ความเป็นมา


นวัตกรรม

 ความเป็นนวัตกรรม

โลกยุคปัจจุบันและอนาคตเป็นโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว และมีผลกระทบต่อประชากรโลกอย่างกว้างขวาง เป็นการวิวัฒน์ตามความเจริญทางเทคโนโลยี การสื่อสาร วิทยาการ และข่าวสารที่กระจายไปตามส่วนต่างๆ ของโลกเป็นผลให้เกิดการถ่ายเททางวัฒนธรรม การค้า การจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติและการแข่งขันกันมากขึ้น เป็นการแข่งขันด้วยการสร้างนวัตกรรม (Innovation) ซึ่งเป็นปัจจัยหลักสำหรับนำมาใช้ขับเคลื่อน เพื่อความอยู่ดีกินดี และความสุขของคนในสังคม ดังนั้นความได้เปรียบการแข่งขันในองค์กรสมัยใหม่จึงอยู่ที่การจัดการความรู้ (KnowledgeManagement : KM)

(สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ๒๕๔๘ : ๑) การจัดการความรู้จึงเป็นเครื่องมือหนึ่งที่นำสติปัญญาของชาติหรือองค์กรมาเพิ่มพลัง (Synergy) นำความรู้จากทั่วโลกมาใช้ เป็นกระบวนการที่จำเป็นสำหรับสังคมในยุคสังคมเศรษฐกิจความรู้ ดังนั้นความรู้ของคนในชาติเป็นตัวชี้วัดคุณภาพชีวิต ไม่ใช่การมีทุนทรัพยากรธรรมชาติ หรือการมีแรงงาน แต่เป็นความรู้ซึ่งทำให้ปรับตัว และเพิ่มขีดความสามารถในการทำงานสร้างนวัตกรรมและการพัฒนาส่วนต่าง ๆ ของสังคม เพื่อการอยู่รอดและแข่งขันได้อย่างมีศักดิ์ศรีประเทศไทยเป็นชาติหนึ่งที่ต้องการสร้างเสริมให้คนในชาติมีศักยภาพการทำงานที่สูงขึ้น โดยใช้ความรู้เป็นพื้นฐาน นอกเหนือจากการมีทรัพยากรพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ และสังคมที่เพียงพอแล้วการจัดการศึกษาแบบเดิมที่ถือปฏิบัติกันมานับศตวรรษนั้น ถึงเวลาที่ต้องปฏิรูปอย่างขนานใหญ่เพื่อสร้างคุณภาพดังกล่าวให้กับคนไทยทุกคน ช่วงเวลาที่ผ่านมาหลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ และฉบับปรับปรุง ๒๕๔๕ ทำให้เกิดกระแสความตื่นตัวของหน่วยงานทางการศึกษาโดยเฉพาะสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีความรับผิดชอบการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมและให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ด้วยวิธีการที่หลากหลายมีการศึกษาข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ และประมวลเป็นสารสนเทศ แล้วนำไปตรวจสอบเชื่อมโยง อภิปราย และแลกเปลี่ยนเรียนรู้จนสามารถผลิตเป็นผลงานและองค์ความรู้มากมายสอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.๒๕๔๖ มาตรา ๑๑ กำหนดว่าส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูล ข่าวสาร และสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว เหมาะสมต่อสถานการณ์รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ ความสามารถ วิสัยทัศน์ และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ และมีการเรียนรู้ร่วมกัน (ราชกิจจานุเบกษา. ๒๕๔๖ : ๑)ดังนั้นการจัดการความรู้เป็นเรื่องที่ทุกหน่วยงานต้องจัดทำ เพื่อให้องค์กรได้มีทุนทางปัญญาในการสร้างโอกาสให้กับสังคมให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ส่วนราชการในฐานะหน่วยบริการสาธารณะจำเป็นต้องใช้ความรู้เป็นฐานในการปรับตัว เปลี่ยนกระบวนทัศน์การทำงาน เพื่อให้เป็นกลไกของรัฐในการแข่งขันกับนานาประเทศในยุคสังคมเศรษฐกิจที่ใช้ความรู้เป็นฐาน

คำสำคัญ (Tags): #นวัตกรรม
หมายเลขบันทึก: 335273เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2010 13:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 12:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท