การแพทย์กับโจทย์วิจัยด้านสังคม


          ผมได้รับบทความเรื่อง Money and the Changing Culture of Medicine ซึ่งตีพิมพ์ใน New England Journal of Medicine อันทรงเกียรติ   จาก ศ. นพ. ธาดา ยิบอินซอย   ทำให้คิดได้ว่า วิธีหนึ่งที่จะช่วยให้สังคมแพทย์ไม่ตกเป็นทาสเงิน หรือเครื่องมือของเงินมากเกินไป วิธีหนึ่งคือใช้การวิจัยมาช่วยให้สติแก่วงการแพทย์   โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แก่แพทยสภา

          ในทำนองเดียวกันกับที่ผมคิดว่าการวิจัยระบบอุดมศึกษา จะช่วยให้สติแก่สังคมในเรื่องอุดมศึกษา 

          เพราะเราจำเป็นต้องเอาวิธีการทางธุรกิจมาใช้ในการจัดการบริการทางการแพทย์    วัฒนธรรมธุรกิจจึงติดมา   มาเปลี่ยนวัฒนธรรมของวงการแพทย์   แพทย์และผู้ให้บริการต้องเปลี่ยนวิธีคิดมาติดราคา (price tag) ต่อกิจกรรมทุกอย่าง   ความสัมพันธ์ระหว่างคนไข้กับแพทย์และทีมผู้ให้บริการจึงเปลี่ยนจากสัมพันธ์ผ่านความนับถือไว้วางใจ มาเป็นผ่านเงิน

         ผลประกอบการของสถานบริการสุขภาพ ไม่ได้มองที่การลดความเจ็บป่วย  บำบัดโรคให้หายขาด  ป้องกันโรค และส่งเสริมสุขภาพ เป็นหลัก อีกต่อไป   กลายเป็นมองที่กำไร-ขาดทุน เป็นหลัก

          บทความนี้ระบุว่า “Results from studies in behavioral economics and psychology suggest that there may be. Assigning a monetary value to every aspect of a physician’s time and effort may actually reduce productivity,
impair the quality of performance, and thereby even increase costs.”  
ทำให้ผมคิดโจทย์วิจัยได้มากมายในด้านสังคมศาสตร์ด้านบริการสุขภาพ    สำหรับเอามาตรวจสอบว่าพฤติกรรมการให้บริการหลายๆ อย่างที่เราถือปฏิบัติอยู่นั้น   มันส่งเสริม productivity หรือมัน counter productive กันแน่ หากคิดลึกๆ ในเรื่อง productivity ด้านบริการสุขภาพ

          โจทย์วิจัยแบบนี้ สปสช. และกองทุนสุขภาพอื่นๆ น่าจะให้ทุนสนับสนุน   เพราะผลการวิจัยจะช่วยเพิ่ม productivity ของระบบบริการ    หรือช่วยลดค่าใช้จ่ายนั่นเอง

          ที่จริงในยุคที่สังคมมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วและรุนแรงเช่นปัจจุบัน   การวิจัยเพื่อทำความเข้าใจผลกระทบของระบบต่อตัวคน เป็นโจทย์วิจัยที่สำคัญยิ่ง   และสามารถตั้งโจทย์วิจัยกลับไปว่า เมื่อคนถูกเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมไปเช่นนั้นแล้ว สังคมได้อะไร สูญเสียอะไร

 

 

 

วิจารณ์ พานิช
๑๐ ม.ค. ๕๓

                           
        

หมายเลขบันทึก: 333243เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2010 11:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 21:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ อาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท