ธรรมหรรษา
รศ.ดร. พระมหา หรรษา นิธิบุณยากร

(๒) สรุปบทเรียนจากการเขียนบทความทางวิชาการและการสัมมนาการจัดการความขัดแย้งด้วยภูมิปัญญาไทย ณ เชียงใหม่


การลดความเห็นแก่ตัว เป็นการสะท้อนแง่มุมในสองประเด็นหลักคือ "ในแ่ง่โลกิยะ" และ "ในแ่ง่ของโลกุตระ" ในแง่ของโลกิยะเน้นการเห็นแก่คนอื่น หรือเห็นแก่ส้ังคมมากยิ่งขึ้น แต่ให้เห็นแก่ตัวน้อยลง เพื่อให้มนุษย์ได้มีโอกาสใช้ทรัพยากรร่วมกัน แบ่งปันกัน ช่วยเหลือกัน ส่วนในแง่ของโลกุตระ เน้นลดการยึดมั่นถือมั่น หรือลดตัวกูของกู อันจะนำไปสู่การเปิดพื้นที่ หรือขยาย "นิพพานให้เิ่พิ่มมากยิ่งขึ้น"

วันนี้ (๓๐ มกราคม ๒๕๕๓) เป็นวันที่ ๒ ของการเดินทางมาเชียงใหม่ เพื่อปฏิบัติศาสนกิจที่สำคัญ ๒ เรื่อง คือ

๑. การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ "การเขียนบทความทางวิชาการ" เพื่อเปิดโอกาสให้คณาจารย์ของมหาจุฬาฯ ได้นำเสนอในวัน "มหาจุฬาวิชาการ" ในระหว่างวันที่ ๒๖-๒๘ มีนาคม ๒๕๕๓  และลงตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติเนื่องในเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาโลกครั้งที่ ๗ ในวันที่ ๒๓-๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๓

๒. นำนิสิตปริญญาเอก สาขาพระพุทธศาสนา จำนวน ๒๑ รูป/คน มหาวิทยาลัยมหาจุฬา่ลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งเรียนในรายวิชา "สัมมนาพระพุทธศาสนากับสันติวิธี" มาสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง "ภูมิปัญญาไทยกับการจัดการความขัดแย้งในสถานการณ์ปัจจุบัน"

ผลที่ได้ในวันนี้

๑. มหาจุฬาฯ กับการเป็นศูนย์กลางวิชาการทางพระพุทธศาสนานานาชาติ  พระศรีคัมภีรญาณ,รศ.ดร. รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ได้ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "มหาจุฬาฯ กับการเป็นศูนย์กลางวิชาการทางพระพุทธศาสนานานาชาติ" โดยท่านได้ย้ำว่า มหาจุฬาในปัจจุบันนี้ ได้ก้าวไปสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติแล้ว เพราะมีนิสิตต่างประเทศจำนวนมากเข้ามาศึกษาในมหาวิทยาลัย ร่วมไปถึงการที่มหาวิทยาลัยได้มีบทบาทความในการเป็นศูนย์กลางการจัดงานสัมมนาระดับโลกในหลายปีที่ผ่านมา

      โดยเฉพาะยิ่ง การจัดประชุมมหาิวิทยาลัยพระพุทธศาสนานาชาติ และวิสาขบูชาโลก โดยมีอธิการบดีมหาจุฬาฯ พระธรรมโกศาจารย์,ศ.ดร. เป็นประธานกรรมการบริหารสมาคมระดับโลกทั้งสองแห่ง แต่การที่มหาวิทยาลัยจะเข้าสู่การจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยของโลกในระดับ ๕๐๐ นั้น จำเป็นจะต้องพัฒนาตนเองในอีกหลายๆ มิติ ถึงกระนั้น หากเกณฑ์การจัดอันดับยังปรากฎในลักษณะที่เน้นด้านวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเช่นนี้  นับเป็นเรื่องยากที่มหาจุฬา ที่เน้นด้านการบริการทางวิชาการจะสามารถประสบความสำเร็จดังกล่าว

๒. ภูมิปัญญาไทยกับการจัดการความขัดแย้งในสถานการณ์ปัจจุบัน ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงค์ ได้ปาฐกถา เรื่อง "ภูมิปัญญาไทยกับการจัดการความขัดแย้งในสถานการณ์ปัจจุบัน"  สิ่งที่น่าสนใจ คือ ท่านได้เน้นว่า ความขัดแย้งในปัจจุบันจะมีอยู่ ๒ ประการใหญ่ๆ คือ ความขัดแย้งด้านบุคคล และความขัดแย้งเชิงโครงสร้าง

     อย่างไรก็ดี ในอดีตที่ผ่านมา สังคมไทยมีภูมิปัญญาดีที่สามารถจัดการความขัดแย้งของคนในชุมได้ดี เช่น ประเพณีบายสีสู่ขวัญ ที่ญาติพี่้น้องหรือคนในหมู่บ้านทะเลาะกัน ประเพณีแห่นางแมว ที่คนในสังคมประสบปัญหาวิกฤติน้ำ จึงต้องให้คนในสังคมได้ร่วมมือกันมองเห็นปัญหาแล้วช่วยกันทำในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับธรรมชาติ เพราะแมวกลัวน้ำ การสาดน้ำใส่แมวก็เพื่อประชดธรรมชาติ โดยให้คนในสัังคมได้มองเห็นความยากลำบากร่วมกัน แทนที่จะโทษกันและกัน

     ถึงกระันั้น ทางออกในการแก้ปัญหาดังกล่าว ท่านได้เสนอว่า การเปิดพื้นที่สาธารณะ เพื่อให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการนำเสนอปัญหาและทางออกจะเป็นเรื่องที่ดี อย่างไรก็ดี การที่จะนำภูมิปัญญาดั้งเดิมของท่านมาจัดการความขัดแย้งนับเ็ป็นเรื่องยาก เพราะบริบททางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมต่างกันมาก ฉะนั้น ทางออกคือ "การนำจิตวิญญาณ" ของภูมิปัญญาไทยมาปรับใช้เพื่อให้สอดรับกัับสถานการณ์ปัจจุบัน

๓. ในช่วงบ่ายเป็นการอภิปรายร่วม "ภูมิปัญญาไทยกับการจัดการความขัดแย้งในสถานการณ์ปัจจุบัน" โดย พระครูพิพิธสุตาทร, ดร. รองอธิการบดีวิทยาเขตเชียงใหม่ กำนันอินทร พ่อหลวงไตรภพ และศ.ดร. เฉลิม และพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส,ผศ.ดร. ได้ร่วมกันนำเสนอแนวทางที่สำคัญเพื่อชี้ให้เห็นภูมิปัญญาดั้งเดิมของไทย

    สาระสำคัญคือ การล่มสลายของระบบศีลธรรมในสังคม ได้ก่อให้เกิดความล่มสลายของระบบแก่เหมืองแก่ฝายในภาคเหนือ และในระบบอื่นๆ ตามมา  โดยเฉพาะประเด็นสำคัญที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งคือ "ความโลภ"  ที่ำำทำให้มนุษย์ต่างฉกชิงผลประโยชน์จากเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน  ซึ่งเป็นการแสดงออกที่เห็นแก่ตัวมากจนเกินไป  ดังที่มหาตมะ คานธีกล่าวว่า "ทรัพยากรเพียงพอสำหรับคนทั้งโลก แต่ไม่เพียงพอสำหรับคนโลภเพียงคนเดียว" ซึ่งสอดรับกับพระพุทธเจ้าที่ตรัสว่า "โลกเกินก็ลามก"

   ฉะนั้น  ส่วนใหญ่จึงเห็นสอดรับกันว่า ควรลดความเห็นแก่ตัว  ซึ่งประเด็นนี้สะท้อนแง่มุมในสองประเด็นหลักคือ "ในแ่ง่โลกิยะ" และ "ในแ่ง่ของโลกุตระ"  ในแง่ของโลกิยะเน้นการเห็นแก่คนอื่น หรือเห็นแก่ส้ังคมมากยิ่งขึ้น แต่ให้เห็นแก่ตัวน้อยลง เพื่อให้มนุษย์ได้มีโอกาสใช้ทรัพยากรร่วมกัน แบ่งปันกัน ช่วยเหลือกัน  ส่วนในแง่ของโลกุตระ เน้นลดการยึดมั่นถือมั่น หรือลดตัวกูของกู อันจะนำไปสู่การเปิดพื้นที่ หรือขยาย "นิพพานให้เิ่พิ่มมากยิ่งขึ้น"

๔. ในช่วงบ่าย ๓ โมง ผู้เขียน และพ่อหลวงไตรภพ แซ่ย่าง อดีตผู้ใหญ่บ้านม้งดอยปุยได้นำนิสิตปริญญาเอก มหาจุฬาฯ ไปดูสถานที่จริงซึ่งเป็นต้นน้ำของลุ่มน้ำแม่ตาช้าง ซึ่งเคยเป็นพื้นของการแย่งชิงทรัพยากรน้ำ และบัดนี้ ผลจากการพูดคุยกัน ทำให้ปัญหาต่างๆ ทะเลาเบาบางลง

พรุ่งนี้ จะเป็นพิธีเปิด และมอบวุฒิบัตรในยามเช้า หลังจากนั้น คณะต่างๆ จะได้แยกย้ายกันกลับวิทยาเขตของตนเอง และคณะของผู้เีขียนพร้อมนิสิตปริญญาเอกก็จะได้เดินทางกลับกรุงเทพมหานคร

หมายเลขบันทึก: 332614เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2010 00:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 09:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

นมัสการพระคุณเจ้า

  • คุณหนานเกียรติต้องการหมายเลขโทรศัพท์ของท่านเจ้าค่ะ
  • พี่ครูคิมก็มี  แต่เลขไม่ครบค่ะ ได้มาเพียง รหัส ๓ ตัวหน้าและเลขอีก ๖ ตัวหลัง
  • หายไป ๑ ตัวเลขเจ้าค่ะ

ครูคิม

อาตมาส่งเบอร์โทรให้แล้วน่ะ

เจริญพร

กราบนมัสการพระคุณเจ้าที่เคารพอย่างสูงยิ่ง

เหล่าข้าพเจ้า เป็นศิษย์มหามกุฏราชวิทยาลัย ทางด้านรัฐศาสตร์การปกครอง มีความรู้สึกว่า "ธรรมะ" ช่างชุ่มเย็น และดับพิษไฟ ในใจได้เป็นอย่างดี บ้านเมืองตอนนี้ช่างวุ่นวาย ข้าพเจ้าก็หลงวุ่นไปกับมันพักใหญ่ แต่ตอนนี้จะหยุดวุ่น หันมาสงบ(ในจิต) กราบนมัสการ และขออนุโมทนาในบุญกุศลทั้งมวลของพระอาจารย์เจ้าค่ะ

กราบนมัสการมาด้วยความเคารพอย่างสูงยิ่ง

ฟ้ารุ่ง รวี

หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ บัณฑิตศึกษารุ่น ๒ รัฐศาสตร์การปกครอง

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ศูนย์การศึกษากำแพงเพชร

นมัสการครับ

ผมนั่งอยู่แถวหลังของที่ประชุมที่ห้องภูเก็ตครับ

ว่าจะไปทักพระอาจารย์ ออกมาแล้วรับประทานกลางมาเก็บของ พระอาจารย์กลับไปแล้วน่ะครับ

ไว้คราวหน้าเจอกันใหม่น่ะครับ

บรรยากาศการประชุมดีมากเลยครับ

ท่านดร. เป็นที่น่าเสียดายเหลือเกินที่ไม่ได้มีโอกาสคุยกัน เอาเป็นว่า งานมหาจุฬาวิชาการคงได้มีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนกับอาจารย์อีกครั้งน่ะ เจริญพร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท