Open will : หมอ..ป้าเช็ง


เย็นวันนี้ มีถ่ายทอดพิธีมอบรางวัล มหิดล ได้มีถ้อยคำพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก ฯ อันน่าประทับใจ ที่ช่วยพยุงใจที่อ่อนล้า...

" True success exists not in learning but in its application for the benefit of mankind"

   กองรายงานเยี่ยมบ้าน ที่กองสูงเกือบ 1 ฟุต ที่เหล่านักศึกษาแพทย์อดตาหลับขับตานอนพิมพ์ ( และ copy-past ) บนโต๊ะอาจารย์..กับ 1 หน้ากระดาษ ขอบคุณจากใจผู้ป่วย..สิ่งไหนสำคัญกว่ากัน.. คำตอบคืออย่างแรก เพราะมันมีในใบประเมินคะแนน ขอให้มีข้อมูลครบ เขียนไม่ตกหล่น..
   ฉันอดถามตัวเองไม่ได้ ว่ากำลังทำอะไรอยู่..รีบๆ อ่าน..ให้คะแนน..แล้วก็เอาไปกองหลังห้อง (เพื่อเตรียมทิ้ง!)

   โยงมาที่เรื่องป้าเช็ง เจ้าแม่เคเบิลทีวี ที่กลายเป็นเจ้าตำรับมหาบำบัด..ในมุมที่ฉันมอง ป้าเช็ง เป็นคนเก่งและกล้า แม้ไม่ได้เรียนสูงและ ในวัยขนาดนี้สามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้อย่างคล่องแคล่ว ก็แสดงถึงความไม่ธรรมดาของแก แต่ปัญหาเกิดขึ้นเพราะแกไม่ได้ qualified เป็นผู้บำบัด และตำรับยาก็ไม่ได้ผ่าน process ที่ยอมรับในทางวิทยาศาสตร์.. แต่ก็น่าแปลก ยังไม่เห็นมีผู้ป่วยเจ้าทุกข์ออกมาร้องเรียน ผลข้างเคียงจากการใช้ยา ในขณะที่ ขนาดยาซึ่งผ่าน Trial ออกมา ยังมีการฟ้องร้องถึง Adverse efffect ให้เห็นบ่อยๆ.. สรรพคุณ..ไม่มีตัวยาที่มีประสิทธิภาพในการรักษา แต่คงต้องวงเล็บว่าในความรู้ปัจจุบัน แต่สิ่งหนึ่งที่คงมีด้วยแน่นอนคือ Placebo effect นี่แหละตัวยารักษาทุกโรคของจริง..แม้แต่การรักษาโดยแพทย์แผนปัจจุบันเอง ก็ยังมี Placebo effect ไม่ใช่เรื่องเลวร้าย..
   สิ่งที่ป้าเช็ง อาจจะพลาดคือการมั่นใจในตัวยามากเสียจนโฆษณาเป็นสินค้าราคาสูงลิ่ว รูปการณ์จะเปลี่ยนไปไหม ถ้าป้าเช็ง นำน้ำยามหาบำบัด แจกจ่ายฟรีแก่ผู้หมดหวัง และเป็นผู้นำไปมอบให้กับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ศึกษาเอง..ลองคิดดูเล่นๆ
 
   เชื่อว่าการพิสูจน์ตามกระบวนการวิทยาศาสตร์ เป็นกระบวนการพิสูจน์ ที่ช่วยให้ทำซ้ำได้ เพื่อให้เกิดการพัฒนาปรับปรุง แต่จุดเริ่มต้นของการสร้างสรรค์ก็อาจเกิดขึ้นได้จาก "วาบความคิด"..หากเราดับวาบความคิดนั้น ด้วยกระแสของ Pattern ที่มีอยู่ จะมีโอกาสที่วาบนั้นจะกลายเป็นแสงสว่างได้หรือไม่

 ในยุคที่การพิสูจน์ด้วยเทคโนโลยีกำลังกลายเป็น The must..
ผู้ป่วยรายหนึ่งอายุ 80 ปี มีประวัติสูบบุหรี่มา 40 ปี ท้องและขาบวมขึ้นมา..ฟังปอดมี wheezing ถ้าผู้ป่วยรายนี้ไม่ได้เจาะเลือด ไม่ได้ทำ CXR ไม่ได้ทำ Echocardiogram เพราะเธอยืนยันว่าเป็นตายยังไงก็ไม่ขอไปโรงพยาบาล แล้วหมอที่ไปเยี่ยมบ้านลงความเห็นเป็น "Cor pulmonale" แล้วให้การรักษาด้วย Diuretic...ในกรณีเข้าข่ายเป็น หมอ..ป้าเช็ง หรือไม่? น่าคิดคะ

หมายเลขบันทึก: 331575เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2010 20:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 09:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

เก่งครับป้าเช็ง... Placebo effect นี่เล่นได้เรื่อยๆ ไม่ใช่เฉพาะยาของป้าแกหรอก เยอะไปหมดฟังตามวิทยุชุมชนได้ ถึงจะไปพิสูจน์ทางการแพทย์แล้วเอาข้อมูลมายืนยัน นอนยันยังงัย คนที่เชื่อก็ยังเชื่ออยู่วันยังค่ำละครับ

ความคิดผมนะครับ ถ้าแพทย์แผนปัจจุบันจ่ายยาคนไข้ไป อย่าลืมให้คาถาท่องก่อนกินด้วยนะครับ ขลังอย่างนี้ หายชัวร์!!!

ถึงจะไปพิสูจน์ทางการแพทย์แล้วเอาข้อมูลมายืนยัน นอนยันยังงัย คนที่เชื่อก็ยังเชื่ออยู่วันยังค่ำละครับ

ชอบประโยคนี้คะ

มีทีมงานท่านพระไพศาล ท่านหนึ่งพูดไว้มาคิดว่า

การที่คนเรามีที่มาที่ไปต่างกันทำให้มองกันคนละภาพ คงต้องให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์จนกว่าจะเห็นภาพเดียวกัน

รากศัพท์ของ placebo คือ "I shall please"

ซึ่งถ้าจะว่าไปตามรากศัพท์ มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับความเชื่อของคนๆนึงโดยตรงเสียทีเดียว แต่มีมิติของ "ความสัมพันธ์ เกื้อกูล เมตตา" จากอีกบุคคลต่อบุคคล ที่เป็น "การเยียวยา"

"ความเชื่อ" เฉยๆ ก็ทำให้ please ได้ แต่เมื่อผนวกกับการกระทำของคนอื่น (ในที่นี้ อาทิ หมอ หรือ ป้าเซ็ง) ก็ยิ่งเสริมกันไป โดยส่วนตัวผมคิดว่าผลที่มาจากอันหลังนี้ มีความสำคัญมากกว่า หรือไม่น้อยไปกว่าความเชื่อของคนๆนั้นเอง เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ที่ขอพลังหล่อเลี้ยงมาจากคนรอบข้างอยู่ตลอดเวลา

ถ้าเป็นเช่นนี้ เราจะลองคิดต่อไปถึง ถ้างั้น "ความไม่เชื่อ" ล่ะ จะมีผลอย่างไรต่อการเยียวยาไหม?

หมอเราทำอะไรลงไปกับด้านความเชื่อ ความศรัทธาจากคนไข้ไปบ้าง (ทั้งโดยปราถนาดี....เราบอก หรือจะโดยเจตจำนงใดๆก็ตาม)

ไม่เคยรู้มาก่อนเลยคะ ว่ารากศัพท์จริงๆ ของ Placebo เป็นเช่นนี้ ยิ่งตามไปอ่านในบล็อกยิ่ง เปลี่ยนมุมมองต่อ placebo ไป

ถ้าไม่นับเรื่องธุรกิจ ผมชอบคนนิสัยแบบป้าเช็งคนนี้นะครับ น่าจะมีอีกหลายๆคน สะใจดี

ป้าแกเป็น กระจกส่อง พวกเรา..หมอ/คนในวงการสุขภาพ ได้เป็นอย่างดี

ผมแอบเปรียบเทียบ หมอที่ขายผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ป้าเช็ง บริษัทยาข้ามชาติ และ อย.บ้านเรา อยู่เงียบๆ 

๔​ สิ่งนี้ มีอะไรที่เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร

ในโลกที่มีแต่ขาว-ดำ ถูก-ผิด เป็นโลกที่ตีบตันไร้ทางออก

อย่ามัวไปเยินยอป้าเช็งอยู่เลย
แค่เห็นวิธีการรักษาด้วยน้ำขยะแล้ว รับไม่ได้
ผิดสุขลักษณะ เต็มไปด้วยเชื้อโรค

แม้ป้าเช็งบอกว่า หยุดขาย แต่จ่ายแจก ก็เล่นงานป้าเช็งได้
เพราะการจ่ายแจก ตาม พ.ร.บ. ยา 2510 ถือว่าเป็นการขาย
แต่ แพทย์หัวหน้า อย. ไม่รู้กฎหมาย สัมภาษณ์ ทีวี ขายหน้าจัง

 

มองแบบวิเคราะห์ มิใช่มองตามน้ำ

case นี้แยกได้ 2 กรณี

  1. เป็นเรื่องของความเชื่อในด้านสุขภาพ
  2. ความเชื่อนั้นถูกต้องหรือไม่ มีภาวะเสี่ยงต่อสุขภาพหรือไม่

 

  1.  ความเชื่อเป็นสิทธิเฉพาะตนเป็นเรื่องกำลังใจ จากส่วนลึก การรับรู้ความเชื่อ พบแล้วส่งเสริมหรือพบแล้วแนะนำกรอบความคิดเพื่อเปลี่ยนทัศนะคติ แต่บางคนพบแล้วเพิกเฉยหรือกลับยุยงส่งเสริม
  2. ความเชื่อนั้นถูกต้องหรือไม่ มองด้านสาธารณสุข เป็นความเชื่อที่มีความเสี่ยงหรือมีภาวะเสี่ยงต่อสุขภาพ เพราะวิธีการผลิตไม่มีมาตรฐาน สารที่ได้ไม่ใช่ตัวยา ไม่มีสารออกฤทธิ์ และที่สำคัญกลับเต็มไปด้วยเชื้อจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ ในฐานะผู้ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพเมื่อเห็นแล้วควรรังเกียจ ไม่ควรสนับสนุน

ที่ผ่านมาอาศัยพลังจิตของความเชื่อเท่านั้น โปรดักส์ที่ได้ขัดแย้งทางวิทยาศาสตร์การแพทย์อย่างรุนแรง

 

เริ่มสนุกครับ ขอต่อ

เป็นที่น่าสนใจที่ในระยะหลัง เริ่มมีคนนำข้อสังเกตที่เกี่ยวกับจิตใจ ความคิด อารมณ์ มาใช้ประกอบกับการเยียวยารักษามากขึ้น และเรื่องนี้ไม่ใช่พึ่งมีเดี๋ยวนี้ แต่มีมานาน ถ้าเราถามคนไข้ดีๆและสิ่งแวดล้อมปลอดภัย เราอาจจะทราบว่าก่อนคนไข้มา รพ. หาเราเนี่ย อาจจะมีพิธีกรรมมากมาย ก้าวเท้าซ้ายหรือเท้าขวาก่อนออกจากบ้าน บางคนมีการอุดจมูกทีละข้าง ดูว่าหายใจข้างไหนคล่องจะได้ก้าวเท้าข้างนั้นก่อนก็มี บนบานศาลกล่าวเป็นเรื่องธรรมดาเวลามีคนเจ็บไข้ได้ป่วย (อย่าว่าแต่เจ็บไข้ได้ป่วยเลย เรื่องอื่นๆในชีวิตก็เหมือนกัน ไม่งั้นศาลพระมหาพรหมคงจะไม่มีการรำถวายต่อเนื่องมาหลายสิบปีจนทุกวันนี้)

อาจจะเป็นการง่าย (และสะดวกใจ... กระมัง) ที่นักวิทยาศาสตร์จะมองๆเรื่องพวกนี้แบบขำๆ ปนสงสาร สมเพช ในความงมงาย ไร้การศึกษา ที่พวกนี้ไม่ได้เชื่อ ไม่ได้เรียนมาสูงๆทางศาสตร์ตะวันตก ก็ยังมีนักวิทยาศาสตร์บางคนที่จะ approach เรื่องที่ตนเองไม่ได้มีความรู้ ไม่ได้ศึกษามาอย่างละเอียดเพียงพอ เพียงแค่ไม่พูดอะไรมาก แต่สังเกต สังเกต และสังเกต ก็คงไม่ได้จำเป็นต้องเกิดอารมณ์อะไร

และที่แน่ๆก็คือ ไม่จำเป็นจะต้องด่วนตัดสินคุณค่าของคนใดคนหนึ่ง ทั้งๆที่มี inadequate, non-verified information เพราะ judgmental attitude นั้น ที่จริงเป็นอุปสรรคของการเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ดีโดยตรง

เพื่อนผมมีคนนึงเรียนเก่งมาก แต่เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างไม่ได้เป็นไปตาม logic ตามตรรกะไปหมด วันหนึ่งก็มีคนเจอแขวนคอตาย ญาติพี่น้องก็อาศัยพิธีกรรมทางศาสนา ทางความเชื่อ ทำบุญ อุทิศส่วนกุศล สิ่งเหล่านี้ก็เป็นกระบวนการเยียวยาเหมือนกัน (ถ้าเรามองให้ดี) ไม่ได้อาศัยแต่ diazepam 2 mg ก่อนนอนอย่างเดียว แต่อาศัยการพูดคุย ปลอบประโลม อาศัยแรงของสังคมมาประคับประคองคนที่อยู่ต่อไปให้ make sense กับชีวิตให้ได้

ที่น่าสนใจอีกอย่างก็คือ การแพทย์ธิเบต ไม่ได้แบ่งเป็น main stream (ที่ฝรั่ง ตะวันตกเรียกกันเอง) กับ alternative หรือทางเลือก (ที่ฝรั่งเหมือนกันเป็นคน label ว่าพวกนี้ไม่ใช่ main stream) มีแค่ "การแพทย์ธิเบต" เฉยๆอย่างเดียว

เรื่องของเรื่อง (กลับเข้าเรื่อง) ก็คือ การเยียวยาอย่างไร จึงจะเป็นการเชื่อมโยงทั้งความเชื่อ ความศรัทธา เข้ากับเภสัชวิทยาจากสมุนไพร (ยาต่างๆที่เราใช้กันในปัจจุบัน ครั้งหนึ่งก็อยู่ในรูปสมุนไพร จนกระทั่งเริ่มมีเครื่องมือเครื่องไม้มาสะกัด active ingredient และกระบวนการ purification และมีคนมือไว จดทะเบียน copyright) บางทีสิ่งที่คนสังเกต สังเกต สังเกต จดบันทึกเอาไว้ อาจจะเป็นจุดตั้งต้นการคิดค้น สร้างนวตกรรมทางการแพทย์ของไทยเราเอง ให้คนอื่นเขาฮือฮาบ้าง

ทั้งหมดนี้คงจะเริ่มยาก จากการแบ่งค่าย ตัดสินมนุษย์ และการตีตราอะไรต่างๆกัน

ถ้างั้นจะเริ่มอย่างไรดี?

หรือจะเริ่ม/ไม่เริ่มดี?

่ขอบคุณทุกความเห็นคะ ได้เปิดมุมมองที่หลากหลายยิ่งขึ้น

บทความนี้ ไม่ได้มีเจตนาเขียนเพื่อแสดงความสนับสนุนไม่สนับสนุน บุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่อย่างใด

คนๆ หนึ่ง ย่อมมีทั้งด้านสว่าง และด้านมืด เราจะเห็นด้านไหนก็ไม่ผิด เพราะมองจากคนละมุม

เพียงแต่จะยอมรับหรือไม่ ว่ายังมีอีกด้านหนึ่งอยู่..

ในการเป็นแพทย์แน่นอนว่า ย่อมต้องเรียนรู้ Main stream medicine เพื่อรักษามาตรฐานการดูแลผู้ป่วย

แต่ขณะเดียวกัน การ lebel สิ่งที่ยังไม่รู้ ว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดีไว้ก่อนนั้น จะเป็นการตัดโอกาสสร้างความรู้ใหม่ๆ หรือไม่

ก่อนที่จะมีการค้นพบ Pennicillin นั้น ใครจะคิดว่า เชื้อรา รักษาโรคได้..

แต่เพราะการเปิดใจของนักวิทยาศาสตร์ที่จะทดลองค้นหาความจริงต่อไป..เราจึงมียาปฎิชีวนะคุณภาพดีในวันนี้

หรือ การฝังเข็ม หากแพทย์แผนจีน ไม่เปิดใจ ให้แพทย์ตะวันตก เข้าไปทำการศึกษา

ก็ยากที่จะได้รับการเผยแพร่ และมี paper มากมายเช่นปัจจุบัน

ในกรณีป้าเช็ง ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายๆ รูปธรรมของการเยียวยาที่วิทยาศาสตร์ (ยัง) ไม่ยอมรับ

แม้จะยอมรับในความสามารถส่วนตัวของแก

แต่สิ่งที่ไม่เห็นด้วย คือการโฆษณาเพื่อการค้า และท่าทีแข็งกร้าวต่อผู้พยายามพิสูจน์จนเกินไป

เลยกลายเป็นศัตรูกันไป แทนที่จะเป็นมิตรเพื่อบำบัดประชาชน

รู้สึกได้ถึงเรื่องราวมากมายที่เราไม่รู้ หรือไม่อาจรู้ได้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท