วิเคราะห์และถอดความวรรณคดี เรื่องลิลิตพระลอ ตอน พระลอลาแม่ออกจากเมืองและโอวาทของแม่


อ่านวรรณคดีไทยสมัยอยุธยาตอนต้น เรื่องลิลิตพระลอ (ฉบับกรมศิลปากร) แล้วจึงถอดความ และวิเคราะห์ในประเด็นคุณค่าทางวรรณศิลป์ กลวิธีในการประพันธ์ ตลอดจนแนวคิดของเรื่อง

ถอดความ

              สิบเดือนอุ้มท้องพระ                          ลอลักษณ์

สงวนบ่อลืมตนสัก                                           หนึ่งน้อย

ตราบพระปิ่นไตรจักร                                        เสด็จคลอด   มานา

ถนอมอาบอุ้มค้อยค้อย                                      ลูบเลี้ยงรักษา ฯ

เนื้อความ (พระนางบุญเหลือรำพัน) “ในเวลาที่อุ้มท้องอยู่สิบเดือนนั้น  แม่ได้ตั้งใจรักษาตัวไม่ได้ลืมตัวเลยแม้แต่น้อย  จนกระทั้งพระลูก  ผู้เป็นยอดแห่งบ้านเมืองได้ประสูติ แม่ก็ได้อาบน้ำ อุ้มเลี้ยงรักษาอย่างทะนุถนอม”

 

               แลวันสามคาบป้อน                             เปนนิตย์

บมิให้ใครทำผิด                                                แผกเจ้า

แสนสงวนคู่ชีวิต                                                ฤาใคร่ กลายเอย

เทียรผดุงคุ้งเท้า                                                ตราบรู้เสวยเอง ฯ

เนื้อความ “ได้ป้อนข้าวลูกวันละสามเวลามิได้ขาด มิให้ผู้ใดมาทำให้เป็นที่ขัดใจลูก ได้เลี้ยงดูลูกเป็นคู่ชีวิตของแม่ มิให้ห่างไกลไปเลย บำรุงเลี้ยงดูลูกมาจนกระทั่งลูกเสวยได้เอง”

 

             บัญจงกับเข้าแต่ง                                 ของเสวย

บมิได้เลินเล่อเฉย                                              หนึ่งน้อย

สรรพเครื่องพระลูกเฮย                                        ไตรตรวจ   แต่งนา

บวางใจกึ่งก้อย                                                  แก่ผู้ใดทำ ฯ

เนื้อความ  “แม่ก็บรรจงจัดเครื่องเสวยให้ลูก มิได้ละเลยแม้แต่น้อยบรรดาเครื่องเสวยของลูก แม่ก็จะคอยระวังตรวจดู มิได้ไว้วางใจให้คนอื่นทำแม้สักเท่ากึ่งก้อย”

 

                แต่น้อยแม่พร่ำเลี้ยง                             รักษา   พ่อนา

จนเจริญชนมา                                                    ตราบได้

สมบัติผ่านภูวดา                                                  ถวัลยราช

ฤาพ่อจำจากให้                                                   แม่นี้ตรอมตาย ฯ

เนื้อความ “ตั้งแต่ลูกยังน้อย แม่ได้พร่ำสั่งสอนเลี้ยงรักษา จนกระทั่งลูกเจริญพระชนม์ และได้ขึ้นเสวยราชย์ บัดนี้ลูกจะจากแม่ไปแล้วลูกจะให้แม่ตรอมใจตายหรืออย่างไร”

 

                คงชีพหวังได้พึ่ง                                  ภูมี   พ่อแล

ม้วยชีพหวังฝากผี                                                พ่อได้

ดังฤาพ่อจักลี                                                      ลาจาก   อกนา

ผีแม่ตายจักรได้                                                   ฝากให้ใครเผา ฯ

เนื้อความ “เมื่อยามแม่มีชีวิตอยู่ แม่ก็หวังพึ่งพระลูก เมื่อแม่ตายแม่ก็หวังฝากผีกับพระลูก ดังนี้พระลูกยังจะจากอกแม่ไปอีกหรือ แม่ตายแล้ว จะได้ฝากผีให้ใครเผา”

 

              สุดใจสุดแม่ห้าม                                   ภูธร

สอนบ่ฟังแม่สอน                                                จักเต้า

หนักใจหนักอาวรณ์                                             ทุกข์ใหญ่    หลวงนา

แม่อยู่ตั้งแต่เศร้า                                                 โศกร้อนฤาเสบย ฯ

เนื้อความ “สุดใจที่แม่จะห้ามลูกได้แล้ว แม่สอนอย่างไร ลูกก็ไม่ยอมฟัง จะขอเสด็จไปแต่อย่างเดียว แม่รู้สึกหนักใจ เป็นห่วง เป็นทุกข์เหลือเกิน แม่อยู่ทางนี้จะได้แต่ร้อนใจเป็นทุกข์ ไม่มีความสบาย”

 

                ลูกเอยจากแม่โอ้                                   กรรมใด   นาพ่อ

ตั้งแต่คิดเด็จไป                                                    สู่สร้อย

แม่เดียวอยู่อาไลย                                                 ทนเทวษ   แลนา

มาแม่จะชมน้อย                                                    หนึ่งให้คลายใจ ฯ

เนื้อความ “ลูกเอ๋ย กรรมใดหนอมาทำให้ลูกต้องจากแม่ไป ลูกก็คิดเด็ดขาดจะไปหานางแต่ประการเดียว ส่วนแม่จะอยู่คนเดียว ทนทุกข์ด้วยความคิดถึงลูก มาหาแม่ ให้แม่ได้ชมพอสบายใจสักน้อยเถิด”

 

                ชมปรางชมผากเผ้า                             ริมไร   เกศนา

เชยปากตาตรูไตร                                               เพริศพริ้ง

ชมพักตรดั่งแขไข                                               ขวัญเนตร

บพิตรพ่องามสิงคลิ้ง                                            จูบแก้มเชยกรรณ ฯ

เนื้อความ (พระมารดา) เชยชมแก้ม หน้าผาก ผม ไรผม ปาก ตา อันมาเพริศพริ้ง ชมหน้าอันงามดังพระจันทร์ เห็นแล้วเป็นขวัญตาพระลองามน่าชม พระมารดาได้จูบแก้มและกรรณของพระลอ 

 

               จูบนาสิกแก้วแม่                                   หอมใด   ดุจนา 

จูบเคียงคางคอใจ                                                จักขว้ำ

จูบเนื้อจูบนมใส                                                   เสาวภาคย์   พระเอย

จูบไหล่หลังอกช้ำ                                                จูบข้างเชยแขน ฯ

เนื้อความ “จูบนาสิกแก้วตาของแม่ได้กลิ่นหอมหาอะไรเปรียบไม่ได้จูบคอและคางก็ให้ใจหาย จูบเนื้อและจูบนมอันงามสดใส จูบไหล่หลังอกและแขน” 

 

                จักเชยพระลูกถ้วน                             สรรพางค์

พระลูกประนมกรพลาง                                        จึ่งพร้อง

พระควรจูบแต่กลาง                                            กระหม่อม   ไส้นา

แก้มเกศพระเจ้าต้อง                                           สั่งข้าพระควร ฯ

เนื้อความ ใคร่จะจูบชมเชยพระลูกให้ทั่วสรรพางค์กาย แต่พระลอได้ถวายบังคมและตรัสว่า “ขอให้พระแม่จงจูบแต่กลางกระหม่อมลูกเถิดหรือจะจูบสั่งลาพระลูกที่แก้มและที่ศีรษะ ก็แล้วแต่พระมารดา”

 

               ลูกรักแก้วแม่เอ้ย                                  ปรานี   แม่รา

พระบาทบงกชศรี                                                ใส่เกล้า

ฤาบาปิ่นภูมี                                                       ทัดแม่   ใยพ่อ

ขอจูบบัวบาทเจ้า                                                สั่งเจ้าจอมใจ ฯ

เนื้อความ “ลูกรัก แก้วตาของแม่ จงสงสารแม่สักหน่อยเถิดลูกอย่าทัดทานแม่เลย แม่ขอยกเท้าของลูกวางไว้ ณ หัวขอแม่ และขอจูบเท้าของลูก สั่งเสียลูกผู้เป็นจอมใจของแม่”

 

              พระรักพระว่าไว้                                 เหนือหัว

ข้าบาทบงกชกลัว                                             บาปได้

พระคุณโปรดเปนตัว                                          สอนสั่ง   มานา

ข้าไป่แทนคุณไท้                                              เท่าเส้นใยยอง ฯ

เนื้อความ (พระลอตรัสว่า) “พระมารดารักลูกจนถึงจะเอาลูกไว้เหนือหัวนั้นลูกนั้นลูกกลัวจะมีบาป พระมารดาได้มีพระคุณสั่งสอนลูกมาจนเป็นตัวเป็นตน ลูกยังไม่ได้ทดแทนพระคุณเลยแม้เท่าเส้นใย”

 

 

 

              รอยกรรมจักจากเจ้า                             จอมกษัตริย์

รอยบาปเพรงจำพลัด                                          ออกท้าว

พระคุณไป่แทนขัด                                             ใจดั่ง   นี้นา

ยาหยูกเขาโน้มน้าว                                             ลูกให้ใหลหลง   ฯ

เนื้อความ “ลูกคงได้ทำบาปทำกรรมไว้ จึงซัดให้ลุกต้องพลัดพรากจากพระมารดา ลูกรู้สึกแค้นใจ ที่ยังไม่ได้ทดแทนบุญคุณ” (พระมารดาก็ว่า) “เพราเหตุหยูกยาของเขา(ไม่ใช่การทำบาปดอก) ที่ทำให้ลูกต้องหลงไหลฟั่นเฟือน”

 

ร่าย
                  o เมื่อนั้นอนงคเทพี ชนนีนาฎราชรันทด สลดหฤทัยดั่งจะหว่า ท้าวธก็ว่าเจ้าลอลักษณ์ ลูกรักเจ้าแม่นา รักยิ่งตายิ่งตัว รักยิ่งหัวยิ่งชีพ แต่นี้จอมทวีปแม่จะจาก พรากแม่พรากพระบุรี ศรีกษัตริย์มีเจ็ดสิ่ง พระมิ่งแม่จงจำ ยำคำแม่อย่าคลา รีตท้าวพระยาอย่าคลาด อย่าประมาทลืมตน อย่ารคนคนเท็จ ริรอบเสร็จจึ่งทำ คิดทุกคำจึ่งออกปาก อย่าให้ยากแก่ใจไพร่ ไต่ความเมืองจงตรง ดำรงพิภพให้เย็น ดับเข็ญนอกเข็ญใน ส่องใจดูทุกกรม อย่างมชมความเท็จ ริรอบเสร็จเกื้อทางธรรม์ ทีจะกันกันจงหมั้น ทีจะคั้นคั้นจงเปนกล ส่องต้นหนคนใช้ เลือกหาใจอันสัตย์ ดัดมนตรีโดยยุกติ์ ปลุกใจคนให้หาญ ผลาญเพรียงไพร่เพรียงเมือง อาญาเรื่องเรื้อยราษฎร์ กันนิกรอาจเกื้อไพรี ดับกลีอย่าให้ลุก อย่าชิงสุกก่อนห่าม อย่าล่ามม้าสองปาก อย่าลากพิษตามหลัง อย่าให้คนชังลักแช่ง แต่งคนให้คนรัก ชักชวนคนสู่ฟ้า เบื้องหน้าเทพยอยศ จงปรากฎชอบแล้ว อย่าได้แคล้วรำพึง คำนึงอย่ารู้มลาย จงอย่าหายยศพ่อ ต่อม้วยฟ้าหล้าสวรรค์ กัลปประลัยอย่ารู้ลาญ ภูบาลเจ้าจงจำ ตามคำแม่โอวาท พ่อสุดสวาทแก่แม่เฮย จงสวัสดิ์แก่เจ้าเทอญ ฯ

เนื้อความ  ขณะที่ราชมารดาก็ได้มีความรันทดสลดใจดังใจจะขาดไป พระนางตรัสว่า “พระลอผู้เป็นที่รักของแม่ แม่รักเจ้ายิ่งกว่าดวงตาและร่างกาย ยิ่งหัวและชีวิต บัดนี้เจ้าผู้ผ่านบ้านเมือง จะจากเมืองไปแล้ว แม่จะบอกให้เจ้าจดจำไว้ อย่าได้หลงลืม ว่าความดีของกษัตริย์นั้นมีเจ็ดประการ อนึ่งจารีตของเท้าพระยา ลูกก็อย่าได้ทอดทิ้งมีดั้งต่อไปนี้คือ ความไม่ประมาทลืมตัว ความไม่เกลือกกลั้วกับคนเท็จ ความตริตรองโดยรอบคอบแล้วจึงทำ ความที่คิดเสียก่อนจึงพูดออกมาการไม่ทำไห้บ่าวไพร่พลเมืองได้รับความทุกข์ การตัดสินพิจารณาคดีโดยเที่ยงธรรม การปกครองบ้านเมืองให้ร่มเย็น กำจัดความเดือดร้อนทั้งภายนอกภายในให้หมดไป การสอดส่องตรวจตราดูงานของทุกกรมความไม่งมงายชื่นชมในความเท็จ ความเกื้อกูลอุปการะในทางที่เป็นธรรม อนึ่งเมื่อถึงคราวจะป้องกันก็ทำอย่างเข็มแข็งมั่งคง เมื่อถึงเวลาจะคั้นเอาความจริง ก็ให้รู้จักใช้อุบาย อนึ่งพวกคนใช้ชิดใกล้ ก็ต้องเลือกเอาผู้ที่ใจซื่อสัตย์ แลพึ่งอบรมสั่งสอนพวกอำมาตย์มนตรีด้วยความเที่ยงทำ อนึ่งต้องปลุกใจคนให้กล้าหาญ ทำลายเสี้ยนหนามของบ้านเมือง ป้องกันศัตรูของบ้านเมือง กำจัดเรื่องทุจริตของพลเมือง ป้องกันศัตรูของบ้านเมืองและกำจัดความทุกข์เข็ญของบ้านเมืองให้สิ้น อนึ่งจงอย่าล่ามม้าสองปากจงอย่าลาก (งู) พิษตามหลัง จงอย่าให้คนที่เกลียดเราแช่งเราลับหลังจงทำตนให้เป็นที่รักของพลเมือง จงชักนำคนไปสู่สวรรค์ เมื่อประพฤติ ดังนี้ เทพเทวดาก็สรรเสริญเกียติ เมื่อลูกได้เห็นดีเห็นชอบแล้วก็จงรำพึงอยู่เป็นนิตย์ อย่าได้ว่างเว้น ขอให้พระยศของลูกอย่าได้รู้สูญหาย ถึงจะสิ้นฟ้าสิ้นสวรรค์โลกจะถึงกาลประลัย พระยศของลูกก็อย่าได้สูญหาย ลูกจงจำคำที่แม่สั่งสอนนี้เถิด จะมีความสวัสดีแก่ลูกผู้ที่เป็นสุดสวาทของแม่”

(ร่ายบทนี้มีตอนที่ออกจะกำกวม คือ “ศรีกษัตริย์มีเจ็ดสิ่ง” นี้สงสัยว่าจะเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ไม่เกี่ยวกับ “รีตท้างพระยา” ...ซึ่งมีมากมายหลายอย่างและจะนับเป็น 7 สิ่งก็ไม่ได้ แต่ว่า “ศรีกษัตริย์เจ็ดสิ่ง” นั้น จะมีอะไรบ้างยังไม่ค้นพบ)

 

โคลง สี่ 

                   จงเจริญศรีสวัสดิ์เรื้อง                         เดชา

ทุกข์โศกโรคไภยา                                               อย่าพ้อง

ศัตรูหมู่พาลา                                                      พาลพ่าย  ฤทธิ์พ่อ

เสวยสุขอย่าเคืองข้อง                                           ขุ่นแค้นอารมณ์ ฯ

เนื้อความ (ครั้นแล้วมารดาก็ให้พรว่า) “ขอให้เจ้าจงมีความเจริญสิริสวัสดิ์รุ่งเรืองเดชานุภาพ ทุกข์ โศก โรค ภัย อย่าได้มาพ้องพานบรรดาศัตรูหมู่พาลจงพ่ายแพ้ฤทธิ์ของเจ้า ขอไห้เจ้าจงมีแต่ความสุขอย่าได้มีความขัดข้องขุ่นอกขุ่นใจ..

 

                 ขอลุสมสบสร้อย                                  สองนาง

ขออย่าลุเล่ห์ทาง                                                  เสน่ห์นั้น

ขอคิดอย่าใจจาง                                                  คำแม่      สอนนา

ขอพ่อเร็วคืนกั้น                                                    ขอบแคว้นไกรกรุง ฯ

เนื้อความ ขอไห้เจ้าไปพบสองนางสมกับที่คิดไว้ แล่จงอย่าได้ตกอยู่ในอำนาจเล่ห์กลแห่งความรัก อันคำที่แม่สั่งสอนแล้วจงอย่าได้หลงลืมและขอให้ลูกได้กลับมาครอบครองบ้านเมืองโดยเร็งเถิด”

 

             ขอฝากฝูงเทพไท้                                 ภูมินทร์

อากาศพฤกษาสินธุ์                                            ป่ากว้าง

อิศวรนรายณ์อินทร์                                             พรหเมศ   ก็ดี

ช่วยรักษาเจ้าช้าง                                               อย่าให้มีไภย ฯ

เนื้อความ (และนางได้บนบานว่า) “ข้าเจ้าขอฝากพระลูกของข้าเจ้าต่อเทพดาทั้งหลาย อันสิงอยู่ ณ อากาศ ต้นไม้ น่านน้ำ และป่าดงทั้งพระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหม จงช่วยคุ้มครองรักษาพระลูกรักของข้าเจ้าอย่าให้ภัยอันตรายมาพ้องพาน”

            ได้คืนชีพิตเจ้า                                      จอมกษัตริย์

จักแต่งธงธวัชฉัตร                                              เพริศแพร้ว

เทียนทองระย้ารัตน                                            งามชื่น   ตาแฮ

เป็ดไก่บายศรีแก้ว                                              แต่งแก้สบสถาน ฯ

เนื้อความ “หากว่าจอมกษัตริย์ พระลูกของเจ้า ได้กลับคืนมายังบ้านเมือง ข้าเจ้าก็จะขอแก้บนด้วยตกแต่งฉัตร ธง เทียน พวกดอกไม้อันงดงาม พร้อมทั้งบายศรีเป็ดไก่ เครื่องสังเวยทุกสิ่งทุกอย่าง”

 

โคลง สอง 

                ท้าวฟังสารท่านให้                      บังคมก้มกราบไหว้

รับถ้อยคำสอน

เนื้อความ พระลอก้มกราบมารดารับคำสอน

 

               รับพรใส่เศียรไว้                          แก้เกศเช็ดบาทไท้

ท่านท้าวชนนี   ท่านนา ฯ

เนื้อความ และรับพรไว้ ณ เศียรเกล้า พลางแก้พระเกศาออกเช็ดบาทพระมารดา

 

               กรชลีเหนือเกล้า                          ลาสมเด็จท้าวเจ้า

สู่ท้องโรงธาร ฯ

เนื้อความ ประนมมือยกขึ้นเหนือกล้า ลาพระมารดา แล้วก็ออกมายังท้องพระโรง

 

ร่าย
    o โองการสั่งมนตรี ผู้ภักดีต่างใจ อยู่ระไวต่างองค์ ดำรงรั้งรักษา ภาราเราจงบำรุง ผดุงราษฎร์อย่าให้เคือง ศัตรูเมืองเร่งบำบัด หนึ่งจอมกษัตริย์แก่นไท้ ถนอมบาทบงกชไว้ เหมือนเมื่อเที้ยร กูยัง ฯ

เนื้อความ  แล้วมีโองการสั่งอำมาตย์ ผู้จงรักภักดี เป็นที่ไว้วางพระหฤทัยให้ดำรงรักษาพระนคร (ตรัสว่า) “ท่านจงบำรุงรักษาบ้านเมืองของเรา อย่าให้ราษฎรไดรับความเดือดร้อน จงเร่งกำจัดศัตรูของบ้านเมือง และขอให้ดูแลพระมารดาของเราให้จงดีเสมือนเมื่อเรายังอยู่ในพระนครนั้นเถิด”

 

ร่าย
   o แล้วตรัสสั่งขุนพล พวกพหลเหี้ยมหาญ เร่งเตรียมการพยุหบาตร จัตุรงคราชเรืองรบ ครบทุกหมู่ทุกหมวด ตรวจให้สรรพโดยเขบ็จ จัดให้เสร็จโดยขบวร กูจักยวรยาตรเต้า ในวันรุ่งพรุ่งนี้เช้า แต่งตั้งเตรียมพลัน ฯ

เนื้อความ แล้วจึงตรัสสั่งขุนพล ผู้มีกำลังกล้าแข็ง ให้เรียบกระเตรียมกองทับพรั่งพร้อมด้วยพลสี่เหล่าอันกล้าหาญในข้าศึก ให้จัดให้เสร็จสรรทุกหมู่หมวดตามกระบวนการยกทับ (ตรัสว่า) “เราจะยกทับไปในวันพรุ่งนี้ เจ้าจงไปเตรียมทัพให้เสร็จโดยฉับพลัน”

 

 

 

วรรณศิลป์

  

การใช้โวหารต่างๆมีดังนี้  

1.พรรณนาโวหาร คือ การใช้ถ่ายทอดถ้อยคำถ่ายทอดเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆเพื่อให้เกิดการคล้อยตาม เห็นภาพพจน์อย่างชัดเจน โดยในที่นี้ผู้ประพันธ์ใช้กลวิธีการพรรณนาผ่านบทรำพึงรำพัน ของพระนางบุญเหลือที่ทรงอาลัยอาวรณ์พระลอที่จะเสด็จไปยังเมืองสรวง และรำพึงรำพันถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่ทรงปฏิบัติกับพระลอให้กับพระลอ ดังเช่น

โคลงสี่ บทที่ 1- 3 ในหน้า 45 ความว่า

                 สิบเดือนอุ้มท้องพระ                          ลอลักษณ์

สงวนบ่อลืมตนสัก                                              หนึ่งน้อย

ตราบพระปิ่นไตรจักร                                           เสด็จคลอด   มานา

ถนอมอาบอุ้มค้อยค้อย                                         ลูบเลี้ยงรักษา ฯ

                 แลวันสามคาบป้อน                            เปนนิตย์

บมิให้ใครทำผิด                                                 แผกเจ้า

แสนสงวนคู่ชีวิต                                                ฤาใคร่ กลายเอย

เทียรผดุงคุ้งเท้า                                                ตราบรู้เสวยเอง ฯ

                 บัญจงกับเข้าแต่ง                              ของเสวย

บมิได้เลินเล่อเฉย                                               หนึ่งน้อย

สรรพเครื่องพระลูกเฮย                                         ไตรตรวจ   แต่งนา

บวางใจกึ่งก้อย                                                   แก่ผู้ใดทำ ฯ

2.อุปมาโวหาร คือ การใช้ถ้อยคำเปรียบเทียบโดยนำสิ่งที่คล้ายคลึงมาเปรียบเทียบ ทำให้รู้สึกคล้อยตาม เช่น ในตอนที่พระนางบุญเหลือ กล่าวว่า พระลอเป็นเจ้าในสามโลก คือกล่าวว่า งามกว่าชายในทุกสามโลกคือ โลกมนุษย์ โลกสวรรค์ โลกนรก เห็นได้จาก

โคลงสี่ บทที่1 หน้า 45 ความว่า

                 สิบเดือนอุ้มท้องพระ                          ลอลักษณ์

สงวนบ่อลืมตนสัก                                              หนึ่งน้อย

ตราบพระปิ่นไตรจักร                                           เสด็จคลอด   มานา

ถนอมอาบอุ้มค้อยค้อย                                         ลูบเลี้ยงรักษา ฯ

 

หรือตอนที่ พระนางบุญเหลือชมโฉมพระลอและกล่าวว่า พระพักตร์ของพระลอเหมือนดั่งดวงจันทร์ ดังเช่น

โคลงสี่ บทที่ 4 ในหน้า 46 ความว่า

                ชมปรางชมผากเผ้า                             ริมไร   เกศนา

เชยปากตาตรูไตร                                               เพริศพริ้ง

ชมพักตรดั่งแขไข                                               ขวัญเนตร

บพิตรพ่องามสิงคลิ้ง                                            จูบแก้มเชยกรรณ ฯ

3.อติพจน์โวหาร คือ การพูดหรือการเขียนเกินความจริง เพื่อเน้นให้เกิดความรู้สึกมิใช่เพื่อหลอกลวงหรือโอ้อวด ในที่นี้ ก็มีบทที่พระนางบุญเหลือกล่าวว่า ดูแลพระลอเรื่องอาหารการกินโดยไม่ให้ใครมาเตะต้องแม้แต่ปลายก้อย เพื่อเป็นการเน้นให้พระลอทราบถึงความรักที่พระนางมีต่อพระลอ เห็นได้จาก

โคลงสี่ บทที่ 3 หน้า 45 ความว่า

               บัญจงกับเข้าแต่ง                                 ของเสวย

บมิได้เลินเล่อเฉย                                                หนึ่งน้อย

สรรพเครื่องพระลูกเฮย                                          ไตรตรวจ   แต่งนา

บวางใจกึ่งก้อย                                                   แก่ผู้ใดทำ ฯ

การเล่นคำและการสรรคำ 

1.การใช้คำซ้ำ เช่น

โคลงสี่ บทที่1 หน้า 45 ความว่า

                  สิบเดือนอุ้มท้องพระ                         ลอลักษณ์

สงวนบ่อลืมตนสัก                                              หนึ่งน้อย

ตราบพระปิ่นไตรจักร                                          เสด็จคลอด   มานา

ถนอมอาบอุ้มค้อยค้อย                                       ลูบเลี้ยงรักษา ฯ

โคลงสี่ บทที่1หน้า 46 ความว่า

                คงชีพหวังได้พึ่ง                                  ภูมี   พ่อแล

ม้วยชีพหวังฝากผี                                                พ่อได้

ดังฤาพ่อจักลี                                                     ลาจาก   อกนา

ผีแม่ตายจักรได้                                                  ฝากให้ใครเผา ฯ

 

 

โคลงสี่ บทที่ 1 หน้า 47 ความว่า

                 จูบนาสิกแก้วแม่                                  หอมใด   ดุจนา

จูบเคียงคางคอใจ                                                 จักขว้ำ

จูบเนื้อจูบนมใส                                                    เสาวภาคย์   พระเอย

จูบไหล่หลังอกช้ำ                                                 จูบข้างเชยแขน ฯ

 

ร่าย หน้า 48 ความว่า

ร่าย
       

หมายเลขบันทึก: 333908เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2010 21:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อยากทราบข้อมูลผู้วิเคราะห์ครับ

คือผมต้องทำวิจัยส่งครับ

ข้อมูลจึงจำเป็นอย่างยิ่งครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท