ธรรมหรรษา
รศ.ดร. พระมหา หรรษา นิธิบุณยากร

(๑) ศาสนกิจเพื่อพิชิตบทความ ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


ครั้งนี้ เป็นการเดินทางมาเชียงใหม่ครั้งที่ ๒ ในรอบสามเดือน เื่พื่อติดตาม "การเขียนบทความทางวิชาการ" ของคณาจารย์ในวิทยาเขตของมหาจุฬาฯ ในโซนภาคเหนือทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเชียงใหม่ ลำปาง แพร่ เชียงราย ฯลฯ ด้วยหวังว่า จะได้บทความที่มีมาตรฐานเพียงพอเพื่อนำเสนอในงานมหาจุฬาิวิชการ และตีพิมพ์ในวันวิสาขบูชาโลกปีนี้

     ผู้เขียนเพิ่งเดินทางมาถึงจังหวัดเชียงใหม่ โดยสายการบินไทยจากสุวรรณภูมิถึงสนามบินเชียงใหม่เวลาประมาณ ๒๓.๑๕ น.  และเดินทางเข้าพัก ณ สำันักวิชาการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่   พร้อมกับท่าน ดร. พระมหาสมบูรณ์ รองคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ท่านพระมหาสุทัศน์ ผอ.กองวิชาการ และคณาจารย์จากบัณฑิตวิทยาลัย

    ผู้เข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการจากทั้งภาคเหนือและกรุงเทพฯ ประมาณ ๑๑๐ รูป/คน ได้พักอยู่ที่นี่ทั้งหมด เพราะที่นี่มีพร้อมสรรพทั้งอาหาร ที่สัมมนา ห้องประชุมย่อย อินเตอร์เน็ต (ต้องซื้อ ชม.) ห้องพักไม่แพงมากนัก คืนละประมาณ ๖๐๐ บาทต่อห้อง บรรยากาศภายในห้องก็เหมาะกับอัตภาพและความจำเป็น

    พรุ่งนี้เช้าท่านรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ พระศรีคัมภีรญาณ, รศ.ดร. จะเดินทางมาถึงสนามบินเชียงใหม่ประมาณ ๗ โมงเช้า ซึ่งท่านรองอธิการบดีวิทยาเขตเชียงใหม่ พระครูพิพิธสุตาทร,ดร. จะเดินทางไปรับท่าน และนิมนต์มาฉันที่สำนักงานวิชาการ และร่วมพิธีเปิดในเวลา ๙.๐๐ น.

    ตารางในช่วงเช้าเป็นที่น่าสนใจต่อผู้เช้าร่วมสัมมนาเป็นอย่างยิ่ง เพราะวิทยากรที่จะมาปาฐกถาพิเศษคือ "ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์" ซึ่งจะนำเสนอประเด็นเรื่อง "ภูมิปัญญาไทยกับการจัดการจัดการความขัดแย้งในสังคมไทยปัจจุบัน" นับว่าเหมาะสมต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในเชียงใหม่และสังคมไทยอย่างยิ่ง  ผู้เขียนเองไม่ได้พบอาจารย์นิธิมานานแล้ว ล่าสุดคือเมื่อ ๗ ปีที่แล้ว เมื่อครั้งที่ผู้เีขียนได้ลงพื้นที่จริงในการศึกษางานปริญญาเอกในลุ่มน้ำแม่ตาช้าง และอาจารย์นิธิได้ชี้ขุมทรัพย์เอาไว้อย่างน่าสนใจ

   ส่วนตอนบ่ายนั้น จะเป็นการสัมมนาร่วมเรื่องเดียวกัน แต่จะยกกรณีศึกษาในลุ่มน้ำแม่ตาช้างมาพูดคุยแลกเปลี่ยนและแ่บ่งปันประสบการณ์ของผู้นำทางภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น ผู้ใหญ่ไตรภพ แซ่ย่าง ณ หมู่บ้านดอยปุย ผู้ใหญ่และกำนันใน อ.หางดงอีกหลายท่าน  ท่านเหล่านี้จะมาร่วมเสนอประเด็นว่า "แก่เหมืองแก่ฝาย" มีคุณูปการต่อการจัดการความขัดแย้งในท้องถิ่นอย่างไร และเราจะนำภูมิปัญญาเหล่านี้ มาช่วยแก้ปัญหาต่างในสังคมไทยได้อย่างไร ซึ่งผู้เขียนจะเป็นผู้ดำเนิินรายการในวันพรุ่งนี้

   หลังจากนั้น หากมีเวลา ผู้เขียนจะให้คณะวิทยากรพานิสิตปริญญาเอกซึ่งเดินทางมาจากกรุงเทพฯ และเรียนในรายวิชา "สัมมนาพระพุทธศาสนากับสันติวิธี" พร้อมทั้งคณาจารย์บางส่วนไปดูงานในสถานที่จริงคือ "ลุ่มน้ำแม่ตาช้าง"

   หวังว่า เมื่อถึงพรุ่งนี้เย็นๆ ผู้เขียนคงจะมีโอกาสได้นำภาพและบรรยากาศของการสัมมนามานำเสนอต่อไป

 

ด้วยธรรมะ พร และเมตตา

พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส,ผศ.ดร.
ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ
มหาจุฬาฯ

หมายเลขบันทึก: 332140เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2010 00:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

มานมัสการพระคุณเจ้า ธรรมหรรษา

ชีวิตคือการเดินทางนะครับพระคุณเจ้า ได้ไปช่วยคุณครูบาอาจารย์ทางเหนือให้เข้าใจในการเขียนพุทธธรรมเป็นบทความที่ดีแท้ ๆ...

อย่างน่าชื่นชม...

อาจารย์ยูมิ

  • ขอบคุณที่แวะมาทักทาย
  • ตอนนี้บรรยากาศกำลังเข้มข้น
  • ได้บทความมาเยอะเลย
  • คิดว่าวิสาขะปีนี้่น่าจะได้บทความดีๆ มาตีพิมพ์เยอะเลย
  • เจริญพร

กราบนมัสการครับพระอาจารย์

วันเสาร์และอาทิตย์ที่ผ่านมาได้มีโอกาสติดตามไปที่เชียงใหม่ บรรยากาศงานสัมมนาราบรื่นดี วันอาทิตย์ที่หอประชุมมีการบรรยายของปราชญ์หลายท่าน เช่น ท่าน ว.วชิรเมธี เป็นต้น

กระผมเรียนป.เอกที่เชียงใหม่รุ่นที่ ๑ เห็นนิสิตป.เอก ของส่วนกลางไปศึกษาจากพื้นที่จริง แล้ว ก็รู้สึกเข้มข้น ในเนื้อหาและสัมผัสสภาพจริง

มีโอกาส จะได้สนทนากับพระอาจารย์อีกนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท