือ มีเสียงดัง และต้องผ่านในระยะห่างพอสมควร

๔ . ๑ ขณะผู้ใหญ่ยืน ทั้งชายและหญิงให้เดินผ่านในลักษณะสำรวม ปล่อยมือไว้ข้างตัวและค้อมตัวเมื่อใกล้ถึงผู้ใหญ่

๔ . ๒ ขณะผู้ใหญ่นั่งเก้าอี้ ทั้งชายและหญิงให้เดินผ่านในลักษณะสำรวม ปล่อยมือไว้ข้างตัว ค้อมตัวพร้อมกับย่อเข่าเมื่อใกล้ถึงผู้ใหญ่นั่งเก้าอี้อยู่ แต่ถ้าเป็นในบ้านอาจจะใช้วิธีเดินเข่าก็ได้

๔ .๓ ขณะผู้ใหญ่นั่งหรือนอนกับพื้น ทั้งชายและหญิงให้เดินผ่านในลักษณะสำรวมเมื่อถึงที่ผู้ใหญ่นั่งอยู่ให้ทรุดตัวลงเดินเข่า เมื่อผ่านผู้ใหญ่ไปแล้วค่อยลุกขึ้นเดิน

วิธีเดินเข่า ให้คุกเข่าปลายเท้าตั้ง แล้วค่อยสืบเข่าออกทีละข้างเหมือนกับการเดินและค้อมตัวลงเล็กน้อยเมื่อใกล้จะถึงผู้ใหญ่

๕. การเดินนำหรือเดินตามผู้ใหญ่

๕.๑ การเดินนำ เดินระยะห่างพอสมควร จะอยู่ด้านใดแล้วแต่สถานที่จะอำนวย แต่โดยปกติผู้เดินจะอยู่ทางซ้ายของผู้ใหญ่ เดินลักษณะสำรวม

๕ .๒ การเดินตาม เดินเบื้องหลังเยื้องไปทางซ้ายของผู้ใหญ่เดินลักษณะสำรวมระยะห่างพอสมควร

การเดินตามผู้ใหญ่

๖. การเดินโดยทั่วไป หมายถึง การเดินที่ไม่เกี่ยวกับพิธี ได้แก่ เดินการกุศล เดินในที่สาธารณะ เดินกับเพื่อน เดินตามถนน เดินข้ามถนน ถ้าเดินในที่สาธารณะหรือเดินกับเพื่อน ให้เดินโดยไม่กีดขวางทางหรือก่อความรำคาญแก่ผู้อื่น ถ้าเดินตามถนนให้เดินบนทางเท้า เมื่อจะข้ามถนนให้ปฏิบัติตามกฎจราจร ควรใช้สะพานลอยหรือทางข้าม (ทางม้าลาย) แม้การเดินในทางข้ามก็ควรระมัดระวังพอสมควร

 

 

การนั่ง

การนั่งโดยคำนึงถึงมารยาท อาจจัดเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้

๑. การนั่งพับเพียบ

๒. การนั่งขัดสมาธิ

๓. การนั่งหมอบ

๔. การนั่งคุกเข่า

๕. การนั่งเก้าอี้

๖. การนั่งเล่นหรือนั่งพักผ่อน


การนั่งหมอบ

การนั่งหมอบ นั่งพับเพียบเก็บปลายเท้า หมอบลงไปให้ศอกข้างใดข้างหนึ่งลงถึงพื้น ถ้าขาใดแนบพื้นก็ให้ศอกข้างนั้นลงถึงพื้นด้วย มือประสานกัน ไม่ก้มหน้า สายตาทอดลงต่ำ การนั่งลักษณะนี้ใช้ได้ทั้งชาย หญิงเมื่อเข้าเฝ้า หรือรอรับเสด็จแบบไทย


การนั่งคุกเข่าปลายเท้าตั้ง (แบบเทพบุตร)

๔. การนั่งคุกเข่า คือการนั่งย่อเข่าลงให้ติดพื้นมี ๔ แบบดังนี้คือ

๔.๑ การนั่งคุกเข่าปลายเท้าตั้ง นั่งตัวตรง ปลายเท้าตั้ง นั่งลงบนส้นเท้า มือทั้งสองข้างคว่ำบนหน้าขาทั้งสองข้าง (แบบเทพบุตร) การนั่งลักษณะนี้ใช้นั่งเมื่อผู้ชายจะกราบพระแบบเบญจางคประดิษฐ์ หรือ ใช้นั่งในท่าถวายบังคมทั้งชายและหญิง


การนั่งคุกเข่าปลายเท้าราบ (แบบเทพธิดา)

๔.๒ การนั่งคุกเข่าปลายเท้าราบ นั่งตัวตรง ปลายเท้าราบ นั่งลงบนฝ่าเท้า มือทั้งสองข้างวางคว่ำบนหน้าขาทั้งสองข้าง (แบบเทพธิดา) การนั่งลักษณะนี้ใช้นั่งเมื่อผู้หญิงจะกราบพระแบบเบญจางคประดิษฐ์


การนั่งคุกเข่าประนมมือ

๔.๓ การนั่งคุกเข่าประนมมือ คือ การนั่งคุกเข่าแบบเทพบุตร หรือ นั่งคุกเข่าแบบเทพธิดา ให้นิ้วมือแนบชิดกัน ไม่กางศอก การนั่งลักษณะนี้ใช้เมื่อกราบพระแบบเบญจางคประดิษฐ์ ในจังหวะที่ ๑ ของชายและหญิง การนั่งคุกเข่าประนมมืออีกวิธีหนึ่งคือ การนั่งคุกเข่าแบบเทพบุตร โดยประนมมือเหนืออกให้นิ้วมือแนบชิดกัน ไม่กางศอก ใช้ได้ทั้งหญิงและชาย เมื่อถวายบังคมในจังหวะที่ ๑

๔๔ การนั่งคุกเข่าแบบลูกเสือ (ถวายราชสดุดี) คือการนั่งคุกเข่าตามแบบลูกเสือที่ปฏิบัติอยู่ เมื่อประธานมีคำสั่งให้ถวายราชสดุดี แล้วก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้าครึ่งก้าว คุกเข่าลง ตั้งเข่าซ้าย นั่งลงบนส้นเท้าขวา มือขวาแบคว่ำลงบนเข่าขวา แขนซ้ายวางพาดบนเข่าซ้ายเอียงไปทางขวาเล็กน้อย เมื่อร้องเพลงราชสดุดีให้ก้มหน้าเล็กน้อย และให้เงยหน้าขึ้นตามเดิมเมื่อเพลงจบ (ถ้าถือหมวกอยู่ด้วยให้ปฏิบัติตามคู่มือระเบียบแถวของสำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ)

๕. การนั่งเก้าอี้

๕.๑ การนั่งเก้าอี้โดยทั่วไป คือ นั่งตามสบาย ถ้าเป็นเก้าอี้ที่มีเท้าแขนจะเอาแขนวางพาดก็ได้ ไม่ควรนั่งโยกเก้าอี้ นั่งได้ทั้งชายและหญิง เมื่อสนทนาอยู่กับเพื่อนหรือนั่งในที่ต่างๆ ที่ไม่เป็นพิธีการ

๕.๒ การนั่งเก้าอี้ต่อหน้าผู้ใหญ่ เป็นการนั่งโดยสำรวมกิริยาและสายตาตามสมควร ไม่ก้มหน้า นั่งท่าใดท่าหนึ่งดังต่อไปนี้

๕.๒.๑ นั่งเก้าอี้ตัวตรง หลังไม่พิงพนักเก้าอี้ มือทั้งสองข้างประสานกันวางบนหน้าขา

ในกรณีที่มีการสวดถวายอติเรกหรือถวายพระพรลา ผู้อยู่ในที่เฝ้าไม่ต้องประนมมือ เพราะเป็นการสวดถวายพระพรที่เจาะจงเฉพาะพระมหากษัตริย์ และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ


การนั่งเก้าอี้ต่อหน้าผู้ใหญ่อาวุโสไม่มาก

การพับเพียบต่อหน้าผู้ใหญ่

๖. การนั่งเล่นหรือนั่งพักผ่อน คือ การนั่งในกิริยาบถตามสบาย จะนั่งในลักษณะใดก็ได้ตามความพอใจ เช่น นั่งกับพื้น แต่เมื่อผู้ใหญ่ผ่านเข้ามาในที่นั้นควรนั่งสำรวม ไม่ไขว่ห้าง ไม่กระดิกเท้าหรือเหยียดเท้าไปทางผู้ใหญ่

๑. การนั่งพับเพียบ คือการนั่งราบกับพื้น พับขา ให้ขาขวา ทับขาซ้าย หรือขาซ้ายทับขาขวา อาจแบ่งออกได้เป็น ๔ อย่าง ดังต่อไปนี้

๑.๑ การนั่งพับเพียบธรรมดา คือ การนั่งพับเพียบวางมือไว้บนหน้าขา หรือเอามือท้าวพื้นก็ได้ โดยให้ปลายนิ้วมือเหยียดไปข้างหน้า ถ้านั่งขาขวาทับขาซ้ายให้ใช้มือซ้ายท้าวพื้น ถ้านั่งขาซ้ายทับขาขวาให้ใช้มือขวาท้าวพื้นอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วแต่สะดวกและเหมะสม ลักษณะนี้ใช้ในการนั่งสนทนากับเพื่อนหรือนั่งอยู่ตามลำพัง

การนั่งพับเพียบธรรมดา

๑.๒ การนั่งพับเพียบต่อหน้าผู้ใหญ่ อาจนั่งท่าใดท่าหนึ่งตามความเหมาะสม แต่ไม่ควรท้าวแขน สายตาทอดลงเล็กน้อย และไม่จ้องตาผู้ใหญ่จนเสียกิริยา การนั่งลักษณะนี้ใช้ได้ทั้งชายและหญิง คือ

การนั่งพับเพียบต่อหน้าผู้ใหญ่


นั่งพับเพียบตัวตรง

นั่งพับเพียบค้อมตัว

๑.๒.๑ นั่งพับเพียบ ตัวตรง เก็บปลายเท้าโดยเบนปลายเท้าเข้าหาสะโพก มือทั้งสองข้างประสานกันวางไว้บนหน้าขา ถ้านั่งพับเพียบขาขวาทับขาซ้าย วางมือที่ประสานบนหน้าขาซ้าย ถ้านั่งพับเพียบขาซ้ายทับขาขวาวางมือที่ประสานบนหน้าขาขวา หรือบริเวณหน้าขาจุดใดจุดหนึ่งที่เหมาะสมและสวยงาม

วิธีประสานมือ ให้ปฏิบัติในอาการที่สำรวม อาจใช้อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้

ใช้มือซ้ายหงาย มือขวาคว่ำทับ หรือมือขวาหงายมือซ้ายคว่ำทับ
ใช้มือทั้งสองคว่ำทับกัน จะเป็นมือใดทับมือใดก็ได้
สอดนิ้วระหว่างช่องนิ้วของแต่ละมือ คล้ายการประนมมืออย่างหลวมๆ

ถ้าเป็นการเข้าพบผู้ใหญ่เพื่อนำของไปให้ หรือเมื่อสนทนากับผู้ใหญ่แล้วผู้ใหญ่ให้ของ ควรจะนั่งพับเพียบขาขวาทับขาซ้าย เพื่อสะดวกในการรับของจากผู้ใหญ่ เพราะเราจะส่งของหรือรับของกันด้วยมือขวา

๑.๒.๒ นั่งพับเพียบค้อมตัวเก็บปลายเท้า วางแขนทั้งสองข้างลงบนหน้าขา มือประสานกันอย่างใดอย่างหนึ่งตามข้อ ๑.๒.๑

๑.๓ การนั่งพับเพียบประนมมือ คือ การนั่งพับเพียบโดยประนมมือให้นิ้วมือแนบชิดกัน ฝ่ามือราบปลายนิ้วตั้งขึ้น แขนแนบตัวระดับอก ไม่กางศอก การนั่งลักษณะนี้ใช้ในโอกาสที่นั่งฟังพระเทศน์ ฟังพระสวดมนต์ เมื่อตนเองสวดมนต์รับฟังโอวาท หรือรับพรจากผู้ใหญ่ ใช้ได้ทั้งชายและหญิง

๑.๔ การนั่งพับเพียบในพิธีการ คือ การนั่งพับเพียบในอาการสำรวมตลอดเวลา

หมายเหตุ ขณะที่นั่งพับเพียบดังกล่าวตามข้อ ๑.๒.๑ และ ๑.๔ ข้างต้น ไม่ควรพูดคุยหรือส่งเสียงดังถ้านั่งนานและประสงค์จะเปลี่ยนท่านั่ง ให้ใช้มือทั้งสองข้างท้าวพื้นหรือเข่า ปล่อยนิ้วมือเหยียดไปข้างหน้า กดเข่าทั้งสองกับพื้นแล้วเปลี่ยนท่านั่งตามสะดวก

การนั่งขัดสมาธิ (สะหมาด) คือการนั่งตามสบายอย่างหนึ่งและการนั่งแบบทำสมาธิ

การนั่งขัดสมาธิธรรมดา คือ การนั่งบนพื้น คู้เข่าทังสองข้างหาตัว แนบขาลงกับพื้น โดยให้ขาข้างหนึ่งช้อนทับอยู่บนอีกข้างหนึ่ง ส้นเท้าทั้งสองข้างจะสัมผัสกับขา เป็นอิริยาบถที่ใช้นั่งตามลำพังสบายๆ หรือ สำหรับชายนั่งกับพื้นรับประทานอาหาร

การนั่งขัดสมาธิที่ใช้ในทางศาสนา มี ๒ แบบ คือ

คำสำคัญ (Tags): #มารยาทไทย
หมายเลขบันทึก: 335341เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2010 18:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มีนาคม 2012 14:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท