ภัทรานิษฐ์
นางสาว ภัทรานิษฐ์ เจริญธรรม ภัทร(จิ๋ว) เจริญธรรม

คำว่า"การเมืองในองค์การ"(ต่อ)


กล่าวโดยสรุป การมีพฤติกรรมเชิงการเมืองในองค์การ โดยเฉพาะเป็นการเมืองที่ไร้จริยธรรมที่มากเกินไปแล้ว นับว่าเป็นเรื่องที่สร้างความเสียหายให้แก่องค์การอย่างยิ่ง

ต่อจากเมื่อวาน อ่านแล้วจะเข้าใจมากขึ้น เชิญชมได้ค่ะ

กลยุทธ์ทางการเมืองแบบไร้จริยธรรม (Unethical political tactics)

      เป็นการกระทำหรือพฤติกรรมให้ได้มาซึ่งอำนาจหรือใช้อำนาจไปในทางที่ไม่สุจริตเพื่อให้ได้ประโยชน์ส่วนตน จึงเป็นกลยุทธ์เชิงการเมืองที่เป็นแง่ลบ ได้แก่ตัวอย่างต่อไปนี้

      1. ใช้วิธีการแอบแทงข้างหลัง (Back stabbing)

            โดยแสดงออกนอกหน้าในสาธารณชน ให้เห็นว่า ตนมีความปรารถนาดี มีความซื่อสัตย์และอยู่ในฐานะหัวอกเดียวกันกับหัวหน้า จนเกิดตายใจและเชื่อใจสนิท มอบความไว้วางใจด้านต่าง ๆ ให้ทำพร้อมกับมอบหมายอำนาจให้ จากนั้นก็แอบใช้การบ่อนทำลายอยู่เบื้องหลังโดยหัวหน้าไม่ทันระวัง เช่น แอบปล่อยข่าวลือ ใช้ใบปลิว บัตรสนเท่ห์ ใช้มือที่สาม ยุแหย่ เป็นต้น เพื่อทำลายความน่าเชื่อถือและการยอมรับต่ออำนาจของนายให้เสื่อมถอยลง จนต้องหลุดจากตำแหน่งแล้วตนมีโอกาสเข้ามาแทนภายหลัง  

      2. ใช้วิธีกดดันข่มขู่ให้อยู่ในภาวะจำยอม (Undue pressure)

            เช่น ถ้าคุณยอมอยู่ในโอวาท เป็นพวกฉัน คุณก็จะได้รับผลตอบแทนและการยอมรับแบบคนวงในที่มีอภิสิทธิ์เหนือคนอื่น แต่ถ้าปฏิเสธนอกจากไม่ได้อะไรแล้ว ยังอาจถูกกลั่นแกล้งด้วยวิธี ต่าง ๆ เสมือนเป็นปฏิปักษ์หรือเป็นคนวงนอก  

      3. ใช้วิธียกขึ้นให้สูงก่อนปล่อยให้ตกลงมา (Setting a person up for failure)

            เป็นเกมส์ การเมืองที่ใช้ทำลายคู่แข่งด้วยการสนับสนุนให้ต้องรับงานหรือหน้าที่ตำแหน่งที่ยากต่อการสำเร็จ หรือที่ผู้นั้นไม่ถนัดไม่มีความสามารถ เพื่อให้พบกับความล้มเหลวเสมือนการตกลงมาจากที่สูงจนสุดท้ายคู่แข่งต้องหลุดจากตำแหน่งและวงจรอำนาจ  

      4. กลยุทธ์แบ่งแยกแล้วปกครอง (Devided and ruled)

            เป็นวิธียุให้คนแตกแยกออกเป็นกลุ่มที่ไม่ไว้วางใจและระแวงต่อกัน คอยจ้องทะเลาะทำลายกันเอง จนไม่มีเวลามาสนใจต่อความบกพร่องของหัวหน้า ทำให้หัวหน้าสามารถอยู่ในตำแหน่งได้อย่างมั่นคง เป็นกลยุทธ์ที่ไร้คุณธรรมซึ่งทำลายองค์การเพื่อการอยู่รอดของตน

            กล่าวโดยสรุป การมีพฤติกรรมเชิงการเมืองในองค์การ โดยเฉพาะเป็นการเมืองที่ไร้จริยธรรมที่มากเกินไปแล้ว นับว่าเป็นเรื่องที่สร้างความเสียหายให้แก่องค์การอย่างยิ่งเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาแต่ไม่สามารถขจัดให้หมดไปจากองค์การได้ จึงเป็นหน้าที่ของผู้บริหารที่จะต้องมี   ยุทธศาสตร์ในการควบคุมการเมืองในองค์การ จะต้องตระหนักถึงสาเหตุและต้องเข้าใจเทคนิควิธีการแก้ไขเมื่อเกิดขึ้นและที่สำคัญกว่าก็คือ การป้องกันมิให้พฤติกรรมเหล่านั้นเกิดขึ้นในองค์การ  ผู้นำจะต้องบริหารงานด้วยระบบคุณธรรม ใช้หลักความเป็นธรรมที่เสมอภาคกับทุกคน ยึดหลักของความโปร่งใส่ในการทำงาน สร้างระบบการสื่อสารแบบเปิดเผย หลีกเลี่ยงการสร้างระบบคนวงในคนวงนอกในองค์การ ผู้นำต้องแสดงให้ชัดเจนเป็นนโยบายที่จะไม่ยอมรับการใช้พฤติกรรม การเมืองต่อกัน และสำคัญเหนืออื่นใดก็คือ ผู้นำต้องแสดงพฤติกรรมที่ดีให้เป็นแบบอย่างแก่คนอื่นในองค์การ  

ที่มา

สุเทพ   พงศ์ศรีวัฒน์ (2545) ภาวะผู้นำ : ทฤษฎีและปฏิบัติ.

กรุงเทพฯ : บุคส์ลิงค์.


หมายเลขบันทึก: 332866เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2010 19:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เจริญพร โยม ครูจิ๋ว

บันทึกของโยมครูเข้าพวกกับเหตุการณ์การเมืองไทยมากเลย

เจริญพร

กราบนมัสการ พระอาจารย์พระปลัด

อ๋อ...บันทึกที่นำมา...ไม่มีเจตนาจะเกี่ยวข้องกับการบ้าน การเมืองแต่อย่างใดค่ะ

แต่จะเกี่ยวข้องกับคนทำงานในองค์กรต่างๆมากกว่าค่ะ

คือ อ่านแล้วโดนใจนะค่ะ อ่านแล้วเห็นสัจธรรมความจริงค่ะ

สาธุพระอาจารย์ที่เข้ามาเยี่ยมชมค่ะ

ผมเคยได้ยินผู้บริหารบางท่านบอกว่า อย่าให้ลูกน้องจับกลุ่มกันได้  คงจะทำนองแบ่งแยกแล้วปกครองนะครับ

สวัสดีค่ะ อ.small man

ดีค่ะ สามัคคีกันไว้ เป็นพลังที่เข้มแข็ง

ไม่อยากได้ยินคำว่าแบ่งแยกค่ะ

ขอบคุณอาจารย์ที่เข้ามาเยี่ยม

สวัสดีค่ะ  อินเทรน ดีจังค่ะ..สบายดีน่ะค่ะ..ไม่ได้คุยกันหลายวัน..

สวัสดีค่ะ ครูบันเทิง

เดี๋ยวไปเยี่ยม

สบายดีค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท