พฤติกรรมองค์การ ตอนที่ 1: พฤติกรรมปัจเจกบุคคลกับการนำไปประยุกต์ใช้ในองค์การ


"..จึงต้องมีการคำนึงถึงวัฒนธรรมและค่านิยมหรือความเชื่อของพนักงานที่มีความหลากหลาย แล้วสร้างวัฒนธรรมให้คนในองค์การเกิดการยอมรับในความแตกต่างของกันและกัน ทำให้สามารถทำงานร่วมกันประสานกันได้เป็นอย่างดี"

พฤติกรรมปัจเจกบุคคลมีรากฐานมาจาก ๕ ส่วน ได้แก่

๑.       คุณสมบัติทางชีวภาพ เช่น อายุ เพศ เชื้อชาติ ศาสนา เป็นต้น ซึ่งทำให้เกิดความแตกต่างทางความคิด ความรู้สึก ค่านิยม วัฒนธรรม เช่น การทักทาย คนไทยใช้การไหว้ คนตะวันออกกลางใช้การจุมพิตที่แก้ม ตอนเป็นเด็กจะคึกคะนอง กระตือรือล้น พออายุมากขึ้นจะสุขุมรอบคอบมีเหตุผลมากขึ้น เป็นต้น

๒.      ความสามารถ ซึ่งแบ่งได้เป็นความสามารถทางปัญญา เช่น ความจำ การเรียนรู้เร็ว การคำนวณ เป็นต้น ความสามารถทางร่างกาย เช่น ความแข็งแกร่ง ความยืดหยุ่น เป็นต้น และความสามารถที่เหมาะสมกับงาน ซึ่งในองค์การเราควรให้ความสำคัญกับความสามารถที่เหมาะกับงานมากที่สุด

๓.      บุคลิกภาพ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจาก กรรมพันธุ์  การเลี้ยงดู และสถานการณ์ บุคลิกภาพเองก็มีผลกับการทำงาน เนื่องจากงานแต่ละประเภทต้องการคนที่มีบุคลิกภาพที่แตกต่างกัน เช่น งานขาย ต้องการคนที่ extrovert มากกว่า introvert เนื่องจากต้องติดต่อประสานงานกับคนภายนอกจำนวนมาก เป็นต้น

๔.      อารมณ์ มีทฤษฎีเหตุการณ์ทางอารมณ์ที่ทำให้เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในองค์การให้พนักงานทำงานได้อย่างมีความสุขและมีประสิทธิภาพสูงสุดได้

๕.      การเรียนรู้ แบ่งได้เป็น ๓ ทฤษฎี ได้แก่ ทฤษฎีการกำหนดเงื่อนไขแบบดั้งเดิม ทฤษฎีการกำหนดเงื่อนไขในการทำงาน และทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม ทฤษฎีการเรียนรู้จะเป็นประโยชน์ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของปัจเจกบุคคลให้สอดคล้องกับพฤติกรรมที่องค์การปรารถนา

การเรียนรู้เรื่องพฤติกรรมปัจเจกบุคคล มีความมุ่งหวังเพื่อทำงานให้สำเร็จ โดยทุกฝ่ายสบายใจมีความสุข ดังนั้นเมื่อเรารู้แล้วว่า แต่ละคนมีรากฐานมาอย่างไร เมื่อเรามีงานตำแหน่งหนึ่ง เราจะต้องตอบให้ได้ก่อนว่า งานนั้นจำเป็นต้องใช้ความสามารถด้านไหน ต้องใช้คนที่มีบุคลิกภาพแบบใด แล้วจึงเลือกคนที่เหมาะสมมาทำงานในตำแหน่งนั้นๆ แต่หากเป็นตำแหน่งเดิมที่มีคนทำงานอยู่แล้ว แต่คนนั้นยังไม่เหมาะสมกับงาน เราอาจต้องเลือกแนวทางการพัฒนาคนนั้นให้มีความสามารถและบุคลิกภาพที่เหมาะสมกับงาน โดยการพูดคุยชี้แจงให้เค้ารับทราบว่า อะไรคือความสามารถและบุคลิกภาพที่องค์การคาดหวังจากตัวเค้า แล้วจึงช่วยเค้าหาแนวทางในการพัฒนาศักยภาพต่างๆ โดยนำเอาทฤษฎีการเรียนรู้และการเสริมแรงเข้ามาช่วย และเพื่อให้คนทำงานเองก็มีความสุขในการทำงาน ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้คนนั้นทุ่มเทกับการทำงานได้อย่างเต็มที่ จึงต้องมีการคำนึงถึงวัฒนธรรมและค่านิยมหรือความเชื่อของพนักงานที่มีความหลากหลาย แล้วสร้างวัฒนธรรมให้คนในองค์การเกิดการยอมรับในความแตกต่างของกันและกัน ทำให้สามารถทำงานร่วมกันประสานกันได้เป็นอย่างดี ผสมผสานกับการสร้างบรรยากาศฝ่ายกายภาพให้ดี เพื่อช่วยกระตุ้นส่งเสริมให้คนที่ทำงานมีความสุข เมื่อคนมีความสามารถสอดรับการงานและมีความสุขในการทำงาน ก็เชื่อว่าจะทำให้ผลงานที่ออกมามีประสิทธิภาพสูงสุด และจะส่งผลให้องค์การประสบความสำเร็จตามเป้าหมายได้ในที่สุด


อขอบคุณ ศ.ดร.อุดม ทุมโฆษิต ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้เรื่องพฤติกรรมองค์การให้กับผมครับ
หมายเลขบันทึก: 333861เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2010 16:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ค้นพบนักวิชาการหนุ่มน้อยไฟแรงซะแล้ว
  • แวะมาแตะมือกันไว้ก่อนนะคะ พี่ตั้งท่าจะพักผ่อน ยังไม่ได้ฤกษ์เสียที แล้วจะแวะมาใหม่ค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท