การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์


อูบุนตูโอเพ่นซอร์ส

การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ กำลังถูกจับตามองจากผู้ผลิตซอฟต์แวร์ และหน่วยงานภาครัฐอย่างกรมทรัพย์สินทางปัญญา, สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ หน่วยงานเหล่านี้กำลังพยายามบอกกล่าวในสื่อต่างๆ เพื่อแจ้งให้ทุกคนทราบว่า จะเอาจริงเอาจังในเรื่องนี้ หลังจากมีตัวอย่างผู้ถูกจับและปรับไปแล้วหลายราย การตรวจจับในกรณีละเมิดลิขสิทธิ์นี้จะทำโดยเจ้าพนักงาน กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจเท่านั้น ไม่ใช่ตำรวจในท้องที่ หรือตำรวจหน่วยงานอื่น หน่วยงานที่รับผิดชอลก็คือกองบังคับการ ปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ขั้นตอนการตรวจจับการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์จะมีขั้นตอนคร่าวๆ ดังนี้

  1. ผู้เสียหาย (บริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์) หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ แจ้งความกับกองบังคับการปราบปรามการ
    กระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ

  2. เจ้าพนักงานจะตรวจสอบข้อมูลและร้องขอหมายศาล เพื่อขอตรวจค้น

  3. เจ้าพนักงานและผู้เสียหายหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ แสดงเอกสารดังนี้ เพื่อขอตรวจค้น

    1. แสดงหมายค้น

    2. แสดงบัตรประจำตัวเจ้าพนักงานและแสดงตังของผู้เสียหายว่ามีรายใดบ้าง เช่น Microsoft, Adobe, Thai Software Enterprise, Cyber Link ฯลฯ (ย้ำว่ามีอีกหลายราย)

  4. หน่วยงานหรือองค์กรที่ตกเป็นผู้ต้องหาจะต้องมีตัวแทน เพื่อนำทีมตรวจค้นในแต่ละจุด

  5. เจ้าพนักงานทำแผนที่ตั้งของเครื่องคอมพิวเตอร์และติดตั้งซอฟต์แวร์ Agent เพื่อตรวจสอบการติดตั้งซอฟต์แวร์ในทุกๆ เครื่อง และทำรายงานซอฟต์แวร์ที่มีการละเมิดที่มีข้อมูลอย่างน้อยดังนี้

    1. ชื่อซอฟต์แวร์

    2. รหัสสินค้า

    3. หมายเลขผลิตภัณฑ์

    4. วันที่ลงโปรแกรม

    5. ชื่อแฟ้มปลายทางที่พบ

    6. วันเวลาปัจจุบันของคอมพิวเตอร์ที่เข้าตรวจสอบ

    7. ผู้นำตรวจ, ผู้เสียหาย/ผู้รับมอบ, ช่างเทคนิค, ผู้ตรวจยึดจะต้องลงชื่อในรายงานการตรวจสอบทุกหน้า

  6. เจ้าพนักงานทำบันทึกการตรวจค้นพร้อมแนบเอกสารข้างต้น

  7. ฝ่ายกฏหมายของผู้เสียหาย/ผู้รับมอบ จะทำเอกสารการประเมินค่าเสียหายจากการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ซึ่งโดยทั่วไปจะมีข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับข้อกฏหมาย รายการค่าเสียหาย ค่าดำเนินการทางกฏหมาย ค่าการตรวจสอบ ค่าใช้จ่ายในการลงประกาศในหนังสือพิมพ์เพื่อเป็นการขอโทษในการใช้โปรแกรมที่ ละเมิดลิขสิทธิ์ซึ่งทางผู้เสียหายจะเป็นผู้เลือกชื่อของหนังสือพิมพ์เอง

หน่วยงานที่ละเมิดลิขสิทธิ์จะต้องจ่ายค่าค่าเสียหายจาก การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ เป็นหลักแสนหลักล้าน

เช่นละเมิดซอฟร์แวร์ของ2 ค่ายเป็น Adobe และ Microsoft ในเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวน 20 เครื่อง

การแก้ปัญหาเหล่านี้ หลายท่านบอกว่าให้ภาครัฐไปต่อรองบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ให้ลดราคาลงมา แต่บริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์คงไม่ลดให้

ใช้ซอฟต์แวร์ที่ถูกต้องไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ หรือการใช้โอเพนซอร์สซอฟต์แวร์ที่ไม่เสียค่าลิขสิทธิ์ (ค่าซอฟต์แวร์) เสียเพียงค่าบริการ (ในบางกรณี) และกำลังที่ต้องทุ่มเทศึกษาและเรียนรู้เท่านั้น องค์กรท่านจะเลือกอะไร ถูกกฎหมาย หรือว่าเลือกผิดกฎหมาย (ขอขอบคุณที่มาwww.thaiopensource.org)

หมายเลขบันทึก: 331115เขียนเมื่อ 26 มกราคม 2010 10:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 12:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท